คำถาม : ขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการบางประเภท ผมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก ไม่ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนจากระบบขั้น ไปเป็นระบบเปอร์เซ็นต์มีผลกระทบต่อข้าราชการอย่างไร
คำตอบ :
เพื่อเพิ่มความเข้าใจ จะขอยกตัวอย่างเพื่อประกอบ ขอเน้นว่าเป็นตัวอย่างเท่านั้น เพราะยังไม่แน่ใจว่าสูงสุดของข้าราชการแต่ละประเภทเลื่อนได้กี่เปอร์เซ็นต์ สมมุติว่าสูงสุดเลื่อนได้ 12% ในรอบ 1 ปี
แบบที่หนึ่ง เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนในระบบเก่าซึ่งเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 1 ครั้ง ในวันที่ 1 ตุลาคม และเลื่อนได้ 2 อย่าง คือ 1 ขั้น กับ 2 ขั้น เท่านั้น (ไม่นับรวมผู้ที่ไม่ได้รับ การเลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะผลงานต่ำกว่าเกณฑ์)
แบบที่สอง เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในปัจจุบัน คือเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้งในวันที่ 1 เมษายน และ 1 ตุลาคม เป็นระบบ 0.5 ขั้น 1 ขั้น 1.5 ขั้น และ 2 ขั้น ในรอบ 1 ปี
แบบที่สาม เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยคิดจากร้อยละของค่ากลางเงินเดือน (Mid Point)
ซึ่งจะเลื่อนได้สูงสุดกี่เปอร์เซ็นต์ หรือจะมีค่ากลางกี่ค่า มีค่ากลางบน ค่ากลางล่าง หรือไม่ อัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดกี่บาท
ขั้นสูงสุดกี่บาท จะแบ่งข้าราชการเป็นกี่แท่ง แต่ละแท่งมีระดับย่อยกี่ระดับ ก็แล้วแต่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลจะกำหนด
สมมุติว่า ในรอบ 1 ปี เลื่อนสูงสุดได้ 12% เมื่อเทียบกับระบบเดิมก็คือเลื่อนได้ ปีละ 3 ขั้น โดยประมาณ
จากการเปรียบเทียบทั้งสามแบบ จะพบว่า
แบบที่หนึ่ง นาย ก. ผลงานประจำปี 90% เลื่อนแบบที่หนึ่งได้ 2 ขั้น ส่วนนาย ข. ผลงาน 89% ซึ่งต่างจาก
นาย ก. เพียงนิดเดียว กลับได้เลื่อน 1 ขั้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโควต้า 2 ขั้น เต็มแล้ว ส่วนนาย ช. ผลงาน 60%
ก็ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น เท่ากับนาย ข. เพราะระบบนี้ไม่มี 0.5 ขั้น ถ้าจะให้ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนก็ต้องได้รับอย่างน้อย 1 ขั้น
แบบที่สอง นาย ก. ผลงานประจำปี 90% ก็ยังได้ 2 ขั้น ส่วนนาย ข. ผลงาน 89% จากแบบที่หนึ่งซึ่งได้ 1 ขั้น
เป็นได้ 1.5 ขั้น ซึ่งสูงขึ้นและใกล้กับนาย ก. มากขึ้น ส่วนนาย ช. ผลงาน 60% จากแบบที่หนึ่งซึ่งได้ 1 ขั้น ลดลงเป็น
0.5 ขั้น ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดเท่าที่ให้ได้ ซึ่งเป็นไป ตามหลักผลงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบที่สองจะสะท้อนผลการปฏิบัติงานได้มากกว่า แบบที่หนึ่ง
แบบที่สาม นาย ก. ผลงานประจำปี 90% ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนรวม 11% นาย ข. ผลงาน 89% ใกล้เคียงกับนาย ก. มาก ก็ได้ 11% เช่นเดียวกัน ส่วนนาย ช. ซึ่งผลงานต่ำ จนแทบจะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนอยู่แล้ว ก็จะได้ 1% ซึ่งคิดแล้วน้อยกว่า 0.5 ขั้นอีก เพราะผลงานต่ำมาก
จะเห็นได้ว่า ระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์ จะสะท้อนผลงานได้ดีกว่าระบบเดิม กล่าวคือ ผู้ที่มีผลงานสูง ย่อมได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนสูง ผู้ที่มีผลงานต่ำย่อมได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนต่ำ นอกจากนี้ หน่วยงานยังมีอิสระ
ในการกำหนดนโยบายค่าตอบแทนอีก สามารถกำหนดได้ว่าจะให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในอัตราที่สูงเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนข้าราชการ เลื่อนเงินเดือนในอัตราที่ต่ำเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนข้าราชการ ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร
ทั้งนี้ จะมีวงเงินเป็นตัวกำหนด
จากการเปรียบเทียบทั้งสามแบบคงจะพอทำให้น้องเข้าใจระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ดีขึ้น
แบบที่หนึ่ง เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนในระบบเก่าซึ่งเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 1 ครั้ง ในวันที่ 1 ตุลาคม และเลื่อนได้ 2 อย่าง คือ 1 ขั้น กับ 2 ขั้น เท่านั้น (ไม่นับรวมผู้ที่ไม่ได้รับ การเลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะผลงานต่ำกว่าเกณฑ์)
แบบที่สอง เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในปัจจุบัน คือเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้งในวันที่ 1 เมษายน และ 1 ตุลาคม เป็นระบบ 0.5 ขั้น 1 ขั้น 1.5 ขั้น และ 2 ขั้น ในรอบ 1 ปี
แบบที่สาม เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยคิดจากร้อยละของค่ากลางเงินเดือน (Mid Point)
ซึ่งจะเลื่อนได้สูงสุดกี่เปอร์เซ็นต์ หรือจะมีค่ากลางกี่ค่า มีค่ากลางบน ค่ากลางล่าง หรือไม่ อัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดกี่บาท
ขั้นสูงสุดกี่บาท จะแบ่งข้าราชการเป็นกี่แท่ง แต่ละแท่งมีระดับย่อยกี่ระดับ ก็แล้วแต่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลจะกำหนด
สมมุติว่า ในรอบ 1 ปี เลื่อนสูงสุดได้ 12% เมื่อเทียบกับระบบเดิมก็คือเลื่อนได้ ปีละ 3 ขั้น โดยประมาณ
จากการเปรียบเทียบทั้งสามแบบ จะพบว่า
แบบที่หนึ่ง นาย ก. ผลงานประจำปี 90% เลื่อนแบบที่หนึ่งได้ 2 ขั้น ส่วนนาย ข. ผลงาน 89% ซึ่งต่างจาก
นาย ก. เพียงนิดเดียว กลับได้เลื่อน 1 ขั้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโควต้า 2 ขั้น เต็มแล้ว ส่วนนาย ช. ผลงาน 60%
ก็ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น เท่ากับนาย ข. เพราะระบบนี้ไม่มี 0.5 ขั้น ถ้าจะให้ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนก็ต้องได้รับอย่างน้อย 1 ขั้น
แบบที่สอง นาย ก. ผลงานประจำปี 90% ก็ยังได้ 2 ขั้น ส่วนนาย ข. ผลงาน 89% จากแบบที่หนึ่งซึ่งได้ 1 ขั้น
เป็นได้ 1.5 ขั้น ซึ่งสูงขึ้นและใกล้กับนาย ก. มากขึ้น ส่วนนาย ช. ผลงาน 60% จากแบบที่หนึ่งซึ่งได้ 1 ขั้น ลดลงเป็น
0.5 ขั้น ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดเท่าที่ให้ได้ ซึ่งเป็นไป ตามหลักผลงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบที่สองจะสะท้อนผลการปฏิบัติงานได้มากกว่า แบบที่หนึ่ง
แบบที่สาม นาย ก. ผลงานประจำปี 90% ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนรวม 11% นาย ข. ผลงาน 89% ใกล้เคียงกับนาย ก. มาก ก็ได้ 11% เช่นเดียวกัน ส่วนนาย ช. ซึ่งผลงานต่ำ จนแทบจะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนอยู่แล้ว ก็จะได้ 1% ซึ่งคิดแล้วน้อยกว่า 0.5 ขั้นอีก เพราะผลงานต่ำมาก
จะเห็นได้ว่า ระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์ จะสะท้อนผลงานได้ดีกว่าระบบเดิม กล่าวคือ ผู้ที่มีผลงานสูง ย่อมได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนสูง ผู้ที่มีผลงานต่ำย่อมได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนต่ำ นอกจากนี้ หน่วยงานยังมีอิสระ
ในการกำหนดนโยบายค่าตอบแทนอีก สามารถกำหนดได้ว่าจะให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในอัตราที่สูงเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนข้าราชการ เลื่อนเงินเดือนในอัตราที่ต่ำเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนข้าราชการ ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร
ทั้งนี้ จะมีวงเงินเป็นตัวกำหนด
จากการเปรียบเทียบทั้งสามแบบคงจะพอทำให้น้องเข้าใจระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ดีขึ้น
****************************************************************
คำถาม : เนื่องจากในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่น จึงขอทราบว่า ระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลคืออะไร
คำตอบ : ก่อนอื่นต้องเข้าใจความแตกต่างของคำว่า "คุณธรรม" ในความหมาย 3 อย่างก่อน คือ
(1) คำว่า Moral หมายถึง คุณธรรมที่เป็นคุณงามความดี เช่น การประพฤติตนเป็นคนดี เช่น การประพฤติตนเป็นคนดี การทำบุญตักบาตร
(2) คำว่า Ethic หมายถึง คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบวิชาชีพ เช่น การไม่ใช้แรงงานเด็ก การไม่ปล่อยสารพิษจากโรงงาน การให้บริการอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
(3) คำว่า Merit ที่เป็นคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
ระบบการบริหารงานบุคคล จำแนกกว้างๆ ได้เป็น 2 ระบบ คือ
(1) ระบบคุณธรรม (Merit System) คือ ระบบการบริหารงานบุคคลที่ใช้หลักความสามารถ ความยุติธรรม ความเสมอภาค ปราศจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นในการบริหารงานบุคคลทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการพ้นจากตำแหน่งหน้าที่การงาน
(2) ระบบอุปถัมภ์ (Spoil System) คือ ระบบที่ยึดถือความจงรักภักดี และความสนิทสนมกันเป็นการส่วนตัว ในการพิจารณาดำเนินการบริหารงานบุคคลด้านต่าง ๆ หน่วยงานใดที่ใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นหลักในการบริหารงานบุคคล
หน่วยงานนั้นก็จะไม่สามารถให้หลักประกันแก่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานว่าจะสามารถก้าวหน้าไปในสายอาชีพได้เพียงใด เพราะข้อสำคัญของระบบอุปถัมภ์นั้น อยู่ที่ความจงรักภักดีและความรู้จักคุ้นเคยกับตัวบุคคลผู้สามารถให้คุณให้โทษเป็นสำคัญ
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบคุณธรรม
ในฐานะข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบริหารงานบุคคลระบบคุณธรรม จึงควรที่จะศึกษาต่อไปว่าลักษณะสำคัญของระบบคุณธรรมนั้น จะต้องประกอบด้วย
1. ความเสมอภาค (Equity) หมายถึง การเปิดโอกาสให้แก่ผู้มีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า
ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอหน้ากัน โดยไม่คำนึงถึงฐานะ ตระกูล
การนับถือศาสนา ฯลฯ ตราบใดที่บุคคลนั้นเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วจะทำการกีดกันเขาเหล่านั้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด
2. ความสามารถ (Competency) การประเมินผลงานเพื่อพิจารณาความดีความชอบ หรือเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือเพื่อการบริหารงานบุคคลด้านอื่นใดก็ตาม จะต้องยึดถือความสามารถเป็นหลัก ในระบบคุณธรรม ผู้ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานมากกว่า มีผลงานเหนือกว่าเท่านั้นที่จะได้รับพิจารณาเลื่อนให้ขึ้นไปดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น
ต่างกับระบบอุปถัมภ์ซึ่งการพิจารณาให้ความดีความชอบนั้น ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานมีความสำคัญน้อยกว่าองค์ประกอบอย่างอื่น และอาจจะนำมาประกอบการพิจารณาหรือไม่ก็ได้
3. ความมั่นคง (Security) ระบบคุณธรรม เป็นระบบที่สามารถให้หลักประกันแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ว่า จะไม่ถูกกลั่นแกล้งให้ออกจากงานโดยไม่มีเหตุผล ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงมีความมั่นใจได้ว่า จะสามารถยึดการทำงานเพื่อยังชีพไปจนครบเกษียณอายุ ตราบใดที่ยังทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ และมิได้ทำผิดกฎระเบียบของหน่วยงาน นอกจากนั้น ระบบราชการยังให้ความมั่นคงแก่ข้าราชการที่เกษียณ โดยการให้บำเหน็จบำนาญเป็นหลักประกันของชีวิตอีกด้วย
4. ความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) ระบบราชการนั้นกำหนดอย่างชัดเจนว่าข้าราชการจะต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ข้าราชการประจำไม่สามารถที่จะเป็นกรรมการพรรคการเมืองและในกรณีที่ข้าราชการประจำลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็จะต้องลาออกจากการเป็นช้าราชการประจำเสียก่อน ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ข้าราชการประจำถูกแทรกแซงจากอิทธิพลของพรรคการเมือง ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานของข้าราชการประจำโน้มเอียงไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมือง แทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม
ดังนั้น คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (Merit Protection Broad) จึงต้องรักษาระบบคุณธรรมนี้ไว้ ตั้งแต่การสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การเลื่อนระดับ การโอน สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ตลอดจนหลังจากเกษียณอายุราชการ ทั้งในด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวก เช่น การสรรหา การเลื่อนระดับ ต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาค หลักความสามารถ หลักความมั่นคง และหลักความ เป็นกลางทางการเมือง ส่วนในด้านลบก็เช่นเดียวกัน ข้าราชการที่กระทำความผิดลักษณะเดียวกันคล้ายกัน ก็ควรได้รับการลงโทษอย่างทัดเทียมกัน
ที่สรุปมานี้คงพอเข้าใจว่า คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (Merit Protection Broad) ตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์อันใด
(1) คำว่า Moral หมายถึง คุณธรรมที่เป็นคุณงามความดี เช่น การประพฤติตนเป็นคนดี เช่น การประพฤติตนเป็นคนดี การทำบุญตักบาตร
(2) คำว่า Ethic หมายถึง คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบวิชาชีพ เช่น การไม่ใช้แรงงานเด็ก การไม่ปล่อยสารพิษจากโรงงาน การให้บริการอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
(3) คำว่า Merit ที่เป็นคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
ระบบการบริหารงานบุคคล จำแนกกว้างๆ ได้เป็น 2 ระบบ คือ
(1) ระบบคุณธรรม (Merit System) คือ ระบบการบริหารงานบุคคลที่ใช้หลักความสามารถ ความยุติธรรม ความเสมอภาค ปราศจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นในการบริหารงานบุคคลทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการพ้นจากตำแหน่งหน้าที่การงาน
(2) ระบบอุปถัมภ์ (Spoil System) คือ ระบบที่ยึดถือความจงรักภักดี และความสนิทสนมกันเป็นการส่วนตัว ในการพิจารณาดำเนินการบริหารงานบุคคลด้านต่าง ๆ หน่วยงานใดที่ใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นหลักในการบริหารงานบุคคล
หน่วยงานนั้นก็จะไม่สามารถให้หลักประกันแก่ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานว่าจะสามารถก้าวหน้าไปในสายอาชีพได้เพียงใด เพราะข้อสำคัญของระบบอุปถัมภ์นั้น อยู่ที่ความจงรักภักดีและความรู้จักคุ้นเคยกับตัวบุคคลผู้สามารถให้คุณให้โทษเป็นสำคัญ
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบคุณธรรม
ในฐานะข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบริหารงานบุคคลระบบคุณธรรม จึงควรที่จะศึกษาต่อไปว่าลักษณะสำคัญของระบบคุณธรรมนั้น จะต้องประกอบด้วย
1. ความเสมอภาค (Equity) หมายถึง การเปิดโอกาสให้แก่ผู้มีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า
ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอหน้ากัน โดยไม่คำนึงถึงฐานะ ตระกูล
การนับถือศาสนา ฯลฯ ตราบใดที่บุคคลนั้นเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วจะทำการกีดกันเขาเหล่านั้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด
2. ความสามารถ (Competency) การประเมินผลงานเพื่อพิจารณาความดีความชอบ หรือเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือเพื่อการบริหารงานบุคคลด้านอื่นใดก็ตาม จะต้องยึดถือความสามารถเป็นหลัก ในระบบคุณธรรม ผู้ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานมากกว่า มีผลงานเหนือกว่าเท่านั้นที่จะได้รับพิจารณาเลื่อนให้ขึ้นไปดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น
ต่างกับระบบอุปถัมภ์ซึ่งการพิจารณาให้ความดีความชอบนั้น ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานมีความสำคัญน้อยกว่าองค์ประกอบอย่างอื่น และอาจจะนำมาประกอบการพิจารณาหรือไม่ก็ได้
3. ความมั่นคง (Security) ระบบคุณธรรม เป็นระบบที่สามารถให้หลักประกันแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ว่า จะไม่ถูกกลั่นแกล้งให้ออกจากงานโดยไม่มีเหตุผล ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงมีความมั่นใจได้ว่า จะสามารถยึดการทำงานเพื่อยังชีพไปจนครบเกษียณอายุ ตราบใดที่ยังทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ และมิได้ทำผิดกฎระเบียบของหน่วยงาน นอกจากนั้น ระบบราชการยังให้ความมั่นคงแก่ข้าราชการที่เกษียณ โดยการให้บำเหน็จบำนาญเป็นหลักประกันของชีวิตอีกด้วย
4. ความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) ระบบราชการนั้นกำหนดอย่างชัดเจนว่าข้าราชการจะต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ข้าราชการประจำไม่สามารถที่จะเป็นกรรมการพรรคการเมืองและในกรณีที่ข้าราชการประจำลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็จะต้องลาออกจากการเป็นช้าราชการประจำเสียก่อน ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ข้าราชการประจำถูกแทรกแซงจากอิทธิพลของพรรคการเมือง ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานของข้าราชการประจำโน้มเอียงไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมือง แทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม
ดังนั้น คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (Merit Protection Broad) จึงต้องรักษาระบบคุณธรรมนี้ไว้ ตั้งแต่การสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การเลื่อนระดับ การโอน สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ตลอดจนหลังจากเกษียณอายุราชการ ทั้งในด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวก เช่น การสรรหา การเลื่อนระดับ ต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาค หลักความสามารถ หลักความมั่นคง และหลักความ เป็นกลางทางการเมือง ส่วนในด้านลบก็เช่นเดียวกัน ข้าราชการที่กระทำความผิดลักษณะเดียวกันคล้ายกัน ก็ควรได้รับการลงโทษอย่างทัดเทียมกัน
ที่สรุปมานี้คงพอเข้าใจว่า คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (Merit Protection Broad) ตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์อันใด
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น