วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2565

การเบิกจ่ายป้ายชื่อป้ายประชาสัมพันธ์และตรายางต่างๆ

 #การเบิกจ่ายป้ายชื่อป้ายประชาสัมพันธ์และตรายางต่างๆ

ถาม.......
การเบิกป้ายชื่อและตำแหน่งสำหรับติดโต๊ะทำงานของพนักงานแต่ละคน สามารถเบิกได้หรือไม่ เนื่องจากกองคลังได้แจ้งว่าเป็นวัสดุที่กระทรวงการคลังไม่อนุญาตให้เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน
ตอบ.......
กรณีดังกล่าว เป็นรายจ่ายไม่ใช้เพื่อการปฏิบัติงาน จึงไม่สามารถเบิกจ่ายได้
ถาม........
รบกวนสอบถามการจ้างเหมาจัดทำตรายาง ชื่อพร้อมตำแหน่ง - สามารถเบิกจ่ายในหมวดวัสดุสำนักงานได้หรือไม่ - หรือต้องเบิกในหมวดค่าใช้สอย
ขอบคุณ
ตอบ......
สามารถเบิกได้ในหมวดค่าวัสดุสำนักงาน
ถาม...
ป้ายประชาสัมพันธ์งานเทศกาล มีรูปผู้บริหารหน่วยงานได้ไหม ?!
แน่นอนว่า... การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐนั้น ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง และต้องปฏิบัติหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบหรือหนังสือ
สั่งการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด !
หลาย ๆ ท่าน คงเคยเห็นภาพประชาสัมพันธ์งานเทศกาลต่าง ๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง ที่หน่วยงานของรัฐจะมีการจัดทำป้ายหรือไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงานหรือจัดกิจกรรมดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบ และบางครั้งก็อาจมีภาพผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปรากฏอยู่ในแผ่นป้ายดังกล่าวด้วย
การจัดทำป้ายลักษณะการทำนองนี้ จะทำได้หรือไม่ เพียงใด ?
วันนี้ผู้เขียนมีตัวอย่างคดีที่พิพาทกันในประเด็นดังกล่าว ซึ่งได้เข้าสู่การพิจารณาของศาลปกครองมาเล่าเป็นแนวทางในการพิจารณาจัดทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์งานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐกันค่ะ
เรื่องมีอยู่ว่า... สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบพบว่ามีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโดยไม่ชอบด้วยระเบียบหรือหนังสือสั่งการ กรณีการจ้างทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์จำนวน 3 ผืน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่ง ตามโครงการจัดงานประเพณีสงกรานต์และกราบไหว้ผู้สูงอายุ โดยในป้ายดังกล่าวมีข้อความที่เป็นสโลแกนหรือคำขวัญที่สื่อถึงการให้บริการที่ดีและการสืบสานปีใหม่ไทย พร้อมทั้งมีชื่อ ตำแหน่ง และรูปภาพของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสวมเสื้อลายดอกปรากฏอยู่ในป้าย อันถือเป็นการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล ซึ่งต้องห้ามตามหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย เป็นเหตุให้ราชการเสียหายและต้องรับผิดทางละเมิดชดใช้เงินคืนแก่ทางราชการ
ทั้งนี้ หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ซักซ้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปในลักษณะที่ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างจริงจัง ไม่สมควรตั้งงบประมาณในลักษณะฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น หรือเป็นการตั้งงบประมาณในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล
จากการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินดังกล่าวนำไปสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และสุดท้ายองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มีคำสั่งเรียกให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการจัดทำป้ายไวนิลที่พิพาท นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้อุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้วินิจฉัยยืนตามเดิม
จึงนำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าการที่ปรากฏข้อความคำขวัญและมีคำว่าสืบสานปีใหม่ไทย พร้อมกับมีรูปภาพและชื่อตำแหน่งของตนในแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าตนเจตนากระทำในฐานะตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อสืบสานประเพณีไทยในฐานะเป็นตัวแทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมิใช่การประชาสัมพันธ์ส่วนตัว อีกทั้งยังมิใช่ช่วงเทศกาลหาเสียงเลือกตั้งแต่อย่างใด
เหตุผลของผู้ฟ้องคดีจะมีน้ำหนักเพียงพอแก่การรับฟังหรือไม่ มาดูคำวินิจฉัยของศาลปกครองที่ได้วางบรรทัดฐานไว้แล้วกันค่ะ
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยโดยมีสาระสำคัญว่า พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ให้อำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัดดำเนินกิจการในการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดกิจกรรมดังกล่าวจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
MGR OnlineThailand Web Stat
MGR Online
ครบเครื่องคดีปกครอง
LiteVersion
หน้าหลัก อาชญากรรม ครบเครื่องคดีปกครอง
ป้ายประชาสัมพันธ์งานเทศกาล มีรูปผู้บริหารหน่วยงานได้ไหม ?!
เผยแพร่: 1 ก.พ. 2562 11:11 โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม
แน่นอนว่า... การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐนั้น ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง และต้องปฏิบัติหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบหรือหนังสือ
สั่งการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด !
หลาย ๆ ท่าน คงเคยเห็นภาพประชาสัมพันธ์งานเทศกาลต่าง ๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง ที่หน่วยงานของรัฐจะมีการจัดทำป้ายหรือไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงานหรือจัดกิจกรรมดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบ และบางครั้งก็อาจมีภาพผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปรากฏอยู่ในแผ่นป้ายดังกล่าวด้วย
การจัดทำป้ายลักษณะการทำนองนี้ จะทำได้หรือไม่ เพียงใด ?
วันนี้ผู้เขียนมีตัวอย่างคดีที่พิพาทกันในประเด็นดังกล่าว ซึ่งได้เข้าสู่การพิจารณาของศาลปกครองมาเล่าเป็นแนวทางในการพิจารณาจัดทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์งานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐกันค่ะ
เรื่องมีอยู่ว่า... สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบพบว่ามีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโดยไม่ชอบด้วยระเบียบหรือหนังสือสั่งการ กรณีการจ้างทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์จำนวน 3 ผืน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่ง ตามโครงการจัดงานประเพณีสงกรานต์และกราบไหว้ผู้สูงอายุ โดยในป้ายดังกล่าวมีข้อความที่เป็นสโลแกนหรือคำขวัญที่สื่อถึงการให้บริการที่ดีและการสืบสานปีใหม่ไทย พร้อมทั้งมีชื่อ ตำแหน่ง และรูปภาพของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสวมเสื้อลายดอกปรากฏอยู่ในป้าย อันถือเป็นการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล ซึ่งต้องห้ามตามหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย เป็นเหตุให้ราชการเสียหายและต้องรับผิดทางละเมิดชดใช้เงินคืนแก่ทางราชการ
ทั้งนี้ หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ซักซ้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปในลักษณะที่ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างจริงจัง ไม่สมควรตั้งงบประมาณในลักษณะฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น หรือเป็นการตั้งงบประมาณในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล
จากการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินดังกล่าวนำไปสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และสุดท้ายองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มีคำสั่งเรียกให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการจัดทำป้ายไวนิลที่พิพาท นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้อุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้วินิจฉัยยืนตามเดิม
จึงนำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าการที่ปรากฏข้อความคำขวัญและมีคำว่าสืบสานปีใหม่ไทย พร้อมกับมีรูปภาพและชื่อตำแหน่งของตนในแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าตนเจตนากระทำในฐานะตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อสืบสานประเพณีไทยในฐานะเป็นตัวแทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมิใช่การประชาสัมพันธ์ส่วนตัว อีกทั้งยังมิใช่ช่วงเทศกาลหาเสียงเลือกตั้งแต่อย่างใด
เหตุผลของผู้ฟ้องคดีจะมีน้ำหนักเพียงพอแก่การรับฟังหรือไม่ มาดูคำวินิจฉัยของศาลปกครองที่ได้วางบรรทัดฐานไว้แล้วกันค่ะ
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยโดยมีสาระสำคัญว่า พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ให้อำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัดดำเนินกิจการในการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดกิจกรรมดังกล่าวจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมในประเพณีสงกรานต์ ซึ่งปรากฏข้อความเกี่ยวกับการบริการที่ดีและคำว่าสืบสานปีใหม่ไทย โดยมีเพียงภาพ ชื่อและตำแหน่งของผู้ฟ้องคดีเท่านั้น โดยไม่มีข้อความที่แสดงถึงรูปแบบของการจัดงาน กำหนดระยะเวลาการจัดงาน และภาพที่ลงมีเพียงรูปของ
ผู้ฟ้องคดี โดยไม่มีภาพของกิจกรรมที่สามารถสื่อหรือบ่งบอกให้เห็นถึงกิจกรรมโครงการจัดงานประเพณีสงกรานต์ จึงไม่อาจถือว่าเป็นกิจการภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และขัดต่อหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยที่มิให้ใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะที่เป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนตัว
ผู้ฟ้องคดีจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงคือค่าจ้างจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ดังกล่าว คำสั่งที่พิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 185/2559)
คดีนี้ จะเห็นได้ว่าศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยโดยชี้ให้เห็นถึงลักษณะขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏในป้ายที่พิพาท ที่แสดงออกมาให้เห็นถึงความมุ่งหมายของการประชาสัมพันธ์ ว่าต้องการสื่อสารกิจกรรมของหน่วยงานอย่างแท้จริง หรือมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่งในคดีที่พิพาทนี้ องค์ประกอบของป้ายมุ่งเน้นไปที่การประชาสัมพันธ์ส่วนตัวมากกว่าการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของงานตามโครงการประเพณีสงกรานต์ เนื่องจากป้ายมิได้ปรากฏรูปแบบการจัดงาน วันเวลาที่จัด หรือภาพที่สื่อถึงกิจกรรมที่จัดงาน จึงถือเป็นการใช้งบประมาณเพื่อการประชาสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่งไม่อาจกระทำได้ตามหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยดังที่กล่าวไปแล้ว...นั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ ศาลปกครองสูงสุดยังได้เคยวินิจฉัยไว้ในกรณีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำหนังสือเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนและคู่มือประชาชนในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อเพื่อแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนและสถานศึกษา โดยปรากฏรูปภาพพร้อมชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบนปกหน้าและสารจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบนปกหลัง อันถือเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนตัวเช่นกัน และยังมีกรณีที่ผู้ตรวจรับงานต้องรับผิดทางละเมิดด้วย เช่น กรรมการตรวจรับพัสดุมีส่วนที่ต้องรับผิดจากการที่ตรวจรับปฏิทินประจำปีของเทศบาล โดยปรากฏภาพถ่ายของนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลในปฏิทิน (อ. 770/2560) และกรณีกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับหนังสือและสื่อการเรียนการสอนของโรงเรียนโดยลงรูปภาพและชื่อ/ตำแหน่งของผู้บริหารและสมาชิกขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อ. 657/2560) เป็นต้น
เรื่องที่นำเสนอในวันนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐที่ต้องยึดถือระเบียบและหนังสือสั่งการที่ใช้บังคับกับหน่วยงานของตนอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญการใช้จ่ายเงินของรัฐจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของราชการและประชาชน มิอาจแฝงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่วนตัวได้ ฉะนั้นผู้มีอำนาจหน้าที่ หากจะดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของรัฐ ขอฝากอุทาหรณ์เรื่องนี้ไว้พิจารณาด้วยนะคะ !!
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสามารถศึกษาอุทาหรณ์เรื่องอื่น ๆเพิ่มเติมได้ที่ www.admincourt.go.th)
ป. ธรรมศลีญ์
คัดลอกมาเฟซบุ๊ก

วราภรณ์ แสงชา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

📕 ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞

  #หนังสือดีบอกครูต่อ E-Book ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞ โดย รศ.ดร.วันทนา เนาว์วัน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ...