วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

"ศาลาอเนกประสงค์" กับ "ศาลาเอนกประสงค์" เขียนอย่างไรกันแน่ ??

 "ศาลาอเนกประสงค์" กับ "ศาลาเอนกประสงค์" เขียนอย่างไรกันแน่ ??

คำที่ถูกต้อง คือ """ศาลาอเนกประสงค์"""
>>>> "อเนกประสงค์" หมายถึง "ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างแล้วแต่ความต้องการ"
>>>> อยากใช้ทุกท่านทุกองค์กรใช้ให้ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างแก่คนทั่วๆไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์และดำรงไว้ซึ่งความเป็น "ไทย" ของเรา ครับ <<<<<
............. อเนก มาจาก อน+เอก โดยที่ อน [อะนะ-] มีความหมายเดียวกับ อ [อะ-] พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ นิยามว่า "เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตบอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม), อธรรม (ไม่ใช่ธรรม)" อน- ใช้แทน อ ในกรณีที่ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อนาทร (อน+อาทร) อนาจาร (อน+อาจาร )
............. อเนก, อเนก- [อะเหนก, อะเหนกกะ] แปลว่า มาก, หลาย อเนกประสงค์ [อะเหนกประสง] ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างแล้วแต่ความต้องการ อเนกวิธ [อะเหนกกะวิด] หลายอย่าง, ต่าง ๆ อเนกอนันต์ [อะเหนกอะนัน] มากมาย, มากหลาย อเนกรรถประโยค [อะเนกัดถะประโหยก] ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ ในทางตรงกันข้าม เอกรรถประโยค [เอกัดถะ-] ก็คือ ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบทกริยาสําคัญเพียงบทเดียว
............. มีวิธีจำง่ายๆ คือ อเนก ไม่ใช่ เอ-นก ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ พบว่ามีเพียงคำเดียวที่สระเอนำหน้า อ แล้วอ่านว่า อะ- คือ เอร็ดอร่อย [อะเหร็ดอะหร่อย] เอนก ไม่มีความหมายในภาษาไทย แต่ที่ชื่อบางคนเขียน เอนก แล้วอ่านว่า อะเหนก คงต้องยกเว้นให้ว่าเป็นคำเฉพาะ

ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

📕 ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞

  #หนังสือดีบอกครูต่อ E-Book ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞ โดย รศ.ดร.วันทนา เนาว์วัน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ...