" ฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ" เจ้าหญิงพม่าผู้หลงรักเมืองเชียงใหม่
เรื่องราวเกิดขึ้น เมื่อ 450 ปีก่อน
: ภาพประกอบเป็นภาพเก่าร้อยปี ในวังพม่า
ในรัชสมัยของพระนางวิสุทธเทวี พม่าได้ส่ง ขุนนางชั้นสูง
มาปกครองเมืองเชียงใหม่โดยตรง เพราะช่วงนั้นล้านนาถูกชาวไทใหญ่ โจมตีอย่างต่อเนื่อง
พระนางวิสุทธเทวี สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1578 จากนั้นพระเจ้าบะหยิ่นหน่อง ทรงแต่งตั้งพระโอรสคือ
มังนรธาช่อ ( นรธามินแห่งสารวดี ) ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่
สารวดีมิน ถูกส่งไปปราบปรามกบฏ ที่ เมืองกลอง และ เมืองยาง เมื่อได้รับชัยชนะแล้ว พระองค์จึงทรงมีพระนามว่า นรธามินสอ
เมื่อนรธามินสอ เสด็จกลับยัง เมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงพา มเหสีชื่อ ฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ มาด้วย นรธามินสอ ทรงเป็น กวี
โปรดศิลปะ เช่นเดียวกับ สงคราม มเหสีฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ นั้นก็ทรงเป็นเจ้าหญิง ที่งามเพียบพร้อม และ หลงรักบ้านหลังใหม่ คือ เมืองเชียงใหม่ อย่างแท้จริง
พระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ ทรงเป็นกวีที่เก่งมาก
Director of the Universities Historical Research Centre at Yangon ชื่อว่า Ni Ni Myint
ได้แปลบทกลอน ”ยาดู” ที่พระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ ทรงรจนา
ที่เมืองเชียงใหม่ เป็น ภาษาอังกฤษ กล่าวถึงความรัก และ ความอาลัยอาวรณ์ ผ่านทางฤดูทั้งสาม ของ เมืองเชียงใหม่
พระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ ทรงเป็นธิดา พระเจ้าสุทโธธรรมราชาแห่งเมืองแปร ซึ่งพระเจ้าสุทโธธรรมราชาแห่งเมืองแปรนั้น ทรงเป็นพระอนุชาในพระเจ้าบะหยิ่นหน่อพระมารดามีพระนามว่า นรปติ เม่ต่อ พระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ ทรงศึกษาบทกวียาดู มาแต่ทรงพระเยาว์
ต่อมาพระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ อภิเษกสมรสกับ ญาติผู้พี่ชื่อ มินตาสิต ซึ่งภายหลังได้เป็น นรธามินสอ ใน ค.ศ. 1574
พระเจ้าบบะหยิ่นหน่อง ทรงแต่งตั้ง มินตาสิต ขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่
นรธามินสอ พร้อมด้วย พระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ ทรงออกเดินทางจาก เมืองพะโค ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1579 ระหว่างการเดินทาง พระนางทรงประสูติ พระโอรสที่ดอยหลวง
ทั้งสามพระองค์ เสด็จถึง เมืองเชียงใหม่ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1579 แล้วขึ้นครองเมืองเชียงใหม่
ในฐานะกษัตริย์ และ อัครมเหสีแห่งล้านนา
แต่นรธามินสอ นั้นทรงเป็นกษัตริย์นักรบ พระองค์ ทรงออกไปทำสงคราม ถวาย พระเจ้าบาหยิ่นหน่อง หลายครั้งซึ่งแต่ละครั้ง ก็ทรงจากเมืองเชียงใหม่ และ พระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ เป็นเวลานาน
เรารู้ได้อย่างไร ว่า มังนรธาสอทรงโปรดพระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ มาก หลักฐานทั้งหมดปรากฏอยู่ในบทกวี ยาดู ที่ไพเราะเพราะพริ้งบทหนึ่งที่ขึ้นต้นว่า
ณ สุวรรณปฐพีเมืองยวนที่งดงาม ซึ่งนรธามังสอทรงรจนาถึงพระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะดังนี้
“ ทั่วทั้งดินแดนนับพัน
ข้าไม่อาจหาหญิงที่งามเหมือนนางได้
เกลียวคลื่นทั่วมหานที
ก็ไม่งามเท่าเส้นผมของนาง
กลิ่นของนางหอมเหมือนดอกมะลิ.ฯลฯ..”
พระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ ประทับอยู่ในเมืองเชียงใหมในขณะที่นรธามินสอ ออกไปรบ พระนาง ทรงหลงรักเมืองเชียงใหม่ ที่เขียวขจีไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด พระนางมักเสด็จไปไหว้พระแก้ว ที่วัดเจดีย์หลวง และ พระสิงห์ ที่วัดพระสิงห์ บางครั้งพระนางก็เสด็จไปไหว้พระ ถึงดอยสุเทพ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1583
เมื่อ นรธามังสอ เสด็จไปทำสงครามที่ ยูนนาน พระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ ทรงรจนาบทกวียาดู ซึ่ง Ni Ni Myint ได้ถอดความออกมา เป็นภาษาอังกฤษ บทกวีนั้นงดงาม และ ไพเราะ แม้ผ่านกาลเวลามา 400 กว่าปีแล้ว ในบทกวีพระนางไม่ได้กล่าวถึงความรัก ที่มีต่อพระสวามีเท่านั้น พระนางยังกล่าวถึง เมืองเชียงใหม่ ที่พระนางทรงรักอีกด้วย
“ณ สุวรรณปฐพี แห่งเมืองยวน อันเป็น บ้านของเรา
ทุกสิ่งสวยงาม ราวสรวงสวรรค์ มีน้ำไหล ใสสะอาด มี นกร้อง ก้องอยู่เต็มป่า ลมพัดเชย ใบไม้ไหว อากาศช่วงต้นฤดูร้อน เต็มไปด้วยดอกไม้นานาชนิด บานส่งกลิ่นหอมอบอวล แต่ที่รักของข้า กลับไม่ได้อยู่ชื่นชม มีเพียงข้า
ที่ชื่นชมความงามอย่างเดียวดาย ในฤดูนี้มีทิวทัศน์ที่น่าชมอย่างมากมาย เมืองยวนแผ่นดินของท่าน รอให้ท่านหวนคืน ท่านคือ กษัตริย์ แห่ง กษัตริย์ ผู้สง่างาม ราวกับ แสงพระอาทิตย์ ท่านคือ ผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ บัดนี้สวามีของข้า
ไปทำสงครามที่เมืองจีน และ เมืองล้านช้าง อันแสนไกล
เพื่อปราบปรามข้าศึก ข้าต้องอยู่อย่างเดียวดาย เพราะท่านต้องไปทำสงคราม ก่อนเดือนแห่งตะกูนานาประเทศ ต่างน้อมมายัง เมืองเชียงใหม่ ที่ล้อมรอบด้วยคูน้ำ และ ปราการแห่งขุนเขา ท่านผู้เป็นเจ้าแห่ง ยวน
กษัตริย์แห่งกษัตริย์ เวลานี้ลมทางใต้พัดใบไม้ให้ร่วงหล่นแล้ว ช่อดอกลมแล้งปลิวไสว ท้องน้ำสงบนิ่ง มีสีเขียว ราวกับ มรกต ข้าไม่มีจิตใจ เสียบดอกไม้หอมที่มวยผม
ตั้งแต่สวามีผู้กล้าหาญของข้า ออกไปรบ ข้าได้แต่คุกเข่าสวดมนต์ต่อพระแก้ว พระสิงห์ สุวรรณมหาเจดีย์ และ พร
สุเทพ ที่มีรัศมีราวกับแสงอาทิตย์ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขา ทางทิศตะวันตกของเมืองฯ”
นรธามังสอเสด็จกลับจาก สงครามสู่เมืองเชียงใหม่อันเป็นที่รัก พระองค์ทรงครองเมืองเชียงใหม่ ต่ออีก 28 ปี พระนางฉิ่นผิ่วมะฉิ่นทรงมีพระโอรส 4 พระองค์ หนึ่งในนั้นคือสุทโธจ่อ ซึ่งครองเมืองเชียงใหม่ ต่อจากนรธามินสอ เรื่องราวบั้นปลายพระชนม์ชีพ ของพระนางฉิ่นผิ่วฉิ่นมะไม่ปรากฏแน่ชัด แต่คิดว่าพระนางคงประทับอยู่เคียงข้าง
นรธามินสอจนสิ้นพระชนม์ ในเมืองยวนเชียงใหม่แน่นอน
น่าเสียดายที่ไม่มีเจดีย์องค์ไหน ในเมืองเชียงใหม่ที่ระบุได้ว่า เป็นที่บรรจุพระอัฐิของ นรธามินสอและพระนาง ฉิ่นผิ่วฉิ่นมะ Ni Ni Myint ตั้งข้อสังเกตว่า พระอัฐิของนรธามินสอ อาจถูกบรรจุในเจดีย์วัดกู่เต้า หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว 6 ปี
ขอขอบพระคุณภาพ / ข้อมูล
: สุทธิศักดิ์เเปลจาก Chiang Mai / Zinn Mai and Myanma by nyiwinwordpress
Cr. เพจสายเครือไท (Tai race studies )
Cr. ภาพเก่าร้อยปี ชาวพม่า
เรียบเรียงโดย : Yung Yung
: ย้อนอดีตด้วยภาพ
: กลุ่มภาพเก่าในอดีตที่มีคุณค่า
: ค้นหาภาพในอดีต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น