วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567

เบื้องหลังผู้พิชิตอุโมงค์ขุนตาน พ.ศ. 2461 ลำปาง - ลำพูน

 


เบื้องหลังผู้พิชิตอุโมงค์ขุนตาน

พ.ศ. 2461 ลำปาง - ลำพูน
ในปี พ.ศ.2448 สมัยรัชกาลที่ 5 สยามได้วางรางเปิดการเดินรถไฟจากกรุงเทพฯถึงปากน้ำโพ การสร้างทางรถไฟสายเหนือ มีความคืบหน้าเป็นระยะๆ จุดหมายปลายทางคือเชียงใหม่
ต้องเจาะอุโมงค์ลอดใต้ภูเขา ยาว 1,352.10 เมตร เพื่อให้รถไฟ ลอดผ่านไป เลือกพื้นที่ภูเขาบริเวณ อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน ระหว่างอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
กับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2450
โดยการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม มีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยาการ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่าง
ชาวเยอรมันชื่อ เอมิล ไอเซน โฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
เมื่อขุดเจาะไปได้ 4 ปี ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้การก่อสร้างยาวนาน แล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2461 ใช้เวลาทั้งสิ้น 11 ปี
ในการขุดเจาะอุโมงค์นั้น ใช้แรงงานจากคนล้วนๆ โดยเจาะรูเล็กๆ โดยใช้สว่าน หรือใช้แรงคนตอกสกัด ให้เป็นรูเพื่อนำดินระเบิดไดนาไมต์ ฝังเข้าไปในรูเพื่อระเบิดให้เป็นอุโมงค์ใหญ่ ส่วนการขนดิน และหินออกจากอุโมงค์
ก็ใช้คนงานขนออกมา การขุดเจาะเริ่มจากปลายอุโมงค์ทั้ง 2 ข้าง เข้ามาบรรจบกันตรงกลาง ใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี อุโมงค์จึงทะลุถึงกันได้ และใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อผูกเหล็ก เทคอนกรีต ทำผนัง และหลังคาเพื่อความแข็งแรง
ป้องกันน้ำรั่วซึมจนอุโมงค์แล้วเสร็จ
เบื้องหลังความสำเร็จ
มีแรงงานชาวจีน ชาวอีสาน และไทยใหญ่ แบ่งหน้าที่การทำงาน แรงงานพวกหนึ่งเป็นพวกเร่ร่อนไม่มีทางเลือกในชีวิตและยังติดฝิ่นอีกด้วย
การมาสร้างอุโมงค์ เปิดโอกาสให้การสูบฝิ่นไม่ผิดกฏหมาย จึงทำให้เป็นที่ชื่นชอบ และมีกรรมกรขุดเจาะ
ทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง โดยแบ่งกะเป็นผลัด
แต่ละผลัดนั้นมีคนงานประมาณ 120 คน ขุดเจาะอุโมงค์ทั้งสองฝั่ง
ในบันทึกของ เอมิล ไอเซน โฮเฟอร์
วิศวกรใหญ่ ระบุว่าการสร้างทางรถไฟช่วงนี้ ใช้คนงานจีน ทำงานเกี่ยวกับดิน ส่วนการขุดเจาะอุโมงค์ ใช้คนงานจากภาคอีสาน
เนื่องจากคนงานจีน ไม่ยอมเข้าไปทำงานในอุโมงค์
เพราะมีความเชื่อว่าในอุโมงค์ มีภูตผีปีศาจสิงอยู่ จึงเกิดความหวาดกลัว ส่วนคนงานผูกเหล็ก ทำผนัง เป็นชาวไทยใหญ่
การเข้าไปทำงานกลางป่าทึบ ทำให้คนงานต้อง เป็น โรคมาลาเรีย คร่าชีวิตคนงานอยู่เป็นระยะๆ อีกทั้งโรคปอดที่เกิดจากการสูดฝุ่นหิน เข้าไปขณะทำงาน ควันพิษจากการระเบิดหิน ในขณะที่เวลากลางคืนก็มักมีเสือ มาคาบเอาคนงานไปกินเป็นอาหาร รวมทั้งม้าที่นำมาไว้ใช้แรงงาน
หลังจากอุโมงค์ขุนตานสำเร็จ มีการวางรางเรียบร้อย จึงเปิดเดินรถไฟสายเหนือตลอดถึงเชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2465
: เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 สมัยรัชกาลที่ 5
ตัวอุโมงค์สร้างเสร็จในรัชกาลที่ 6
และเปิดให้ขบวนรถไฟแล่นผ่านได้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2465
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและภาพ
Cr. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
Cr. การรถไฟแห่งประเทศไทย
เรียบเรียงโดย : Yung Yung
: ย้อนอดีตด้วยภาพ
: กลุ่มภาพเก่าในอดีตที่มีคุณค่า
: ค้นหาภาพในอดีต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

📕 ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞

  #หนังสือดีบอกครูต่อ E-Book ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞ โดย รศ.ดร.วันทนา เนาว์วัน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ...