กรณีไฟไหม้บ้านประชาชนหลังเดียว
#ประชาชนกรณีไฟไหม้บ้านหลังเดียว
ควรผ่านคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน หรือเป็นอำนาจนายก....และใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างอย่างไร
ถามว่า อปท.สามารถช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยบ้านไฟไหม้ 1 หลัง ได้หรือไม่ แม้โดยหลักการไม่ถือเป็นสาธารณภัย ถ้าหากช่วยเหลือได้ สามารถช่วยเป็นเงิน หรือ สิ่งของ นั้น
ตอบ....... กรณีดังกล่าวนั้น สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ โดยเป็นดุลยพินิจของ คณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าจะพิจารณาข่วยเหลือเป็นสิ่งของหรือเงิน ตามข้อ 12 วรรค 2 เเห่ง ระเบียบช่วยเหลือประชาชนฯ ประกอบ หลักเกณฑ์ช่วยเหลือฯ ปี 63 ข้อ 5.1 และ 5.7
ในระเบียบการช่วยเหลือประชาชน ปี 60 และที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น เขียนค่อนข้างชัดเจนว่ากรณีใดบ้างที่ต้องผ่านคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนและกรณีใดบ้างที่เป็นอำนาจนายกและใช้งบกลาง
ประเภทเงินสำรองจ่ายในการช่วยเหลือประชาชน
การช่วยเหลือประชาชน กรณีไฟไหม้บ้านหลังเดียวได้กำหนดไว้ในระเบียบข้อ 12 วรรคสอง อปท.สามารถช่วยได้แม้ว่าจะไม่เข้าหลักการของสาธารณภัยหรืออุบัติภัยก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือสิ่งของ
ถ้าเป็นสิ่งของนั้นก็สามารถดำเนินการจัดหาตามวิถีทางของพัสดุได้เลย นั่นคือใช้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ. ศ. 2560 ข้อ 79 ได้ เพราะตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายของกระทรวงการคลังในการจ่ายเงินทดรองในกรณีที่เกิดอุบัติภัย ปี 63 นั้นสามารถเบิกจ่ายด้านซ่อมแซมที่อยู่อาศัยได้ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่ไม่เกิน 49,500 บาท และนอกจากนั้นก็ยังสามารถช่วยเหลืออย่างอื่นได้ซึ่งปรากฏในข้อ 5.1 ข้อ 5.7 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือในด้านการดำรงชีพและด้านอื่นอยู่แล้ว.....
อำนาจนายก หรืออำนาจคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนฯ ช่วยเหลือด้านใดได้บ้าง
เรื่องใดจ่ายงบกลางสำรองจ่าย
เรื่องใดจ่ายจากงบประมาณตามข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ ปกติ
มีคำถามว่าในการช่วยเหลือประชาชน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เรื่องใดต้องผ่านคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน เรื่องใดเป็นอำนาจนายก
แนวทาง.....
เป็นอำนาจนายก ที่สามารถใช้งบกลาง ประเภท สำรองจ่าย ได้เลย ในกรณีเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะมีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือไม่ก็ตาม สามารถดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้น โดยฉับพลันทันที ในด้าน
1) เพื่อการดำรงชีพ หรือ...
2) บรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า หรือ...
3) ระงับสาธารณภัย หรือ.....
4) เพื่อคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน หรือ...
5) ป้องกันภยันตรายที่จะเกิดแก่ประชาชน
ทั้งนี้ สามารถได้ตามความจำเป็น ภายใต้ขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องเสนอคณะกรรมการพิจารณา (ระเบียบข้อ 6 วรรคหนึ่ง)
ส่วนในเรื่องการใช้งบประมาณนั้น
..........เป็นอำนาจนายกใช้งบกลางดำเนินการได้ตามระเบียบข้อ 18
ในส่วนที่ต้องผ่านคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน พิจารณานั้น จะต้องเป็นในกรณีการช่วยเหลือประชาชน
1) เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูหลังเกิดสาธารณภัย หรือ...
2) การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือ
3) การป้องกันและระงับโรคติดต่อ หรือ...
4) การช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย
ดังนั้น ให้เสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน (ระเบียบข้อ 6 วรรคสอง)
ส่วนการใช้งบโดยผ่านคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน เบิกจ่ายในงบประมาณที่ตั้งไว้ในข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ตามแผนงานและวิธีงบประมาณที่กำหนดไว้ ทั้งนี้พิจารณาตามระเบียบข้อ 17
กรณีไฟไหม้บ้านหลังเดียวนี้นั้น ให้ถือเป็นการช่วยเหลือตามหมวด 4 เป็นการให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ที่กำหนดไว้ในข้อ 12 การให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากกรณีการช่วยเหลือด้านสาธารณภัยฉุกเฉิน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศให้ประชาชนที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือ ยื่นลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอคณะกรรมการตามข้อ 9
ในกรณีเกิดอัคคีภัยที่ไม่เข้าข่ายภัยพิบัติ ในการช่วยเหลือประชาชน ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามระเบียบนี้ที่จะพิจารณาการให้ความช่วยเหลือตามความจําเป็น เหมาะสม ทั้งนี้ไม่เกินอัตราตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกําหนด
ส่วนขั้นตอนกระบวนการในการช่วยเหลือนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบข้อ 9 ที่กำหนดไว้ดังนี้
ให้คณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
(1)ให้นํารายชื่อของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนที่สํารวจโดยหน่วยงานของรัฐและรายชื่อ
ประชาชนที่ยื่นลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามข้อ 12 และสถานที่กลาง ตามข้อ 19 มาใช้ในการพิจารณาช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบนี้
(2) ปิดประกาศรายชื่อประชาชนตาม (1) ที่จะได้รับความช่วยเหลือ ณ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานที่กลาง และที่ทําการหมู่บ้าน ชุมชนให้ทราบ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
(3) รายงานผลการพิจารณาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ต่อไป
(4) ควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป็นธรรม
(5) การปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้

อ้างอิง......
1) ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560
2) ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
3) หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563
————————————->>>>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น