วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

อำนาจพิจารณาโทษทางวินัยเป็นของ คณะกรรมการสอบสวน นายก อปท. และ ก.จังหวัด

 


😁อำนาจพิจารณาโทษทางวินัยเป็นของ คณะกรรมการสอบสวน นายก อปท. และ ก.จังหวัด
👉 ๑.คณะกรรมการสอบสวน เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จแล้วให้ประชุมพิจารณาลงมติว่า
๑.๑ ผู้ถูกกล่าวหา กระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าผิด เป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามข้อใด และควรได้รับโทษสถานใด
๑.๒ ทำรายงานการสอบสวน (สว.๖) เสนอ นายก อปท. พิจารณา ให้ถือว่าการสอบสวนแล้วเสร็จ
👉๒. นายก อปท. เมื่อได้รับรายงานการสอบสวนจากคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ต้องพิจารณาและสั่งการ ดังนี้
๒.๑ กรณีคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า ไม่ได้กระทำผิด หรือกระทำผิดวินัยไม่อย่างร้ายแรง
ให้ นายก อปท. มีคำสั่งดังนี้ ยุติเรื่อง หรือ ลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน หรือว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือ แล้วรายงาน ก.จังหวัด เพื่อพิจารณา
๒.๒ กรณีคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า ผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้นายก อปท. พิจารณาว่า เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน หรือไม่เห็นด้วย แต่ยังออกคำสั่งใดๆ ไม่ได้ ต้องส่งเรื่องให้ ก.จังหวัดพิจารณาก่อน
๒.๓ กรณีนายก อปท. เห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติม ให้กำหนดประเด็นไปให้คณะกรรมการสอบสวน เมื่อคณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมเสร็จแล้วให้ส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมโดยไม่ต้องทำความเห็นไปให้นายก อปท. เพื่อพิจารณาตาม ๒.๑ หรือ ๒.๒
👉๓. ก.จังหวัด เมื่อได้รับรายการดำเนินการทางวินัยจาก นายก อปท. แล้ว ต้องพิจารณามีมติ ดังนี้
๓.๑ กรณีตาม ๒.๑ ถ้าเห็นว่า การลงโทษ หรืองดโทษ หรือสั่งยุติเรื่อง ของนายก อปท. ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม และมีมติเป็นประการใด ไม่ว่าจะเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ ให้นายก อปท. มีคำสั่ง หรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมติ
๓.๒ กรณีตาม ๒.๒ ถ้า ก.จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้นายก อปท. มีคำสั่ง หรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมติ
๓.๓ กรณี ก.จังหวัด เห็นว่า สมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม ให้มีอำนาจกำหนดประเด็นที่ต้องการทราบไปให้ นายก อปท.เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนเดิมที่ นายก อปท. ได้แต่งตั้งไว้ทำการสอบสวนเพิ่มเติม
😡ข้อควรระวัง คณะกรรมการสอบสวน นายก อปท. หรือ ก.จังหวัด ต้องใช้อำนาจพิจารณาโทษทางวินัย
ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยหากให้ผู้อื่นใช้อำนาจพิจารณาโทษทางวินัยแทน
เช่น คณะกรรมการฯเห็นว่าควรตัดเงินเดือน แต่นายกเห็นว่า ต้องลดเงินเดือน อย่างนี้นายก ออกคำสั่งลดเงินเดือนได้เลย ไม่ใช่ให้คณะกรรมการฯ กลับไปทบทวนโทษใหม่ หรือ นายก หรือ อนุวินัยฯ เห็นว่าต้องลงโทษตัดเงินเดือน แต่ ก.จังหวัดเห็นว่าต้องลดเงินเดือน อย่างนี้ ก.จังหวัด ต้องมีมติให้ลดเงินเดือน และให้นายก มีคำสั่งตามได้เลย ไม่ใช่มีมติกลับไปให้นายก หรือ อนุวินัยฯ พิจารณาความเห็นใหม่
อย่างนี้อาจทำให้การกระทำของผู้พิจารณาแทนเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ
#ศึกษาเพิ่มเติม ข้อ ๗๕ ข้อ ๗๖ ข้อ ๗๗ ข้อ ๗๘ ข้อ ๘๔ ข้อ ๘๕ ข้อ ๘๗ และข้อ ๘๘ ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยฯ ครับ#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

❤️ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "เทศบาลนคร" ในภาคอีสาน มีจำนวน 6 แห่งคือ

  ❤️ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "เทศบาลนคร" ในภาคอีสาน มีจำนวน 6 แห่งคือ เทศบาลนครนครราชสีมา ยกฐานะ 25 กันยายน 2538 เทศบาลนครอุดรธา...