กว่าจะได้ใช้
แม้บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จะมากด้วยนักเตะต่างชาติคุณภาพ แต่สิ่งที่ไม่เคยทิ้งและพัฒนามาตลอดคืออคาเดมี่ที่เป็นรากฐานฟุตบอล
อคาเดมี่ที่นี่คือความฝันของนักบอลเด็กหลายคนที่ผู้ปกครองพาไปคัด เริ่มตั้งแต่ 8-15 ปี
การลงทุนเงินในส่วนนี้จากคำบอกเล่าของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร ว่า
ใช้เงิน 350,000 บาท ต่อเด็ก 1 คน ต่อ 1 ปี รวมทั้งหมดปีละ 30-40 ล้านบาท
เท่ากับว่า บุรีรัมย์ มีนักเตะหัวกะทิอยู่ราว 100-120 คน ถ้าหารจำนวนหัวกับค่าใช้จ่ายต่อปี
นอกจากฝีเท้าที่ต้องดี ระเบียบวินัยของบุรีรัมย์สำคัญมาก
ที่เห็นจากคลิปก่อนๆของบุรีรัมย์คือ ทรงผม ที่ต้องตัดเกรียน โทรศัพท์ต้องเก็บก่อนนอน และ ต้องนอนเป็นเวลา
ที่สำคัญต้องเรียนหนังสือ
ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ถ้าระเบียบวินัยไม่ได้ บุรีรัมย์ ตัดออกทันที
มีสิ่งหนึ่งที่ปลูกฝังเด็กเหล่านี้คือต้องสมบูรณ์แบบในทุกเกมแม้จะชนะก็ตาม
เกมที่ ภัทรบพิตร ชนะ วิชูทิศ 4-2 ในรอบรอง
ลูกของนายเนวิน ชนน์ชนก ชิดชอบ ผอ.อคาเดมี่ บอกกับนักเตะประมาณว่า
เราชนะ แต่เราเล่นไม่ดีเลย เราต้องแก้ไขใหม่นะ
ซึ่งการไม่พอใจอะไรง่ายๆแบบนี้แหละคือ DNA ของสโมสรต้องดีที่สุด เก่งที่สุด
ขณะที่ผมเคยเห็นบางทีม ผลงานไม่ดี ในเกมที่แพ้เขาบอกว่ามันเป็นอุบัติเหตุฟุตบอล เรากลับมาได้แน่
นี่แหละคือความแตกต่างของคนที่อยากประสบความสำเร็จ กับ คนที่ไล่ตามความสำเร็จ
ช่วงแรกๆ นักเตะอคาเดมี่ของบุรีรัมย์ไม่ได้ขึ้นมาเป็นตัวหลักชุดใหญ่สักเท่าไหร่ เพราะตอนนั้นอาจอยู่ในช่วงเริ่มต้น
ชิติพัทธ์ แทนกลาง , เต้ย หมูบิน ยศพล เทียงดาห์ คือผลผลิตยุคแรกๆ ในช่วงที่อคาเดมี่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเท่าไหร่
ช่วงกลางก็ยังมีที่ใช้งานได้ไม่เต็มที่ อาทิ
2 พี่น้องลิ้มวัฒนะ สรรเสริญ กับ บารมี , สิทธิโชค กันหนู , ณัฐวุฒิ สมบัติโยธา
และก็มีคนที่ถูกซื้อไปบ้างอย่าง เชาว์วัฒน์ วีระชาติ และ อานนท์ อมรเลิศศักดิ์
แต่ช่วงหลัง ผลผลิตจากอคาเดมี่บุรีรัมย์ เริ่มได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากแล้ว
ทั้ง 2 พี่น้อง สุภโชค สารชาติ และ ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา
รุ่นล่าสุดที่กำลังจะขึ้นมาก็รุ่นของ ธนกฤต โชคเมืองปัก, จิระพงษ์ พึ่งวีระวงศ์ ที่โดดเด่นในบอล 7 สี กับ โรงเรียนภัทรบพิตร
จากนักเตะ 100-200 คน ขึ้นชุดใหญ่กับบุรีรัมย์แค่ 1-2 คนต่อปี ก็นับว่าสำเร็จมากแล้ว กับทีมชุดใหญ่ที่มีมาตรฐานสูง
จากภาพคือ 2 นักเตะจากอคาเดมี่ที่ปัจจุบันขึ้นชุดใหญ่แล้วคือ ธนกฤต กับ จิระพงษ์ และตอนนั้นน่าจะกำลังอายุเพียง 8-9 ขวบ
ปัจจุบันทั้งคู่อายุ 18 ปีแล้ว เท่ากับว่า บุรีรัมย์ เสียเงินกับทั้งคู่ไปแล้ว 10 ปี กว่า 3.5 ล้านบาท รวม 2 คนคือ 7 ล้านบาท
แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถขึ้นชุดใหญ่ได้ และไปเติบโตกับที่อื่นก็มีมาก
การทำอคาเดมี่ต้องใจเย็น และใช้เงินเยอะ บางทีคุณอาจใช้เงินไปกับอะไรก็ไม่รู้ด้วย เพราะมันก็ไม่ได้นักเตะขึ้นชุดใหญ่ทุกปี
นอกจากอดทนรอจนกว่าจะได้ผลผลิตแล้ว ยังต้องมาลุ้นอีกว่าจะใช้ได้ไหมอีกด้วย
แต่ที่แน่ๆสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลดีต่อทีมชาติไทยชุดใหญ่
ถ้ามีระบบแบบนี้สัก 20-30 ทีมในประเทศไทย ฟุตบอลโลกคงได้ไปแน่ๆในชาตินี้
แม้บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จะมากด้วยนักเตะต่างชาติคุณภาพ แต่สิ่งที่ไม่เคยทิ้งและพัฒนามาตลอดคืออคาเดมี่ที่เป็นรากฐานฟุตบอล
อคาเดมี่ที่นี่คือความฝันของนักบอลเด็กหลายคนที่ผู้ปกครองพาไปคัด เริ่มตั้งแต่ 8-15 ปี
การลงทุนเงินในส่วนนี้จากคำบอกเล่าของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร ว่า
ใช้เงิน 350,000 บาท ต่อเด็ก 1 คน ต่อ 1 ปี รวมทั้งหมดปีละ 30-40 ล้านบาท
เท่ากับว่า บุรีรัมย์ มีนักเตะหัวกะทิอยู่ราว 100-120 คน ถ้าหารจำนวนหัวกับค่าใช้จ่ายต่อปี
นอกจากฝีเท้าที่ต้องดี ระเบียบวินัยของบุรีรัมย์สำคัญมาก
ที่เห็นจากคลิปก่อนๆของบุรีรัมย์คือ ทรงผม ที่ต้องตัดเกรียน โทรศัพท์ต้องเก็บก่อนนอน และ ต้องนอนเป็นเวลา
ที่สำคัญต้องเรียนหนังสือ
ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ถ้าระเบียบวินัยไม่ได้ บุรีรัมย์ ตัดออกทันที
มีสิ่งหนึ่งที่ปลูกฝังเด็กเหล่านี้คือต้องสมบูรณ์แบบในทุกเกมแม้จะชนะก็ตาม
เกมที่ ภัทรบพิตร ชนะ วิชูทิศ 4-2 ในรอบรอง
ลูกของนายเนวิน ชนน์ชนก ชิดชอบ ผอ.อคาเดมี่ บอกกับนักเตะประมาณว่า
เราชนะ แต่เราเล่นไม่ดีเลย เราต้องแก้ไขใหม่นะ
ซึ่งการไม่พอใจอะไรง่ายๆแบบนี้แหละคือ DNA ของสโมสรต้องดีที่สุด เก่งที่สุด
ขณะที่ผมเคยเห็นบางทีม ผลงานไม่ดี ในเกมที่แพ้เขาบอกว่ามันเป็นอุบัติเหตุฟุตบอล เรากลับมาได้แน่
นี่แหละคือความแตกต่างของคนที่อยากประสบความสำเร็จ กับ คนที่ไล่ตามความสำเร็จ
ช่วงแรกๆ นักเตะอคาเดมี่ของบุรีรัมย์ไม่ได้ขึ้นมาเป็นตัวหลักชุดใหญ่สักเท่าไหร่ เพราะตอนนั้นอาจอยู่ในช่วงเริ่มต้น
ชิติพัทธ์ แทนกลาง , เต้ย หมูบิน ยศพล เทียงดาห์ คือผลผลิตยุคแรกๆ ในช่วงที่อคาเดมี่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเท่าไหร่
ช่วงกลางก็ยังมีที่ใช้งานได้ไม่เต็มที่ อาทิ
2 พี่น้องลิ้มวัฒนะ สรรเสริญ กับ บารมี , สิทธิโชค กันหนู , ณัฐวุฒิ สมบัติโยธา
และก็มีคนที่ถูกซื้อไปบ้างอย่าง เชาว์วัฒน์ วีระชาติ และ อานนท์ อมรเลิศศักดิ์
แต่ช่วงหลัง ผลผลิตจากอคาเดมี่บุรีรัมย์ เริ่มได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากแล้ว
ทั้ง 2 พี่น้อง สุภโชค สารชาติ และ ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา
รุ่นล่าสุดที่กำลังจะขึ้นมาก็รุ่นของ ธนกฤต โชคเมืองปัก, จิระพงษ์ พึ่งวีระวงศ์ ที่โดดเด่นในบอล 7 สี กับ โรงเรียนภัทรบพิตร
จากนักเตะ 100-200 คน ขึ้นชุดใหญ่กับบุรีรัมย์แค่ 1-2 คนต่อปี ก็นับว่าสำเร็จมากแล้ว กับทีมชุดใหญ่ที่มีมาตรฐานสูง
จากภาพคือ 2 นักเตะจากอคาเดมี่ที่ปัจจุบันขึ้นชุดใหญ่แล้วคือ ธนกฤต กับ จิระพงษ์ และตอนนั้นน่าจะกำลังอายุเพียง 8-9 ขวบ
ปัจจุบันทั้งคู่อายุ 18 ปีแล้ว เท่ากับว่า บุรีรัมย์ เสียเงินกับทั้งคู่ไปแล้ว 10 ปี กว่า 3.5 ล้านบาท รวม 2 คนคือ 7 ล้านบาท
แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถขึ้นชุดใหญ่ได้ และไปเติบโตกับที่อื่นก็มีมาก
การทำอคาเดมี่ต้องใจเย็น และใช้เงินเยอะ บางทีคุณอาจใช้เงินไปกับอะไรก็ไม่รู้ด้วย เพราะมันก็ไม่ได้นักเตะขึ้นชุดใหญ่ทุกปี
นอกจากอดทนรอจนกว่าจะได้ผลผลิตแล้ว ยังต้องมาลุ้นอีกว่าจะใช้ได้ไหมอีกด้วย
แต่ที่แน่ๆสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลดีต่อทีมชาติไทยชุดใหญ่
ถ้ามีระบบแบบนี้สัก 20-30 ทีมในประเทศไทย ฟุตบอลโลกคงได้ไปแน่ๆในชาตินี้
CR.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น