#ระเบียบอัตราค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน
1.บิดามารดาให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5 % ของราคาประเมิน
-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % ของราคาประเมินหรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า
-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% จากราคาประเมิน (เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท)
-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5 % ของราคาประเมิน
-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % อย่างใดอย่างหนึ่ง ของราคาประเมิน หรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า
-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ จากราคาประเมิน
#3.ให้กรณีอื่นๆ
-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 % ของราคาประเมิน
-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % อย่างใดอย่างหนึ่ง ของราคาประเมิน หรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า
-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ(ขั้นบันได) จากราคาประเมิน
# 4. ให้ระหว่างสามีภรรยา
-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5 % ของราคาประเมิน
-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % อย่างใดอย่างหนึ่ง ของราคาประเมิน หรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า
-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ จากราคาประเมิน
#5.การโอนมรดก
กรณีที่ฝ่ายรับมรดกเป็นผู้สืบสายเลือด (ลูก หลาน เหลนหรือคู่สมรส)
-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5 % ของราคาประเมิน
กรณีที่ฝ่ายรับมรดกเป็นญาติ พี่ น้อง ที่ไม่ได้สืบสายเลือดหรือบุตรบุญธรรม
-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 % ของราคาประเมิน
#6. โอนซื้อขายปกติ
-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 % ของราคาประเมิน
-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % อย่างใดอย่างหนึ่ง ของราคาประเมิน ราคาขายหรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า
-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ จากราคาประเมิน
#ที่มา กรมที่ดิน
คำถาม ? ?
#ใคร/หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดราคา
คำตอบ 

คู่กรณีในการทำนิติกรรมเป็นผู้กำหนดราคาทุนทรัพย์ที่โอนกัน มักใช้ในกรณีโอนให้ เพราะการโอนให้ หากมีเหตุเรียกคืน สามารถถอนคืนการให้ได้ ตามปพพ.531เจ้าหน้าที่จึงต้องให้คู่กรณีกำหนดราคาทุนทรัพย์ไว้ด้วย แต่ส่วนใหญ่การให้ระหว่างบุคคลสืบสายเลือด คู่กรณีมักกำหนดราคาให้เป็นแบบไม่มีทุนทรัพย์หรือต่ำกว่าราคาประเมิน เพราะไม่ได้คิดถึงว่าอาจจะมีเรื่องการถอนคืนการให้ในอนาคต และอาจเข้าใจว่าการกำหนดราคาทุนทรัพย์เป็นแบบไม่มีทุนทรัพย์นั้น จะเสียค่าธรรมเนียมถูกที่สุด แต่ในการทำนิติกรรมเจ้าหน้าที่มักใจดีใส่ราคาทุนทรัพย์เท่ากับราคาประเมินให้ เพราะค่าใช้จ่ายในการโอนจะเท่ากันกับการโอนแบบไม่มีทุนทรัพย์และเป็นการรักษาสิทธิให้ผู้โอนซึ่งอาจมีปัญหาในอนาคตด้วย
Rf : กรมที่ดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น