วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

#ใช้เงินสะสมได้หรือไม่ #เป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างหรือไม่

 #ใช้เงินสะสมได้หรือไม่ #เป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างหรือไม่

คำถาม....
🍊คำถามที่ 1...กรณีที่ประชุม สภา อบต.ได้ อนุมัติให้ใช้เงินสะสม เพื่อจัดซื้อไฟฟ้าส่องสว่าง(โซล่าเซลล์) พลังงานเเสงอาทิตย์ พร้อมติดตั้ง โดยเป็นแยกหมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. โครงการจัดซื้อฯ....พร้อมติดตั้ง หมู่ 2 จำนวน 300,000 บาท
2.โครงการจัดซื้อฯ....พร้อมติดตั้ง หมู่ 3 จำนวน 300,000 บาท
3.โครงการจัดซื้อฯ....พร้อมติดตั้ง หมู่ 5 จำนวน 300,000 บาท
4. โครงการจัดซื้อฯ....พร้อมติดตั้ง หมู่6 จำนวน 300,000 บาท
5.โครงการจัดซื้อฯ....พร้อมติดตั้ง หมู่ 10 จำนวน 300,000 บาท
การอนุมัติให้ใช้เงินสะสม มีการแยกรายการ แยกวงเงิน แยกหมู่บ้าน กรณีเเบบนี้ คลังสามารถ เลือกใช้วิธีเจาะจงได้หรือไม่ครับ
🍊คำถามที่ 2 ...จ่ายขาดเงินสะสม ตั้งจัดซื้อครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ จำนวน 13 หมู่บ้าน ดังนี้
1.จัดซื้อ...หมู่ 2 จำนวน 10 ชุด เป็นเงิน 30,000 บาท
2.จัดซื้อ...หมู่ 4 จำนวน 10 ชุด เป็นเงิน 30,000 บาท
3.จัดซื้อ...หมู่ 7 จำนวน 5 ชุด เป็นเงิน 150,000 บาท
4.....
5.....
13......
อนุมัติงบประมาณครั้งเดียวกัน ซึ่งได้แยกจัดซื้อรายการตามหมู่บ้านข้างต้นโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว สตง.จะท้วงติงวิธีการจัดซื้อไหมคะ ถือว่าแบ่งซื้อแบ่งจ้างไหมคะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ🙏🙏🙏
👉แนวทาง....จากคำถามทั้งสองคำถามข้างต้นขออนุญาตตอบรวมในลักษณะนี้นะคะ...หลักการของพวกเราในการดำเนินการจะทำโครงการต่างๆนั้นจะต้องผ่านแผนพัฒนาท้องถิ่นมาก่อน....เพราะฉะนั้น หลักของการใช้เงินสะสม ตามระเบียบการเงินฯ ข้อ 97 นั้น กำหนดให้สามารถใช้เงินสะสมได้ ในกรณีที่เป็นงบประมาณที่ตั้งไว้ในงบลงทุน ประเภทค่าครุภัณฑ์ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งบางโครงการไม่จำเป็นต้องกำหนดในแผนพัฒนาท้องถิ่น หากไม่ใช่งานที่เป็นในลักษณะของบริการสาธารณะ เช่น แอร์ซึ่งเป็นครุภัณฑ์ที่ติดตั้งในสำนักงาน แต่ถ้าเมื่อใดที่เป็นโครงการเกี่ยวกับสาธารณะจำเป็นจะต้องมีในแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามระเบียบวิธีแผนฯ ข้อ 25
ซึ่งทั้ง 2 คำถามนั้น
1) หากเป็นโครงการที่ตั้งงบประมาณถูกต้องแล้วมีในแผนพัฒนาท้องถิ่นถูกต้องแล้วก็สามารถขอความเห็นชอบอนุมัติต่อที่ประชุมสภาได้เลย
2) ต้องกันเงินต่างๆ ไว้ให้ครบตามระเบียบการเงินข้อ 97 (3) ด้วย
ส่วนประเด็นที่ถามว่าโครงการต่างๆ นั้นจะเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างหรือไม่เพราะมีโครงการเหมือนกันลักษณะเดียวกัน
ขออนุญาตตอบตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างข้อ 20 เข้าลักษณะดังกล่าวนี้หรือไม่
1) มีเจตนาทำให้วงเงินงบประมาณเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ 2) มีเจตนาทำให้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
3) มีเจตนาทำให้อำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
หากไม่เข้าลักษณะดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง
โดยส่วนตัวแล้วจากคำถามทั้ง 2 คำถามนั้นทราบว่าโครงการแต่ละโครงการได้ตั้งงบประมาณแยกเป็นโครงการชัดเจนและตั้งไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นในแผนงานต่างๆนั้นถูกต้องและแยกตั้งงบประมาณไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นแยกเป็นแต่ละโครงการแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งเมื่อจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างก็สามารถดำเนินการได้ 2 วิธีคือ
1) แยกดำเนินการทีละโครงการ โดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง
2) รวมทุกโครงการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีอีบิดดิ้ง แล้วไปพิจารณาต่อหน่วยในระบบ e - Gp
ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น .....ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ดำเนินการในการจัดซื้อจัดจ้าง นั่นก็คือ เจ้าหน้าที่พัสดุ
ข้อดี...หากรวมบิดดิ้งเราก็จะเกิดผู้ประกอบการหลากหลาย มีการฟันราคากันงบประมาณก็น่าจะเหลือเยอะขึ้น แต่อาจจะมีความล่าช้านิดหน่อยในการดำเนินการ ยิ่งไปเจออุทธรณ์ด้วยยิ่งช้ากันไปใหญ่
ข้อดี...หากใช้วิธีเฉพาะเจาะจง สามารถดำเนินการได้รวดเร็วผู้ประกอบการอยู่ในพื้นที่ พัสดุครุภัณฑ์ที่จะต้องใช้สามารถใช้ได้ทันท่วงทีมากกว่า
ลองพิจารณาเอาตามความสะดวกนะคะ.....หวังว่าคงมีความสุขกับการจัดซื้อจัดจ้างที่ใช้จ่ายจากเงินสะสมในครั้งนี้นะคะ....ข้อสำคัญฝากไว้นิดนึงอย่าลืมกันเงินสะสมตามระเบียบข้อ 97(3) ให้ครบนะคะดูดีๆ ก็มีหลายที่เข้าใจเรื่องการเงินตามข้อนี้ผิด!! กันเงินผิดชีวิตเปลี่ยนทันทีแม้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างจะถูกต้องก็ตาม...ฝากไว้ค่ะเป็นห่วง
วราภรณ์ แสงชา
คนท้องถิ่น ❤️หัวใจสิงห์
วิทยากรอิสระ
12 พฤศภาคม 2567

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

📕 ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞

  #หนังสือดีบอกครูต่อ E-Book ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞ โดย รศ.ดร.วันทนา เนาว์วัน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ...