แนวข้อสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
(1) การจัดตั้งเทศบาลตำบลจะกระทำได้ โดยออกเป็นกฎหมายตามข้อใด
ก) พระราชบัญญัติ
ข) พระราชกำหนด
ค) พระราชกฤฎีกา
ง) กฎกระทรวง
จ) ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตอบ ข้อ จ) ประกาศกระทรวงมหาดไทย
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 9 เทศบาลตำบล ได้แก่ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเทศบาล
ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเทศบาลไว้ด้วย
(2) การจัดตั้งเทศบาลเมืองจะกระทำได้ โดยออกเป็นกฎหมายตามข้อใด
ก) พระราชบัญญัติ
ข) พระราชกำหนด
ค) พระราชกฤฎีกา
ง) กฎกระทรวง
จ) ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตอบ ข้อ จ) ประกาศกระทรวงมหาดไทย
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศ
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศ
กระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
(3) การจัดตั้งเทศบาลนครจะกระทำได้ โดยออกเป็นกฎหมายตามข้อใด
ก) พระราชบัญญัติ
ข) พระราชกำหนด
ค) พระราชกฤฎีกา
ง) กฎกระทรวง
จ) ประกาศกระทรวงมหาดไทย ตอบ ข้อ จ) ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ก) พระราชบัญญัติ
ข) พระราชกำหนด
ค) พระราชกฤฎีกา
ง) กฎกระทรวง
จ) ประกาศกระทรวงมหาดไทย ตอบ ข้อ จ) ประกาศกระทรวงมหาดไทย
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนคร ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนคร ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
(4) เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นใด เป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครพ้นกำหนดหนึ่งปีไปแล้วตามกฎหมายเทศบาลมีผลให้บุคคลใดพ้นจากตำแหน่ง
ก) นายอำเภอ
ข) ปลัดอำเภอ
ค) ปลัดอบต.
ง) นายกเทศมนตรี
จ) ผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ ข้อ จ) ผู้ใหญ่บ้าน
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 41 เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นใดเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครแล้ว ห้ามมิให้ใช้กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่บัญญัติถึงการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันในท้องถิ่นนั้น และให้บรรดาบุคคลที่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันพ้นจากตำแหน่งและหน้าที่เฉพาะในเขตท้องถิ่นนั้น
ในเขตเทศบาลตำบลใด ถ้าหมดความจำเป็นที่จะต้องมีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือสารวัตรกำนัน ให้รัฐมนตรีประกาศยกเลิกตำแหน่งดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
(5) ถ้าในเขตเทศบาลใด หมดความจำเป็นที่จะมีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลหรือสารวัตรกำนัน ข้อใดมีอำนาจประกาศยกเลิกตำแหน่งดังกล่าว
ก) นายกรัฐมนตรี
ข) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค) ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ง) อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
จ) ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข้อ ข) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 41 เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นใดเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครแล้ว ห้ามมิให้ใช้กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่บัญญัติถึงการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันในท้องถิ่นนั้น และให้บรรดาบุคคลที่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันพ้นจากตำแหน่งและหน้าที่เฉพาะในเขตท้องถิ่นนั้น
ในเขตเทศบาลตำบลใด ถ้าหมดความจำเป็นที่จะต้องมีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือสารวัตรกำนัน ให้รัฐมนตรีประกาศยกเลิกตำแหน่งดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
(6) เทศบาลมีฐานะตามข้อใด
ก) กรม
ข) ทบวงการเมือง
ค) กระทรวง
ง) ส่วนราชการ
จ) องค์กรอิสระ
ตอบ ข้อ ข) ทบวงการเมือง
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 7 เมื่อท้องถิ่นใดมีสภาพอันสมควรยกฐานะเป็นเทศบาล ให้จัดตั้งท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้เทศบาลเป็นทบวงการเมืองมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
(7) เมื่อมีการประกาศจัดตั้งเทศบาลเสร็จสิ้นแล้ว ตามกฎหมายเทศบาลต้องจัดให้มีการเลือกตั้งภายในกี่วัน
ก) 30 วัน
ข) 45 วัน
ค) 60 วัน
ง) 90 วัน
จ) 120 วัน
ตอบ ข้อ ข) 45 วัน
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 8 เมื่อมีการจัดตั้งเทศบาลตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้จัดตั้งเป็นเทศบาล
ในระหว่างที่ไม่มีนายกเทศมนตรี ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่จัดตั้งเทศบาลปฏิบัติหน้าที่ปลัดเทศบาล และให้ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราว จนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
(8) เทศบาลเมือง คือท้องถิ่นที่มีจำนวนราษฎรตั้งแต่กี่คนขึ้นไป
ก) 10,000 คน
ข) 15,000 คน
ค) 20,000 คน
ง) 25,000 คน
จ) 50,000 คน
ตอบ ข้อ ก) 10,000 คน
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไปทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
(9) เทศบาลนคร คือท้องถิ่นที่มีจำนวนราษฎรตั้งแต่กี่คนขึ้นไป
ก) 10,000 คน
ข) 15,000 คน
ค) 20,000 คน
ง) 25,000 คน
จ) 50,000 คน
ตอบ ข้อ จ) 50,000 คน
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไปทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนคร ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
(10) ท้องถิ่นที่เป็นศาลากลางจังหวัดคือเทศบาลตามข้อใด
ก) เทศบาลตำบล
ข) เทศบาลเมือง
ค) เทศบาลนคร
ง) เทศบาลอำเภอ
จ) หน่วยราชการท้องถิ่นอื่น
ตอบ ข้อ ข) เทศบาลเมือง
อธิบายตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น