ความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่าง การแข่งขันราคา กับ การหาคู่เทียบ
๑.การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบฯ ๖๐ มีด้วยกัน ๒ รูปแบบ คือ
(๑) แบบไม่แข่งขันราคา ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง
(๒) แบบแข่งขันราคา ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป และ วิธีคัดเลือก
๒.แบบแข่งขันราคา คืออะไร???
แบบแข่งขันราคา หมายถึง การจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องมีการแข่งขันราคากันระหว่างผู้เสนอราคา ต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนที่ระเบียบกำหนดไว้ เช่น มีการยื่นซอง มีกำหนดเวลาเปิดซอง มีหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะ เป็นต้น
๓.แบบไม่แข่งขันราคา คืออะไร???
แบบไม่แข่งขันราคา หมายถึง การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่มีการจัดการแข่งขันของผู้ประกอบการ ไม่มีการยื่นซองเสนอราคา ไม่มีกำหนดเวลาเปิดซอง ซึ่งก็คือ การเจรจาตกลงราคากับผู้ประกอบการโดยตรงนั้นเอง
๔. การหาคู่เทียบ คืออะไร???
การหาคู่เทียบ เป็นการจัดซื้อจัดจ้างแบบไม่แข่งขันราคา ซึ่งก็คือ วิธีเฉพาะเจาะจง โดยวิธีนี้เราทำได้ ๒ แบบ คือ
(๑) ตกลงราคากับผู้ประกอบการรายเดียวโดยไม่ต้องหาคู่เทียบก็ได้ หรือ
(๒) กรณีที่ต้องหาคู่เทียบ เช่น
- พัสดุเห็นว่าควรจะหาเพื่อจะได้จัดซื้อจัดจ้างจากร้านที่มีราคาถูกกว่า แต่คุณภาพเท่ากัน
- ผู้บังคับบัญชาสั่งให้หาคู่เทียบ กรณีนี้พัสดุจะเถียงว่าไม่ต้องหา ไม่ได้นะครับ เพราะกลายเป็นคุณไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หากเกิดความเสียหาย คุณอาจต้องรับผิดชอบผู้เดียว
๕. การหาคู่เทียบดำเนินการอย่างไร???
ที่พูดไปตั้งแต่ต้นว่าการหาคู่เทียบไม่ใช่การให้แข่งขันราคา จึงไม่ต้องมีการยื่นซองเสนอราคา เพียงแต่พัสดุอาจหาโดยวิธีดังนี้ เช่น
(๑) ติดต่อร้านค้าขอใบเสนอราคา โดยจะขอเป็นฉบับจริง หรือ แฟกซ์ ก็ได้
(๒) หาราคาจาก Internet ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายจะลงรายการสินค้าและราคาในเว็บไซด์
สรุป การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างวงเงินไม่เกิน ๕ แสน จำเป็นต้องหาคู่เทียบหรือไม่อยู่ในดุลพินิจของพัสดุ แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาให้หาเราก็ต้องหานะครับ
Cr.witsanu konglek
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น