วิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพมหานคร (Vision of
Bangkok 2020)
กรุงเทพมหานคร
มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้า การบริการ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้วยความได้เปรียบเชิงตำแหน่งที่ตั้งของพื้นที่ที่อยู่ตรงกลางของประเทศในกลุ่มอาเซียน
และความได้เปรียบในความหลากหลายและความเชี่ยวชาญในการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกื้อหนุนความเป็นศูนย์กลาง
ซึ่งการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้กรุงเทพฯ มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
แต่ประเด็นด้านความแออัดทางกายภาพ ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมทางสังคมและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมกลับมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง
และด้วยกระแสการแข่งขันของเมืองระดับโลกต่างมุ่งเข้าสู่การสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกัน
วิสัยทัศน์ในการพัฒนากรุงเทพฯ ในฐานะเมืองระดับโลกและเมืองศูนย์กลางแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จึงต้องมีหลักการที่ประสานการพัฒนาอย่างสมดุล ภายใต้หลักการ “มหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน”
(Sustainable Metropolis) ซึ่งมุ่งพัฒนาโดยยึดประชาชนชาวกรุงเทพฯ
เป็นศูนย์กลางเพื่อให้ประชาชนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีความเป็นอยู่ที่ดีซึ่งจะส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของกรุงเทพฯ
เพื่อให้เป็นมหานครระดับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างบริการสาธารณะที่มีคุณภาพดี
และสามารถเข้าถึงได้อย่างเหมาะสม เพื่อเกิดความเท่าเทียมกันของประชาชน
จากวิสัยทัศน์
“มหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นแนวทางการพัฒนา 3 แนวทางได้แก่
Gateway Green และ Good Life โดยได้แยกวิสัยทัศน์ออกเป็น
3 มิติการพัฒนาซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาในระดับพื้นที่ ได้แก่ มหานคร (Gateway) ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาในระดับมหานคร ยั่งยืน (Green) ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาระดับเมือง และน่าอยู่ (Good Life) ที่เป็นแนวทางการพัฒนาในระดับชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะบูรณาการแนวทางการพัฒนาทั้งสามระดับพื้นที่อย่างสมดุล
เหมาะสมกับศักยภาพทางที่ตั้งและตำแหน่งทางความเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ กับพื้นที่สำคัญอื่นๆ
ของโลกประสานอย่างกลมกลืนกับความเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
การเมืองการปกครองของประเทศ และการมีบริการพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ความประสานกันอย่างสมดุลดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยและเป็นตัวนำแห่งความเท่าเทียมกันของประชาชนต่อเนื่องไปยังระดับประเทศอีกด้วย
โดยแต่ละแนวทางการพัฒนาแต่ละประเด็นจะมีหลักการดังนี้
การเป็นมหานครศูนย์กลางภูมิภาค
(Gateway)
ความเป็น Gateway หมายถึงการเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่างๆ
ที่มีบริบทแตกต่างกัน จึงมีความต้องการที่เชื่อมโยง ส่งถ่าย และแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่
ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ้นค้า ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เทคโนโลยี และวิทยาการ
ให้ไปยังอีกพื้นที่หนึ่งเพื่อเป็นฐานในการผลิตต่อไป
ส่งผลให้มีความต้องการการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
และส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในเชิงของตัวสินค้าและในเชิงพื้นที่
ดังนั้นพื้นที่ที่จะรองรับการเป็น Gateway ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการเชื่อมต่อมีโครงสร้างพื้นฐานที่จะส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างสะดวกและประหยัด
มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีองค์ความรู้ที่สามารถตอบสนองกับการเป็นจุดเชื่อมต่อที่ดี
กรุงเทพมหานคร
มีความเป็น Gateway ของประเทศไทยที่เชื่อมโยงไปสู่หลายระดับพื้นที่
ตั้งแต่กลุ่มประเทศอินโดจีน ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ระดับทวีปเอเชีย-โอเชเนีย
ไปจนถึงระดับโลกเนื่องจากมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกลางของหลายระดับพื้นที่ สามารถเชื่อมโยงทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างสะดวก
อีกทั้งยังมีระดับการพัฒนาสูงเมื่อเทียบกับพื้นที่ข้างเคียงที่มีการผลิตในห่วงโซอุปทาน
(Supply Chain) ส่งผลให้กรุงเทพมหานคร
มีความเป็นศูนย์รวมของแหล่งผลิตขั้นสุดท้ายที่ส่งไปยังผู้บริโภคในตลาดต่างๆ ที่กระจายตัวกันอยู่ทั่วโลก
มีโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่หลากหลายและครบสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นทางบก
(ทั้งระบบถนนและระบบราง) ทางน้ำและทางอากาศ ส่งผลให้กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทานของการผลิตหลายประเภท
ทั้งด้านอุตสาหกรรม การค้า การบริการและการท่องเที่ยว จึงต้องมีวิสัยทัศน์การพัฒนาที่จะส่งเสริมการเป็น
Gateway ที่มีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงต่อระหว่างภายในกับภายนอก
เป็นพื้นที่รวบรวมและการจายบุคคล สินค้า วัฒนธรรม และองค์ความรู้ที่เหมาะสมและก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับหน่วยธุรกิจในพื้นที่
อีกทั้งต้องมีความเป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ และความประทับใจครั้งแรกของผู้เยี่ยมเยือนที่มีต่อประเทศที่จะต้องได้รับการยอมรับในระดับสากลอีกด้วย
โดยกรุงเทพมหานครจะต้องมีความเป็น Gateway ทั้งด้านกายภาพสังคม
เศรษฐกิจ และการบริหารจัดการ
ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน
กรุงเทพมหานครจะได้รับการพัฒนาให้เป็น “ศูนย์กลางของภูมิภาคด้านการขนส่งและสื่อสาร”
ซึ่งโดยปกติแล้ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ที่มีความเป็น Gateway จะเป็นการผลิตขั้นสุดท้ายที่พึ่งพาวัตถุดิบที่ผลิตขั้นต้นและขั้นกลางมาจากพื้นที่ที่อยู่ห่างจากประตูเชื่อมต่อออกไป
และจะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมและกระจายสินค้า เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งถ่ายได้อย่างประหยัดสะดวก
และตรงกับความต้องการของตลาด ดังนั้น การพัฒนาด้านกายภาพของกรุงเทพมหานคร ในแง่ประสิทธิภาพการเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยกับพื้นที่อื่นๆในโลก
จึงมุ่งพัฒนาให้มีโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านคมนาคมขนส่ง
สาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างสะดวก
ประหยัดและรวดเร็วแต่ด้วยข้อจำกัดของกรุงเทพมหานคร ที่มีขนาดพื้นที่สำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานน้อยกว่ามหานครแห่งอื่นๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสัดส่วนพื้นฐานที่ถนนต่อพื้นที่เมืองทั้งหมดซึ่งกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนพื้นที่ถนนเพียงร้อยละ
10 เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่เมืองทั้งหมด ในขณะที่มหานครโตเกียวมีสัดส่วนโตเกียวมีสัดส่วนพื้นที่ถนนร้อยละ
23 และมหานครนิวยอร์กมีพื้นที่ถนนนร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับพื้นที่เมืองทั้งหมด
ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว
กรุงเทพมหานคร จึงต้องมีการพัฒนาในรูปแบบที่ต้องการใช้ขนาดพื้นที่เพื่อการวางโครงสร้างพื้นฐานไม่มากนัก
แต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนและหน่วยธุรกิจต่างๆ
ได้อย่างทัดเทียมกับมหานครแห่งอื่นๆ ด้วยการพัฒนาการขนส่งและคมนาคมระบบรางที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าและต้องการพื้นที่น้อยกว่าระบบถนน
การรวมช่องทางของระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อลดความต้องการทางพื้นที่สะดวกในการบำรุงรักษา
และสามารถกระจายสาธารณูปการต่างๆ ลงไปสู่พื้นที่แทนการรวมศูนย์ จึงมีความต้องการทางพื้นที่เล็กลง แต่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงและให้บริการสูงขึ้น
รวมถึงการยกระดับการให้บริการให้ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มปริมาณพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่สารถตอบสนองการผลิตในพื้นที่
Gateway
ส่วน Gateway ด้านสังคม จะมุ่งสู่การเป็น “ศูนย์กลางของภูมิภาคด้านการศึกษา มหานครแห่งการเรียนรู้
สุขภาพ และวัฒนธรรม” เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เทคนิควิทยาการและองค์ความรู้ที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษอีกด้วย
ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงต้องทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ด้านต่างๆที่จะตอบสนองการผลิต
การค้า การบริการ และการท่องเที่ยวของประเทศและกลุ่มประเทศและกลุ่มประเทศเป็นศูนย์กลางการค้นคว้า
วิจัยและผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่
เพื่อตอบสนองกับการเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การเงิน การธนาคาร และเทคโนโลยีของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และการเป็น Gateway ทางสังคมมีความหมายไปถึงภาพลักษณ์ของประเทศ
เนื่องจากเป็นจุดแรกที่ผู้เยี่ยมเยือนจะรับรู้และความประทับใจครั้งแรกกับประเทศไทย
ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงต้องมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี มีคุณภาพ
ได้รับการยอมรับและมีมาตรฐานในระดับสากล และสะท้อนเอกลักษณ์ของประเทศไทยให้ชาวโลกได้รับทราบ
โดยการออกมาตรการต่างๆ ทั้งด้านผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ แผนงาน
และโครงการที่จะส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ของประเทศไทยไปสู่การรับรู้ของเวทีโลก
การสร้างความเป็น
Gateway ทางเศรษฐกิจให้กับกรุงเทพมหานครส
มีเป้าหมายสำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ให้กรุงเทพมหานครเป็น
“ศูนย์กลางของภูมิภาคด้านเศรษฐกิจวิทยาการ ธุรกิจการเงิน การท่องเที่ยว และการบริการ”
โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานเศรษฐกิจอยู่บนการค้นคว้าและวิจัยทางเทคโนโลยี การเป็นศูนย์กลางด้านการเงินการธนาคารในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มีองค์ประกอบทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าของการเปลี่ยนมือของกระแสเงินตราในแต่ละครั้ง
รวมถึงการสนับสนุนการท่องเที่ยวที่มีจุดขายเป็นทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
ธรรมชาติและระบบนิเวศ รวมถึงการค้า การบริการต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งในเชิงที่ตั้งและรูปแปบบความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจแล้วกรุงเทพมหานครต้องมีความในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศไทย
ที่รวบรวมวิทยาการและกระแสเงินตราจากพื้นที่อื่นๆ
ในประเทศแล้วส่งต่อไปยังตลาดการเงินต่างๆทั่วโลก และในทางกลับกัน กรุงเทพมหานครจะต้องทำหน้าที่เป็นด่านเพื่อรับวิทยาการและกระแสเงินจากพื้นที่ต่างๆ
ในโลก แล้วกระจายออกไปยังพื้นที่อื่นๆ ในประเทศอย่างเหมาะสม ภายใต้หลักการของการกระจายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น