วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สรุปบำเหน็จบำนาญข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น

 

1. เหตุบำเหน็จบำนาญ (ม 12)
(1) เหตุทดแทน : เลิก/ยุบ/ให้ออกโดยไม่มีความผิด/ไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(2) เหตุทุพพลภาพ : มีใบรับรองของแพทย์ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปได้
(3) เหตุสูงอายุ : อายุตัว 60 ปี (เกษียณอายุ) หรือ อายุตัว 50 ปี โดยผู้มีอำนาจสั่งให้ลาออกได้
(4) เหตุรับราชการนาน : เวลาราชการ 30 ปี หรือ เวลาราชการ 25 ปีโดยผู้มีอำนาจสั่งให้ลาออกได้
2. สิทธิขอรับบำเหน็จหรือบำนาญ
-เข้าเหตุ 4 เหตุ เหตุใดเหตุหนึ่ง (ม.12)
-อายุราชการ 10 ปีขึ้นไป ได้รับบำเหน็จหรือบำนาญ ยกเว้น เหตุรับราชการนานต้องมีเวลาราชการ 25 ปี ขึ้นไป
-อายุราชการไม่ถึง 10 ปี ได้รับบำเหน็จ
-ไม่เข้าเหตุ 4 เหตุ (ลาออก)
-อายุราชการ 10 ปีขึ้นไป ได้รับบำเหน็จ
-อายุราชการไม่ถึง 10 ปี ไม่ได้รับอะไรเลย
3. สิทธิประโยชน์บำเหน็จบำนาญ
-บำเหน็จปกติ
- บำนาญปกติ
- บำนาญพิเศษ หรือ บำเหน็จพิเศษ
- บำเหน็จดำรงชีพ
- เงินเพิ่ม 25%
- เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับบำนาญ (ช.ค.บ.)
- บำเหน็จตกทอด
- ขรก.ตายในตำแหน่ง (เงินเดือน x เวลาราชการ)
- ข้าราชการบำนาญตาย
(บำนาญ+ช.ค.บ.(ถ้ามี) x 30 – บำเหน็จดำรงชีพที่รับไปแล้ว)
การจ่ายบำเหน็จตกทอด
ลำดับ 1 ทายาทโดยธรรม บุตร 2ส่วน (3 คนขึ้นไป 3ส่วน)
คู่สมรส 1 ส่วน และ บิดา/มารดา 1 ส่วน
ลำดับที่ 2 ทายาทตามหนังสือแสดงเจตนา (3 คน)
- เงินช่วยพิเศษ
- ขรก.ตายในตำแหน่ง (เงินเดือน x 3)
- ข้าราชการบำนาญตาย
(บำนาญ + เงินเพิ่ม 25% (ถ้ามี) + ช.ค.บ. (ถ้ามี) x 3)
การจ่ายเงินช่วยพิเศษ
ลำดับ 1 ทายาทตามหนังสือแสดงเจตนา
ลำดับ 2 คู่สมรส
ลำดับ 3 บุตร
ลำดับ 4 บิดา/มารดา
4. การคำนวณบำเหน็จบำนาญ
- คิดเวลาราชการเป็นปี
- 1 เดือน มี 30 วัน
- 6 เดือนขึ้นไป ปัดเป็น 1 ปี
“สูตรการคำนวณ”
- บำเหน็จปกติ
เงินเดือน x เวลาราชการ
- บำนาญปกติ
เงินเดือน x เวลาราชการ/50
- บำเหน็จดำรงชีพ (ครั้งแรก)
บำนาญ x 15 (รับได้ไม่เกิน 200,000)
- บำเหน็จดำรงชีพ (ครั้งสอง) อายุครบ 65 ปี
บำนาญ x 15 (รับได้ไม่เกิน 200,000)
-บำเหน็จดำรงชีพ (ครั้งที่สาม)
บำนาญ x 15 (รับได้ไม่เกิน 100,000)
- บำเหน็จตกทอด (ตายในตำแหน่ง)
เงินเดือน x เวลาราชการ
- เงินช่วยพิเศษ (ตายในตำแหน่ง)
เงินเดือน x 3
- บำเหน็จตกทอด (ข้าราชการบำนาญตาย)
บำนาญ + ช.ค.บ. (ถ้ามี) x 30 – บำเหน็จดำรงชีพที่รับไปแล้ว
- เงินช่วยพิเศษ (ข้าราชการบำนาญตาย)
บำนาญ + เงินเพิ่ม 25% (ถ้ามี) + ช.ค.บ. (ถ้ามี) x 3
1) ถ่ายโอนไม่เป็นสมาชิก กบข.
- บำเหน็จปกติ/บำเหน็จตกทอดตายในตำแหน่ง
เงินเดือน x เวลาราชการ (เต็ม)
- บำนาญปกติ
เงินเดือน x เวลาราชการ (เต็ม)/50
2) ถ่ายโอนเป็นสมาชิก กบข.
- บำเหน็จปกติ/บำเหน็จตกทอดตายในตำแหน่ง
เงินเดือน x เวลาราชการ (จุดทศนิยม)
- บำนาญปกติ
เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย xเวลาราชการ (จุดทศนิยม)/50
และต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
5. แหล่งเงิน 3 กลุ่มหลัก
-ตำแหน่งอื่น
เงินทุกประเภทจ่ายจากเงินกองทุน ยกเว้น เงิน ช.ค.บ.
เงินช่วยในส่วนของเงิน ช.ค.บ. จ่ายจากเงินของ อปท. เอง
- ตำแหน่งครู/ครูถ่ายโอน/บุคลากรทางการศึกษาเงินทุกประเภทจ่ายจากเงินอุดหนุน ยกเว้น เงินเพิ่ม 25%
เงินช่วยในส่วนของเงินเพิ่ม 25% จ่ายจากเงินกองทุน
- ตำแหน่งอื่นถ่ายโอน
แบ่งสัดส่วน จ่ายจากเงินอุดหนุน และเงินกองทุน
เงิน ช.ค.บ. จ่ายจากเงินอุดหนุน ไม่ต้องแบ่งสัดส่วน

แนวทางปฏิบัติกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสั่งใช้บุคคลภายนอกปฏิบัติราชการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 








วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

#สถิติการชมเว็บไซต์#(ขอบคุณที่เข้ามาชม)