สรุป PS 703 สถานการณ์การเมืองโลก
วิชา PS 703 มีวัตถุประสงค์หลักคือ
1.ให้นักศึกษาเข้าใจสถานการณ์โลกหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ
2.นักศึกษารู้จักและเข้าทฤษฎีในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.สามารถนำทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศได้
ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจคือ
1.ภาพรวมของสถานการณ์โลก หรือภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2.ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.จุดเน้นของแต่ละอาจารย์ ดังนี้
3.1 อ.ศิโรฒม์ เน้นเรื่องปัญหาในการควบคุมนิวเคลียร์
3.2 อ.ทิพรัตน์ เน้นเรื่องโลกาภิวัตน์
3.3 อ.วราภรณ์ เน้นทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.4 อ.เบญจมาส นำเสนอ 2 ประเด็นหลักคือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบทบาทของตัวแสดงภายใต้ระบบ ระบอบ และระเบียบโลก
3.5 อ.การุณยลักษณ์ เน้นเรื่องปัญหาใหม่ๆของโลก อันส่งผลต่อปัญหาความมั่นคงของโลกที่เรียกว่าปัญหาความมั่นคงใหม่
ภาพรวมของสถานการณ์โลก
เวลานักศึกษามองสถานการณ์หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ จะต้องมองให้ออกว่าเหตุการณ์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะ มี 2 ด้านเท่านั้น คือ
1.ความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Cooperation) ซึ่งแบ่งเป็น
-ความร่วมมือทางด้านการเมือง
-ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ
2.ความขัดแย้งระหว่างประเทศ (International Conflict ) แบ่งเป็น
-ความขัดแย้งทางการเมือง
-ความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ
เวลาเลือกทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ นักศึกษาต้องเลือกให้เหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
อาจารย์ที่สอนทฤษฎีหลักๆแล้วจะมี 2 ท่านคือ อาจารย์วราภรณ์ และอาจารย์เบ็ญจมาส แต่รูปแบบการเสนอทฤษฎีจะแตกต่างกัน (แต่หลักการของทฤษฎีจะเหมือนกัน)
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ตามแนวทางอาจารย์เบ็ญจมาส)
อาจารย์เบ็ญแบ่งทฤษฎีออกเป็นสำนักคือ
1.สำนักสัจนิยม (Realism) เน้นวิเคราะห์ความร่วมมือและความขัดแย้งด้านการเมืองการทหาร
2.สำนักเสรีนิยม (Liberalism) เน้นวิเคราะห์ความร่วมมือ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
3.สำนักโครงสร้างนิยม (Structuralism) เน้นวิเคราะห์ความขัดแย้ง
4.สำนักสร้างนิยม (Constructivism) หรือสำนักประดิษฐกรรมนิยม )
แนวคิดสำคัญๆของแต่ละสำนัก มีดังนี้
1.สำนักสัจนิยม (Realism) เป็นสำนักที่เน้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและการทหาร
สัจจะนิยมแบ่งออกเป็น
1.1 สัจนิยมแบบดั้งเดิม (Classical Realism) หัวใจของสัจนิยมแบบดั้งเดิมคือ
1.เน้นเรื่องอำนาจและมองว่ารัฐเป็นตัวแสดงที่สำคัญ
2.เน้นผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) ซึ่งหมายถึง สิ่งที่รัฐต้องการ จำเป็นและปราถนา และเป็นสิ่งที่อยู่ในดินแดนอื่นๆ เช่น
-ทรัพยากรธรรมชาติ
-สินค้าการบริการและตลาดการค้า ตลาดการลงทุน
-เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์
-เงินทุน พลังงาน
-ความมั่งคั่ง การกินดีอยู่ดี
สุดท้ายที่สำนักนี้ให้ความสำคัญมากคือความมั่นคงปลอดภัย สัจนิยมมองว่ารัฐจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคงปลอดภัย
3.เน้นการถ่วงดุลอำนาจ สำนักสัจนิยมมองว่ารัฐแต่ละรัฐพยายามถ่วงดุลอาจกับรัฐตรงกันข้าม เช่นสร้างกำลังทหารให้เทียบเคียงได้กับฝ่ายตรงกันข้าม
สำนักสัจนิยมเก่าจึงเชื่อว่าสงครามและความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้นหากมีการถ่วงดุลอำนาจ
1.2 สัจนิยมแนวใหม่ (Neo-realism) มีแนวคิดที่สำคัญคือ
1.มองว่าปรากฎการณ์ระหว่างประเทศเกิดจากโครงสร้างของระบบระหว่างประเทศ
2.มองว่าสังคมระหว่างประเทศมีลักษณะอนาธิปไตย คือมองว่าไม่มีกฎเกณฑ์หรือองค์กรใดๆที่จะมีอำนาจในการควบคุมรัฐได้ ทำให้รัฐต้องช่วยเหลือตนเอง และแสวงหาอำนาจ เกียรติยศ และความได้เปรียบเหนือรัฐอื่น
3.เน้นดุลแห่งความหวาดกลัว (Balance of Terror) สัจนิยมแนวใหม่มองว่าดุลแห่งความหวาด (ต่างจากสัจจะนิยมแนวเก่าที่เน้นดุลแห่งอำนาจ) มองว่าดุลแห่งความหวาดกลัวจะช่วยไม่ให้เกิดความรุนแรง และยับยั้งไม่ให้เกิดสงคราม
4.เชื่อว่าประเทศต่างๆต้องเตรียมพร้อมทางการทหารอยู่ตลอดเวลาเพื่อการป้องปราม (Deterrence) หรือเพื่อยับยั้งให้ไม่ถูกโจมตี เช่นเวลานี้ จีน เกาหลีเหนือ อิหร่านก็พยายามเตรียมพร้อมทางการทหาร
2. สำนักเสรีนิยม (Liberalism) มีสองแนวคือ
2.1 สำนักเสรีนิยม (Liberalism)
2.2 สำนักเสรีนิยมแนวใหม่ (Neo-liberalism)
แต่โลกปัจจุบันจะอยู่ในยุคเสรีนิยมใหม่ซึ่งมีแนวคิดที่สำคัญคือ
1.เน้นการสร้างสถาบันและองค์การระหว่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ในการสร้างความร่วมมือและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ
2.เน้นการสร้างสันติภาพ คือมองว่าหากมีความร่วมมือระหว่างประเทศจะก่อให้เกิดสันติภาพ
3.เน้นให้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
4.เน้นการสร้างประชาธิปไตย เพราะมองว่าหากทุกประเทศเป็นประชาธิปไตยโลกก็จะมีสันติภาพ ตามทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย (Democratic Peace Theory) ที่มองว่าสงครามมักไม่เกิดขึ้นกับประเทศที่ปกครองประชาธิปไตย
5.เน้นการประสานความร่วมมือและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Interdependence) เพื่อให้บรรลุถึงความจำเป็นของมวลมนุษย์ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกเกิดปัญหาใหม่
6.เน้นความมั่นคงปลอดภัยร่วมกัน (Collective Security) โดยร่วมมือกันอาจจะมีกองกำลังร่วมกัน เช่นกองกำลังขององค์การระหว่างประเทศ
7.เน้นเรื่องระเบียบโลก
3.สำนักโครงสร้างนิยม (Structuralism) จะเน้นที่บอกว่าโครงสร้างที่เป็นอยู่ในเวลานี้เป็นโครงสร้างของโลกทุนนิยม เป็นโครงสร้างที่เอารัดเอาเปรียบ กอบโกยผลประโยชน์จากประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะเข้ามากอบโดยทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ แรงงาน โดยไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อประเทศกำลังพัฒนา ขณะเดียวกันเมื่อประเทศด้อยพัฒนาและกำลังส่งสินค้าเข้าไปในประเทศกำลังพัฒนาก็จะถูกขีดกันทางการค้าด้วยมาตรการต่างๆ
ผลที่เกิดขึ้นคือการทำให้ประเทศกำลังพัฒนาด้อยพัฒนาตลอดกาล ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้
**ทฤษฎีในสำนักนี้เน้นการวิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ว่าการเอารัดเอาเปรียบที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง**สำนักนี้จึงเป็นพวกซ้ายหรือพวกคอมมิวนิสต์
4.สำนักสร้างนิยม (Constructivism) (อาจารย์เบ็ญไม่สอน)
ทฤษฎีตามการนำเสนอของอาจารย์วราภรณ์
1.สำนักสัจนิยม นักคิดในสำนักนี้ เช่น ฮันจ์ เจ.มอร์เกนทอร์ โทมัสฮอบ แนวคิดนี้สนใจเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ของรัฐ
2.สำนักเสรีนิยม
3.สำนักอุดมคตินิยม
ถ้าเป็นอาจารย์เบ็ญจมาสจะเอา 2 สำนักนี้มารวมกันอยู่ในเสรีนิยม แต่อาจารย์วราภรณ์แยกความแตกต่างตรงที่เสรีนิยมเน้นเรื่องของเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่วนอุดมคตินิยมเน้นในเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวกันเป็นองค์การระหว่างประเทศ
4.สำนักประดิษฐกรรมนิยม (Constructivism) (ขอลงรายละเอียดในสำนักนี้เพราะสำนักอื่นพูดถึงแนวคิดหลักๆไปแล้ว)
สำนักประดิษฐกรรมนิยม (Constructivism)
สำนักประดิษฐกรรมนิยมกำเนิดในต้นทศวรรษที่ 1990s โดยมีความเชื่อว่าแนวคิดโลกที่มีความเชื่อหลากหลายจะเกิดความวุ่นวาย
นักคิดประดิษฐกรรมนิยมจึงวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศโดยมองไปที่ภัยคุกคาม ความกลัว
อเล็กซานเดอร์ เวนท์ ได้ประยุกต์แนวคิดของนักประดิษฐกรรมนิยมมาอธิบายการเมืองโลกว่า ระบบระหว่างประเทศเป็นสังคมที่ถูกสร้างขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้น โดยสิ่งที่สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจะเป็นเรื่อง ค่านิยม คุณค่า ความเชื่อ วัฒนธรรม
เช่นอเมริกามีค่านิยม และความเชื่อ ในเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยชาติ ดังนั้นสหรัฐจึงดำเนินนโยบายทุกอย่างเพื่อรักษาหรือสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในโลก (จนก่อให้เกิดความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศ)
เวนท์ยังเชื่อว่าโครงสร้างสังคมโลกมีลักษณะ 2 ประการ คือ
1.ความหวาดระแวงด้านความมั่นคง (Security Dilemma) เกิดจากภาวะอนาธิปไตย (ภาวะที่ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร ทุกประเทศต่างมีอธิปไตยของตนเอง) ซึ่งรัฐต่างๆสร้างขึ้นมาทำให้เกิดความหวาดระแวง สิ่งนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ในแบบขัดแย้งได้ง่าย)
2.ความเป็นชุมชน/ประชาคมที่มั่นคง (Security Community) นานารัฐต่างเข้าใจร่วมกันว่าสามารถจะร่วมมือ ประนีประนอม ไว้ใจ และไว้ใจกันได้ โดยรัฐเชื่อว่าความร่วมมือกันจะทำให้เกิดสันติภาพ
ทั้งนี้สำนักประดิษฐกรรม จะเน้นการศึกษาความเห็นและจุดยืนของมนุษย์ในการมองการเมืองโลก โดยมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดจากความคิด ความเห็น ความเข้าใจ และมุมมองของมนุษย์ซึ่งมีไม่เหมือนกัน
เช่นโลกทุกวันนี้มีความคิดเกี่ยวกับทุนนิยมต่างกัน ขณะโลกตะวันตกมองว่าทุนนิยมทำให้เกิดความก้าวหน้า เกิดความมั่งคั่ง ความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ชาติ แต่โลกตะวันออกโดยเฉพาะโลกมุสลิมมองว่าทุนนิยมคือการเอารัดเอาเปรียบ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ศูนย์กลางทุนนิยมเอาเปรียบ เกิดการทำลายวัฒนธรรมของมุสลิมสุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นคือโลกก็คือความขัดแย้ง จนทำให้มีการก่อการร้ายขึ้นมาในโลก
******
แม้ว่าในปัจจุบันแนวคิดของทุกสำนักจะยังถูกใช้มาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความนิยมในแนวคิดแต่ละสำนักในแต่ละช่วงเวลาจะแตกต่างกัน พัฒนาการ (แบบกว้างๆ) ของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ที่ครอบงำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแต่ละช่วงได้ ดังนี้
ในระยะแรกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวคิดที่นำมาใช้ในการอธิบายเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศมักจะเป็นแนวคิดของ สำนักสัจนิยม เนื่องจากในยุคก่อนนั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักเป็นเรื่องทางการเมือง และการทหาร การทำสงคราม ส่วนในทางเศรษฐกิจการค้าก็จะเป็นไปในลักษณะของการปกป้องทางการค้า
ต่อมาได้เกิดแนวคิดของ สำนักเสรีนิยม ที่ไม่เห็นด้วยกับการปกป้องทางการค้าจึงนำเสนอว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศควรจะเปิดกว้าง ให้มีการค้าเสรี ลดอุปสรรคทางการค้า การแข่งขันทางการค้า (ทำให้เกิดลัทธิทุนนิยมในทางเศรษฐกิจที่เน้นว่ารัฐไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ) ในทางการเมืองก็จะเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศเน้นความเป็นประชาธิปไตย
สำนักเสรีนิยมเฟื่องฟูมากจนกระทั่งถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ขณะที่ในทางการเมืองและสังคมเกิดภาวะของความไม่เท่าเทียมกันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทำให้แนวคิดของ สำนักโครงสร้างนิยม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ได้รับการยอมรับ
แนวคิดของโครงสร้างนิยมมีผลทำให้หลายประเทศหันมามาใช้ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่เน้นให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่วนในประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศก็หันมาใช้ระบบรัฐสวัสดิการ
ต่อมาแนวคิดแบบสำนักโครงสร้างนิยมที่นำมาใช้อย่างมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้สร้างปัญหา โดยเฉพาะการจัดการทางเศรษฐกิจตามแบของสังคมนิยมทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพ ประเทศสังคมนิยมส่วนใหญ่มีความยากจน ด้อยพัฒนา
ในทศวรรษที่ 1980 จึงมีการนำเอาแนวคิดของสำนักเสรีนิยมกลับมาใช้อีกครั้ง คราวนี้เรียกว่า เสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) ถือเป็นแนวคิดที่ครอบงำโลกทั้งโลกในเวลานี้
ในทศวรรษที่ 1990 ได้เกิดสำนักคิดใหม่ที่เรียกว่า Constructivism หรือสำนักสร้าง/ประดิษฐกรรมนิยม ที่เน้นมองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่ามีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเรื่องอัตลักษณ์ ความเชื่อ ศาสนา เชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ถูกสร้างขึ้นมา
(ถ้าจะว่าไปแล้ว Constructivism ก็น่าจะเป็นแนวคิดในยุคหลังสมัยใหม่หรือ Post Modern)
จากสำนักคิดต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วจะมีทฤษฎีที่อยู่ภายใต้แต่ละสำนัก ซึ่งจะขอนำเสนอเฉพาะที่อาจารย์สอนดังนี้
ตัวอย่างทฤษฎี
ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1.ทฤษฎีพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ (Interdependence Theory)
วิชาการที่โดดเด่นคือโรเบิร์ต โอ. เคียวเฮน และโจเซฟ เอช. ไน ซึ่งป็นบิดาของทฤษฎีพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เคียวเฮนและไน กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันมีลักษณะการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่นการพึ่งพาสินค้า พึ่งพาการลงทุน พึ่งพาเทคโนโลยี พึ่งพาทรัพยากรต่างๆ และความสัมพันธ์ในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ระหว่างประเทศขึ้น แม้ว่าการพึ่งพาอาจจะเป็นไปในลักษณะที่ไม่เท่าเทียมกัน แต่โลกทั้งโลกก็ต้องพึ่งพาอาศัยกัน
ทฤษฎีนี้สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจ
2.ทฤษฎีบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (International Integration Theory) **อาจารย์ทิพรัตน์เน้น**
เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนให้ประเทศต่างๆมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความร่วมมือในทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังจะเห็นจากทั่วโลกได้เกิดการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆมากมาย
ทฤษฎีบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีนักวิชาการนำเสนอหลายคนแต่ที่มีชื่อเสียงคือทฤษฎีการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของ Bela Balassa (เบลา บาลาสซา) เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายการบูรณาการของยุโรป ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
บาลาสซ่าเสนอว่าขั้นตอนของการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมี 5 ขั้นตอน ได้แก่
1.ความร่วมมือจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area / Agreement: FTA) หมายถึง การร่วมมือกันของประเทศสมาชิกในภูมิภาคเพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้า ยกเลิกภาษีทางการค้าระหว่างกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก โดยประเทศสมาชิกยังจัดเก็บภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มได้ตามนโยบายของตนเอง
เวลานี้การรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียนยังอยู่ในขั้นตอนนี้คือการจัดเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
2.สหภาพศุลกากร (Custom Union) หมายถึง ประเทศสมาชิกนอกจากจะยกเลิกภาษีทางการค้าลดอุปสรรคระหว่างกันแล้วยังใช้ระบบภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน หรือมี Common Custom Policy
3. ตลาดร่วม (Common Market) หมายถึง การขยายความร่วมมือด้านการค้าถึงขนาดที่เปิดโอกาสให้ทุน แรงงาน การประกอบการเคลื่อนไหวอย่างเสรีภายในกลุ่ม เช่นแรงงานในเยอรมันไปทำงานในฝรั่งเศส ในอังกฤษ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ ได้อย่างเสรี
4. สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union) เป็นการรวมตัวกันตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 + 2 + 3 รวมกับการกำหนดนโยบายสังคม เศรษฐกิจ การเงิน การคลังร่วมกัน
5. สหภาพการเมือง (Political Union) ถือเป็นจุดสุดท้ายของการบูรณาการทางเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้นโยบายการเมืองและความมั่นคงอันเดียวกัน เช่นเดียวกับ United States of America ขั้นตอนนี้ยังคงเป็นไปได้ยากเพราะรัฐต่าง ๆ ยังอยากสงวนอำนาจอธิปไตยในการกำหนดนโยบายการเมืองและความมั่นคงของตนเองอยู่
(ทฤษฎีนี้เหมาะสำหรับไปใช้อธิบายความร่วมมือในทางเศรษฐกิจแบบกลุ่มประเทศ เช่นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของอาเซียน อียู หรือกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆของโลก)
ทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความร่วมมือทางการเมือง
1.ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ (Balance of Bower) เป็นทฤษฎีที่บอกว่าโลกจะไม่เกิดปัญหาความรุนแรง ไม่มีสงคราม หากมีความได้ดุลในอำนาจของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างต้องกลัวอำนาจของอีกฝ่าย
เช่นรัสเซียก็พยายามสร้างดุลอำนาจกับสหรัฐอเมริกา หรือในยุคของสงครามเย็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็พยายามรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างดุลอำนาจกับฝ่ายโลกเสรี
ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
1.ทฤษฎีพึ่งพิง (Dependency Theory) จะมองว่าในโลกนี้จะแบ่งรัฐออก รัฐแกนกลาง (Core) ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้วกับรัฐปริมณฑล (Periphery) ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่รัฐแกนกลางได้เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ด้านต่างๆ จากประเทศปริมณฑล ส่งผลให้ประเทศปริมณฑลต้องด้อยพัฒนา ไม่มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง
2.ทฤษฎีระบบโลก (World System Theory) บิดาของทฤษฎีนี้คือเอ็มมานูเอล วอลเลอร์ไสตน์
ทฤษฎีระบบโลกก็จะเน้นการอธิบายความขัดแย้ง (ทำให้กลายเป็นจุดอ่อนเพราะไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ความร่วมมือที่เกิดขึ้นได้ เช่นทำมี WTO ทำไม่มีการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค)
สาระสำคัญของทฤษฎีระบบโลกมองว่าประเทศต่าง ๆ ในโลกแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ
-ประเทศศูนย์กลาง (Core) ได้แก่ประเทศที่พัฒนาแล้ว สหรัฐฯ และยุโรปตะวันตก แคนาดา
-ประเทศกึ่งปริมณฑล (Semi-periphery) ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs) คือเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน บราซิล เม็กซิโก อาเจนตินาร์
-ประเทศปริมณฑล (Periphery) ได้แก่ ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายทั้งในเชียและอัฟริกา
ทฤษฎีระบบโลกกล่าวว่า ประเทศศูนย์กลางจะกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศรอบนอกและกึ่งรอบนอก รวมทั้งยังกีดกันทางการค้าจากประเทศรอบนอกและกึ่งรอบนอกโดยมาตรการต่างๆ
ส่วนประเทศกึ่งรอบนอกจะทำหน้าที่สองอย่างคือถูกกอบโกยจากประเทศศูนย์กลาง และในเวลาเดียวกันก็เข้าไปกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศรอบนอกด้วย รวมทั้งกีดกันทางการค้าไม่ให้สินค้าจากประเทศรอบนอกเข้าไปในตลาด ทำให้ประเทศรอบนอกเป็นผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุด ยิ่งทำให้ประเทศรอบนอกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่มีโอกาสพัฒนาขึ้นมาได้เลย สุดท้ายก็จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง
3.แนวคิดพาณิชยนิยม (Mercantilism) เป็นทฤษฎีที่บอกว่ารัฐแต่ละรัฐจะสร้างความมั่งคั่งของตนเองด้วยการพยายามส่งออกให้มากที่สุดแต่นำเข้าให้น้อยที่สุด เป็นแนวคิดการปกป้องทางการค้า (Protectionism) ในปัจจุบันแนวคิดนี้ถูกเรียกว่าการปกป้องแบบใหม่ (New Protectionism) เนื่องจากเครื่องมือที่ประเทศต่างนำมาใช้ในการปกป้องทางการค้าจะมีการพัฒนารูปแบบไปจากเดิมที่ใช้มาตรการทางภาษี (Tariff Barrier) ด้วยการตั้งภาษีนำเข้าแพงๆ มาเป็นมาตรการแบบใหม่ เช่น
-มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
-มาตรการด้านแรงงาน
-มาตรการด้านสิทธิมนุษยชน
-มาตรการด้านคุณภาพสินค้า
เป็นต้น (มีอีกหลายมาตรการ)
เราจะพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะอ้างเหตุผลเหล่านี้เพื่อกีดกันการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา
ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมือง
1.แนวคิดการครองความเป็นเจ้า (Hegemony) เช่นสหรัฐที่พยายามครองความเป็นเจ้าจึงต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทุกประเทศในโลก โดยใช้เครื่องมือทุกอย่างเพื่อให้ตนเองครองความเป็นเจ้าโลก
ตารางสรุปสำนักคิดและทฤษฎีในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สัจนิยม เสรีนิยม โครงสร้างนิยม ประดิษฐกรรมนิยม
-ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ
-แนวคิดพาณิชย์นิยม
-ทฤษฎีครองความเป็นเจ้า -ทฤษฎีบูรณาการระหว่างประเทศ
-ทฤษฎีพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน -ทฤษฎีพึ่งพิง
-ทฤษฎีระบบโลก -แนวคิดหลังสมัยใหม่
จุดเน้นของแต่ละอาจารย์
1.อาจารย์เบ็ญจมาส
อาจารย์เบ็ญเน้นให้นักศึกษาวิเคราะห์ระบบระหว่างประเทศในปัจจุบัน
การที่จะเข้าใจระบบระหว่างประเทศในปัจจุบัน นักศึกษาต้องทำความเข้าใจกับ คำ 3 คำเสียก่อนคือ
1.ระบบระหว่างประเทศ หมายถึง การกระทำ ซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ
2.ระบอบระหว่างประเทศ หมายถึงกฎเกณฑ์ หรือกฎหมายระหว่างประเทศ
3.ระเบียบระหว่างประเทศ หมายถึงตัวระเบียบใหญ่ เช่นระเบียบด้านการค้าเสรี ระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ระเบียบด้านการเงินระหว่างประเทศ ระเบียบด้านความมั่นคง
ทั้ง 3 ตัวจะมีความสัมพันธ์กัน คือระบบประเทศหรือการกระทำซึ่งกันและกันของตัวแสดงในระหว่างประเทศ จะเป็นอย่างไร จะต้องอยู่ภายใต้ระบอบระหว่างประเทศ และระเบียบระหว่างประเทศ
เช่น การเจรจาจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับจีน จะต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้ระเบียบการค้าของโลก ซึ่งในปัจจุบันคือระเบียบการค้าเสรี
ระบบระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ระบบระหว่างประเทศในปัจจุบันจะเป็นระบบที่เน้นด้านเศรษฐกิจ นั่นคือการกระทำซึ่งกันและกันของตัวแสดงระหว่างประเทศส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น เนื่องจากประเด็นด้านความมั่นคงและการเมืองเริ่มหมดความสัมพันธ์ลง ความขัดแย้งและความร่วมมือในระหว่างประเทศจึงมักจะเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจ
เวลาวิเคราะห์ระบบระหว่างประเทศในปัจจุบันจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของระบบระหว่างประเทศคือ
1.ในแง่ของตัวแสดงบทบาทระหว่างประเทศ (Actors) จะพบว่าในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันจะมีตัวแสดงที่หลากหลาย โดยตัวแสดงที่เป็นรัฐจะมีบทบาทน้อยลง แต่บทบาทในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะเน้นไปที่บรรษัทข้ามชาติและองค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ในทางเศรษฐกิจ เช่น WTO IMF และกลุ่มธนาคารโลก
ถ้าพิจารณาบทบาทขององค์การระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ 3 องค์การข้างต้นจะพบว่ามีการทำงานประสานกับบรรษัทข้ามชาติและรัฐมหาอำนาจ หรือกล่าวได้ว่าองค์การระหว่างประเทศเหล่านี้ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติโดยมีรัฐเป็นตัวกลาง
เช่นในตอนที่ไทยเราเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ IMF ก็เข้ามาทำหน้าที่แก้ไขปัญหาด้วยการให้เงินกู้และยื่นเงื่อนไขให้ไทยเราปฏิบัติหลายๆเงื่อนไข เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่จะเอื้อประโยชน์ต่อบรรษัทข้ามชาติของสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษารัฐบาลไทยในช่วงนั้น รวมทั้งบรรษัทที่มีโอกาสเข้าประมูลซื้อทรัพย์สินของปรส. ทั้งนี้เพราะ IMF มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลสหรัฐเนื่องจากสหรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ IMF
2.ในแง่ของโครงสร้าง ถ้าพิจารณาถึงระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันมองว่าเป็นระบบหลายขั้วอำนาจ (ต่างจากในระบบการเมืองระหว่างประเทศที่ยังคงเป็นระบบขั้วอำนาจขั้วเดียว)
ระบบหลายขั้วอำนาจ (Multi-polar) ในที่นี้หมายถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีอำนาจสูงสุด แต่ในทางเศรษฐกิจถือว่ามีขั้วอำนาจอื่นๆที่เข้ามาคานอำนาจกับสหรัฐไม่ว่าจะเป็นขั้วของอียู หรือญี่ปุ่น รวมทั่งจีนที่คาดว่าเติบโตขึ้นมาท้าทายอำนาจของสหรัฐในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ลักษณะของหลายขั้วอำนาจดังกล่าวทำให้บทบาทในการกำหนดความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับสหรัฐแต่เพียงลำพัง แต่หลังจากที่อียูมีความเข้มแข็ง และมีการนำเงินยูโรมาใช้บทบาทของเงินดอลลาร์ก็ลดลง ขณะที่สหรัฐเองเวลานี้ก็มีปัญหาทางเศรษฐกิจมากมายไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจตกต่ำ การเป็นหนี้จำนวนมหาศาล การขาดดุลทางการค้า ล้วนเป็นปัญหาที่ทำให้ความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐลดลง
3.ในแง่กระบวนการ พบว่าปัจจุบันในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะมีทั้งความร่วมมือและความขัดแย้ง ซึ่งผู้ตอบข้อนำเสนอกระบวนการสำคัญๆที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพียงบางประเด็นดังนี้
-กระแสที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการภายในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ก็คือกระแสการรวมตัวกันในระดับทวิภาคี (Bilateral Agreement) โดยเฉพาะความตกลงในการจัดทำการค้าเสรีแบบ 2 ฝ่าย ซึ่งเวลานี้ได้เกิดขึ้นทั่วโลก
ความร่วมมือดังกล่าวเกิดจากการเจรจาการค้าแบบหลายฝ่ายใน WTO มีความล่าช้า
-การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆต้องการสร้างอำนาจต่อรองให้มากขึ้น และหวังว่าการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจะช่วยให้เกิดการขยายตัวทางการค้าของกลุ่ม
-การกีดกันทางการค้า จะพบว่าในปัจจุบันประเทศต่างๆยังคงดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้า เช่นประเทศที่กำลังพัฒนาจะกีดกันการค้าสินค้าเกษตรจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการกีดกันทางการค้าจะอยู่ทั้งในรูปที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษี เช่นการให้การอุดหนุนเกษตรกรของตัวเอง การใช้มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการด้าน ISO และอื่น
ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาก็ดำเนินนโยบายในแบบเดียวกันเช่นการอุดหนุนผู้ผลิตภายใน
4.ในแง่สภาพแวดล้อมของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การที่ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีลักษณะข้างต้น เกิดจากสภาพแวดล้อมทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะช่วงสิ้นสุดสงครามเย็น ที่ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์หมดลงไปทำให้ประเทศต่างๆหันมาสร้างความร่วมมือทางการค้า หันมาทำการค้าขายกันมากขึ้น
จากลักษณะของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้นทำให้เกิดทั้งความร่วมมือและความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
ความร่วมมือนั้นได้กล่าวไปแล้วว่าเกิดขึ้นทั้งในรูปของการเจรจาการค้าแบบบทวิภาคี เช่นเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ไทย-จีน- สหรัฐกับสิงคโปร์และการเจรจาการค้าแบบพหุภาคี เช่นอาเซียน-จีน เกิดความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่นเอเปก อียู นาฟต้า
รวมทั้งความร่วมมือในอนุภูมิภาค เช่นสามเหลี่ยม เศรษฐกิจ ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในลักษณะของการลงทุนร่วมกัน
อย่างไรก็ตามความขัดแย้งทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นอย่างสำคัญเช่นกันโดยเฉพาะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการกีดกันทางการค้า เช่นกรณีที่อียูกีดกันการนำเข้ากล้วยหอมจากสหรัฐ จนกลายเป็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับอียู และมีประเด็นอื่นๆ ตามมาอีกหลายเรื่อง
แม้กระทั่งประเทศไทยเองเราก็มีความขัดแย้งกับประเทศคู่ค้าตลอดเวลา เช่นการที่ไทยโดนกีดกันสินค้ากุ้งจากสหรัฐ หรือสินค้าอาหารจากอียู
ที่สำคัญการที่มหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐและอียูได้ใช้องค์การระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์และก่อให้เกิดการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างในเชิงวัฒนธรรมที่มี สาเหตุมาจากการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เช่นปัญหาที่เกิดจากการเก็งกำไรของระบบทุนนิยม การปั่นหุ้น การทุบค่าเงิน อันส่งผลให้เศรษฐกิจของบางประเทศล้มลงและบรรษัทข้ามชาติก็เข้าไปแสวงหาประโยชน์
สรุป
จากระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันจึงพบว่าโลกของเราให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ในทางเศรษฐกิจมากขึ้น และความสัมพันธ์นี้มีทั้งความร่วมมือและความขัดแย้ง ในแง่ของความร่วมมือก็จะทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้า และความอยู่ดีกินดีของมนุษยชาติ แต่ในแง่ของความขัดแย้งก็จะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรมในทางการค้า เกิดการเอารัดเอาเปรียบของประเทศที่พัฒนาแล้วที่ทำต่อประเทศกำลังพัฒนา
การจะแก้ปัญหานี้ก็คือการปรับโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่โดยพยายามทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทในการกำหนดกติกาการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การค้าเสรีมีความเป็นไปได้อย่างแท้จริง และเป็นการค้าเสรีที่มีความเป็นธรรมด้วย
*****
อาจารย์ศิโรฒม์
สาระสำคัญอยู่ที่ปัญหานิวเคลียร์และการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์
โดยมีประเด็นสำคัญอยู่ 3 ประเด็นคือ
1.ความสำคัญของปัญหาการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์
2.รูปแบบของการควบคุมอาวุธ มี 5 รูปแบบ
3.ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือบ่อนทำลายการควบคุมอาวุธ 4 ปัจจัย
ความสำคัญของอาวุธนิวเคลียร์
ปัญหานิวเคลียร์เป็นปัญหาที่สำคัญที่ทุกประเทศต่างสนใจ ทั้งประเทศที่มีนิวเคลียร์และไม่มีนิวเคลียร์เนื่องจาก
1.อาวุธนิวเคลียร์เป็นหนึ่งใน WMD (Weapons of Mass Destruction) ซึ่งเป็นอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง สามารถทำลายชีวิตมนุษย์ได้อย่างมหาศาล (ส่วน WMD อื่นๆ คืออาวุธเคมี อาวุธชีวะ อาวุธรังสี)
2.อาวุธนิวเคลียร์สร้างความยุ่งยาก (Troublemakers) ในการควบคุมและการตรวจพิสูจน์ และความยุ่งยากในการป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Proliferation) ทำให้โอกาสที่วุธนิวเคลียร์จะตกไปอยู่ในมือของผู้ก่อการร้ายจึงทำได้ง่าย
3.เกิดอุบัติเหตุด้านนิวเคลียร์บ่อยครั้ง (Nuclear Accident) อาจเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) เช่น เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของรัสเซียล่ม ทำให้สารกัมมันตะรังสีแพร่ขยายออกมาและก่อให้เกิดอันตรายได้
รูปแบบการควบคุมอาวุธนิเคลียร์
1. การป้องกันการใช้พลังงานนิวเคลียร์ (Atomic Energy) เช่นในปัจจุบันจะมี IAEA หรือทบวงปรมาณูสากลเป็นองค์การที่ทำหน้าที่ควบคุมให้การใช้นิวเคลียร์เป็นไปในทางสันติ
2.การควบคุมการแพร่ขยายอาวุธ/วัตถุ และเทคโนโลยีทางด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Proliferation) อันเกิดจากความกลัวว่าถ้าอาวุธนิวเคลียร์แพร่ขยายไปแล้วจะเป็นภัยต่อสันติภาพความสงบเรียบร้อยของโลก
การควบคุมไม่ได้มีการแพร่ขยายของนิวเคลียร์อยู่ในรูปของสนธิสัญญาหลายฉบับ ซึ่งควบคุมทั้งรัฐที่มีและไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง เช่น
-Antarctic Treaty ค.ศ. 1959 ห้ามไม่ให้รัฐหนึ่งรัฐใดนำอาวุธนิวเคลียร์ไปไว้ยังขั้วโลกใต้หรือใช้ขั้วโลกใต้
-สนธิสัญญาห้ามการแพร่ขยายนิวเคลียร์ (NPT) ค.ศ. 1968 ทั้งวัตถุนิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ รวมทั้งเทคโนโลยีนิวเคลียร์
-สนธิสัญญา Sea Bed Treaty ค.ศ. 1971 ห้ามมิให้รัฐใดรัฐหนึ่งนำอาวุธนิวเคลียร์หรือติดตั้งฐานทัพนิวเคลียร์ไปไว้ที่ก้นทะเล มหาสมุทร
-จัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Weapon Free Zone: NWFZ) มีการทำสนธิสัญญาอีกหลายฉบับเพื่อจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
3. การห้ามปรับปรุงอาวุธนิวเคลียร์ด้านการทำลายล้าง เกิดจากความกลัวว่าอาวุธนิวเคลียร์จะมีอานุภาพทำลายล้าง (Yield) มากขึ้น ๆ ดังนั้นจะต้องห้ามนักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองในเรื่องนี้ โดยการทำสนธิสัญญา LTBT/PTBT (Limited Test Ban Treaty/Partial Test Ban Treaty) ค.ศ. 1963 ห้ามไม่ให้ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศโลก ใต้น้ำ และอวกาศนอกโลก แต่ไม่ได้ห้ามการทดลองใต้ดิน
4. ความพยายามควบคุมการทำสงครามนิวเคลียร์ การที่ต้องควบคุมนิเวคลียร์เพราะประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์กลัวว่าอาจมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์จาก
-ความเข้าใจผิด (Misunderstanding) คิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งโจมตีจึงโจมตีโต้ตอบไปโดยไม่รู้ว่าเป็นความเข้าใจผิด ทำให้เกิดสงครามนิวเคลียร์โดยอุบัติเหตุ
-การคำนวณผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Miscalculation Early Warning System) เช่นการป้องกันโดยการติดตั้งโทรศัพท์สาย
ความพยายามในการควบคุมสงครามนิวเคลียร์แบบนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเพราะทุกประเทศมีสภาวะที่เรียกว่าการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ Nuclear Deterrence เมื่อต่างฝ่ายต่างมีกองกำลังอาวุธ Triad ทัดเทียมกันย่อมเป็นตัวควบคุมการทำสงครามนิวเคลียร์ที่ดีเหนือกว่าข้อตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ
5. ความพยายามควบคุมการเพิ่มจำนวนของอาวุธนิวเคลียร์ ด้วยการทำสนธิสัญญาควบคุมและลดจำนวนอาวุธหลายฉบับ เช่น SALT 1 ค.ศ. 1972 SALT 2 ค.ศ. 1979
ทั้งนี้ความพยายามในการควบคุมทุกรูปแบบไม่ประสบความสำเร็จ ยกเว้นการควบคุมในรูปของการป้องกันไม่ได้เกิดสงคราม เนื่องจากการควบคุมแต่ละรูปแบบล้วนมีปัญหาและอุปสรรค คือ
ปัจจัยที่บ่อนทำลายความพยายามควบคุมอาวุธ
1.การรื้อทำลายอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียที่ล่าช้า เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณ
2.ปัญหาความหละหลวม (Loose Nuke Problem) เรื่องนิวเคลียร์ในรัสเซีย คือ
-การควบคุมบริเวณชายแดนหละหลวม ( Loose Border Control) ทำให้โอกาสที่นิวเคลียร์จะถูกลักลอบขนถ่ายออกนอกประเทศมีสูงมาก
-ความหละหลวมเกี่ยวสถานที่เก็บนิวเคลียร์ (Loose Nuclear Facility Control) สถานที่เก็บนิวเคลียร์เหล่านี้มีสภาพที่ไม่ปลอดภัย อันอาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของอาวุธนิวเคลียร์ หรือเทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่
- Nuclear arsenal คลังแสงอาวุธนิวเคลียร์
- Nuclear Material Storage โกดังที่เก็บนิวเคลียร์
- Nuclear Power Station สถานีพลังงานนิวเคลียร์
- Nuclear Research Center ศูนย์วิจัยค้นคว้านิวเคลียร์
3.ปัญหาสมองไหล (Brain Drain) เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ในรัสเซียประสบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ไม่มีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพ ไม่มีงานทำ ทำให้ตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 จนถึงปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร เทคนิค นักโปรแกรมเมอร์ หนีออกนอกประเทศแล้วประมาณ 5 แสนคน ซึ่งคนกลุ่มนี้มีความเชียวชาญในการพัฒนาอาวุธ ซึ่งส่วนใหญ่ไปทำงานในอเมริกา ตะวันออกกลาง
ปัญหานี้ทำให้โอกาสที่จะเกิดการพัฒนานิวเคลียร์ในประเทศที่คนเหล่านี้ออกไปทำงานจะมีสูงมาก
4.ปัญหานโยบายการป้องกันจรวดแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ( National Missile Defense -NMD) ของสหรัฐฯ
ปัญหานี้นับว่าเป็น ปัญหาที่สำคัญที่สุด เพราะ โครงการนี้ของสหรัฐเป็นโครงการการที่จะทำให้สหรัฐป้องกันการโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามได้ 100 % ซึ่งในที่สุดจะทำให้สหรัฐไม่ต้องกลัวประเทศไหนอีกต่อไป อันมีผลทำให้แนวคิดเรื่องการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์หมดความสำคัญลง ร่วมทั้งทฤษฎีที่ว่าด้วยดุลแห่งความหวาดกลัวซึ่งช่วยให้โลกไม่เกิดความรุนแรงจากนิวเคลียร์จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป และเวลานี้สหรัฐก็ยังประกาศเดินหน้าโครงการให้เสร็จภายในปี 2012
การป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ (Nuclear Deterrence) คือแนวคิดที่มองว่าประเทศที่มีนิวเคลียร์ในครอบครองต่างๆไม่กล้าที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการโจมตีอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เพราะถ้าโจมตีก่อนก็จะถูกโจมตีตอบแทน และความเสียหายจะเกิดขึ้นมหาศาล
ดุลแห่งความหวาดกลัว (Balance of Terror) จะคล้ายกับการป้องปรามเช่นกัน นั่นคือการมองว่าประเทศทั้งหลายตกอยู่ในภาวะความกลัวว่าจะถูกโจมตีหากลงมือโจมตีฝ่ายตรงข้ามด้วยนิวเคลียร์
สภาพการป้องกันด้วยนิวเคลียร์และดุลแห่งความหวาดกลัวทำให้โลกของเราไม่เกิดสงครามนิวเคลียร์มายากนานตั้งแต่มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2
อย่างไรก็ตามหากสหรัฐสามารถพัฒนาระบบป้องกันได้ 100 % อาจจะทำให้สหรัฐกล้าที่จะลงมือโจมตีศัตรูก่อน โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะฝ่ายตรงข้ามจะโจมตีเป็นการตอบแทนหรือไม่ เพราะหากฝ่ายตรงข้ามโจมตีตอบแทนกลับมาสหรัฐก็สามารถป้องกันได้ 100 %
โครงการนี้ของสหรัฐจึงทำให้หลายประเทศไม่พอใจโดยเฉพาะรัสเซียและจีน ที่มองว่าตนเองก็มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบป้องกันขึ้นมาบ้าง และเป็นโครงการที่อาจจะทำให้เกิดการแข่งขันกันสร้างอาวุธรอบใหม่
โดยสรุปปัญหาที่ทำให้การควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ไม่ได้ผล มาจาก 2 ฝ่ายเป็นหลักคือ
1.ฝ่ายรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการลักลอบขายอาวุธ ปัญหาการสมองไหล ปัญหาการไม่มีความเข้มงวดในการดูแลรักษานิวเคลียร์
2.ฝ่ายสหรัฐ น่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเวลานี้สหรัฐมีพฤติกรรมที่ไม่เกรงใจชาติใดๆ สหรัฐทำความต้องการของตนเองเป็นหลัก การที่สหรัฐใช้กำลังทหารโจมตีอีรัก ปากีสถาน และอาจจะมีอิหร่าน เกาหลีเหนือเป็นรายต่อไปนั้นมีผลทำให้ประเทศอื่น รวมทั้งผู้ก่อการร้ายอาจจะใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีสหรัฐก็เป็นได้
กรณีของอิหร่านสำหรับประเด็นปัญหานิวเคลียร์ตะวันออกกลางในช่วงปี 2006 สืบเนื่องมาจนถึงปี 2007 เริ่มจากสหรัฐอเมริกาได้เปิดประเด็นกล่าวหาอิหร่านว่ากำลังลักลอบพัฒนาโครงการเสริมสรรถนะยูเรเนียม (Centrifuge-Aided Uranium-Enrichment Program) ขณะที่อิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐอเมริกา และตอบโต้ว่าโครงการพัฒนายูเรเนียมของตน เป็นไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือเป็นการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติเท่านั้น
แต่สหรัฐอเมริกาไม่สนใจกลับเร่งผลักดันให้ทบวงปรมาณูสากล (International Atomic Energy Agency-IAEA) เข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด และยังเรียกร้องให้ IAEA ใช้มาตรการต่างๆ กดดันอิหร่านให้ยกเลิกโครงการดังกล่าวทั้งหมดแต่อิหร่านแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยกเลิก
วันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.2006 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกมติที่ 1737 ในการคว่ำบาตรอิหร่านเพื่อลงโทษฐานที่อิหร่านไม่ยอมยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์และขีดเส้นตายภายใน 60 วันเพื่อให้อิหร่านยุติการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง เพราะมิฉะนั้นแล้วคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะเพิ่มระดับความรุนแรงของการคว่ำบาตรต่ออิหร่านมากขึ้นไปอีก
กระทั่งเมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2007 สำหรับประเด็นปัญหานิวเคลียร์ตะวันออกกลางในช่วงปี 2006 สืบเนื่องมาจนถึงปี 2007 เริ่มจากสหรัฐอเมริกาได้เปิดประเด็นกล่าวหาอิหร่านว่ากำลังลักลอบพัฒนาโครงการเสริมสรรถนะยูเรเนียม (Centrifuge-Aided Uranium-Enrichment Program) ขณะที่อิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐอเมริกา และตอบโต้ว่าโครงการพัฒนายูเรเนียมของตน เป็นไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือเป็นการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติเท่านั้น
แต่สหรัฐอเมริกาไม่สนใจกลับเร่งผลักดันให้ทบวงปรมาณูสากล (International Atomic Energy Agency-IAEA) เข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด และยังเรียกร้องให้ IAEA ใช้มาตรการต่างๆ กดดันอิหร่านให้ยกเลิกโครงการดังกล่าวทั้งหมดแต่อิหร่านแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยกเลิก พร้อมกับยินดีจะเปิดการเจรจากับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nation Security Council-UNSC) รวมทั้งจะให้ IAEA เข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด
กระทั่งในที่สุดอิหร่านก็ระงับโครงการพัฒนานิวเคลียร์เป็นการชั่วคราว 3 เดือน โดยมีมหาอำนาจยุโรป คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นผู้เจรจา
แต่หลังจากนั้นมาอิหร่านก็ได้เร่งสานต่อโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของตนโดยยังคงดื้อดึงดำเนินโครงการต่อไป โดยไม่สนใจคำทัดทานจากใคร และไม่หวั่นเกรงต่อแรงกดดันจากสหประชาชาติ มหาอำนาจยุโรป และสหรัฐอเมริกา แม้ว่ารัสเซีย และจีนพันธมิตรที่สำคัญของอิหร่านจะพยายามใช้วิธีทางการทูตหลายครั้งในการแก้ไขปัญหาก็ตาม เนื่องจากอิหร่านมีจุดยืนแน่วแน่ที่จะปกป้องสิทธิของรัฐอธิปไตยในการจะใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อสันติ มิใช่นำไปใช้เพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์ตามข้อกล่าวหาของสหรัฐอเมริกา
นอกเหนือจากรัสเซียและจีนที่ดูจะยืนอยู่ข้างอิหร่านแล้ว ในที่ประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement-NAM) 118 ประเทศ ซึ่งมีขึ้นที่กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา ยังได้ประกาศให้การสนับสนุนโครงการพัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติของอิหร่าน
แต่กระนั้นก็ตามเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.2006 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกมติที่ 1737 ในการคว่ำบาตรอิหร่านเพื่อลงโทษฐานที่อิหร่านไม่ยอมยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์และขีดเส้นตายภายใน 60 วันเพื่อให้อิหร่านยุติการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง เพราะมิฉะนั้นแล้วคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะเพิ่มระดับความรุนแรงของการคว่ำบาตรต่ออิหร่านมากขึ้นไปอีก
กระทั่งเมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2007 สถานการณ์นิวเคลียร์อิหร่านก็ยังคงดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ประธานาธิบดีมะห์มูดอะห์ หมัดดีนีญัด ยังประกาศดำเนินการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของตนไป
ปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ การเผยแพร่ของอาวุธ การเพิ่มจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ที่สำคัญหากสหรัฐพัฒนาระบบจรวดป้องกันแห่งชาติได้สำเร็จและติดตั้ง 100 % เมื่อไหร่โอกาสที่โลกจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ก็มีเช่นกัน และในเวลานั้นการควบคุมนิวเคลียร์ด้วยการไม่ให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ที่เป็นการควบคุมแบบเดียวที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันก็จะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป
ส่วนปี 2008 มีความพยายามในการเจรจา 6 ฝ่าย (เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จีน สหรัฐ ญี่ปุ่น และรัสเซีย)เพื่อยุติปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และมี 2009 เกาหลีเหนือทดลองยิงขีปนาวุธ 2 ครั้งด้วย
************
อาจารย์ทิพรัตน์
เน้นเรื่อง
1.โลกาภิวัตน์
2.แนวคิดเสรีนิยม
3.แนวคิดบูรณาการระหว่างประเทศ
(อ่านรายละเอียดของแนวคิดเสรีนิยม และแนวคิดบูรณาการจากช่วงสรุปทฤษฎี)
แนวคิดทั้ง 3 มีส่วนสัมพันธ์กัน คือ แนวคิดเสรีนิยมใหม่ก่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างประเทศ และกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้แนวคิดแบบนี้กระจายไปทั้งโลก
กล่าวคือ
เสรีนิยมใหม่เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจการเมืองที่เน้นว่ากลไกตลาดจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชน และมองว่าการแทรกแซงของรัฐต่อภาคเศรษฐกิจจะส่งผลร้ายต่อสังคม หรือก็คือการมองว่ารัฐนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ชั่วร้าย (State as a necessary evil)
ดังนั้นข้อเสนอทางนโยบายของพวกเสรีนิยมใหม่ก็คือ รัฐจะต้องเข้ามาแทรกแซง ยุ่ง วุ่นวายน้อยที่สุด หรือมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระบบเศรษฐกิจ กลไกตลาดจะจัดการสิ่งที่เหลือเอง แล้วทุกอย่างจะดีเอง ดี
ขณะเดียวกันลัทธิเสรีนิยมสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับแนวนโยบายการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศต่างประเทศ นโยบายตามลัทธิเสรีนิยมที่ครอบงำโลกเราอยู่ในขณะนี้ ล้วนแล้วแต่เน้นหนักไปในด้านของการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้จากการลงทุนและการส่งออกเท่านั้น
ลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้รับการเผยแพร่โดยองค์การะหว่างประเทศอย่าง ไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก องค์การการค้าโลก บรรษัทข้ามชาติและสื่อมวลชนครอบโลก รวมทั้งชาติมหาอำนาจที่อยู่เบื้องหลังองค์การระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ
แนวคิดเสรีนิยมใหม่ถูกแปลงไปใช้ในการปฏิบัติในนามของ “ฉันทามติวอชิงตัน" (The Washington Consensus) และประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายได้รับคำแนะนำให้มีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Program) ให้เป็นตามหลักการของฉันทามติวอชิงตัน ประกอบด้วย
1.ลดค่าเงิน
2.ตัดลดงบประมาณ สวัสดิการสังคมและเงินบำเหน็จบำนาญเลี้ยงชีพ
3.ปลดข้าราชการเจ้าหน้าที่พนักงานของรัฐขนานใหญ่
4.คุมระดับอัตราเงินเดือนภาครัฐ
5.ยกเลิกเงินอุดหนุนของรัฐแก่สินค้าประเภทอาหารและปัจจัยจำเป็นพื้นฐานอื่นๆ
6.ขึ้นอัตราดอกเบี้ย
7.จำกัดสินเชื่อ
8.ส่งเสริมการส่งออก เปิดเสรีการค้า ลดเลิกพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและอุปสรรคการค้าอย่างอื่น
9.เปิดเสรีตลาดทุน เปิดเสรีการเงิน เปิดเสรีอุตสาหกรรมและบริการแก่การแข่งขันต่างชาติ เปิดให้ต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่างๆ ได้ไม่จำกัด
10.ขึ้นค่าสาธารณูปโภคของรัฐวิสาหกิจไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงาน,น้ำประปา,โทรศัพท์,ขนส่งคมนาคมให้ราคาเป็นไปตามตลาด และ
11.ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้เราสามารถสรุปหลักการสำคัญๆของเสรีนิยมใหม่ได้เป็น 4 ประการคือ
1.Liberation เปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
2.Stabilization รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
3.Privatization ถ่ายโอนการผลิตสู่ภาคเอกชน
4.Deregulation ลดการแทรกแซง ลดบทบาทของรัฐ
ต่อมาได้เพิ่มหลักการอีก 2 หลักการคือ
5. Democracy คือการเน้นประชาธิปไตย มนุษยชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และ
6.Good Governance การให้ภาครัฐและเอกชนมีระบบการบริหารจัดการที่ดี เช่นความโปร่งใส การบริหารจัดการโดยยึดหลักกฎหมาย เน้นประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบ ความเสมอภาค เป็นต้น
ดังนั้นการรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคจึงเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับเสรีนิยมใหม่
ส่วนแนวคิดโลกาภิวัตน์ก็คือสภาพที่ทั้งโลกรับเอาแนวคิดแบบเดียวกันเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้โลกทั้งโลกเชื่อมโยงกัน ยิ่งเกิดแนวคิดแบบเสรีนิยมทำให้โลกทั้งโลกมีการติดต่อกันมากขึ้น ทั้งด้านการค้า การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งแนวคิดแบบบูรณาการด้วย
ลักษณะของโลกาภิวัตน์
1.International : กระบวนการในการติดต่อเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศต่าง ๆนั้น มีการติดต่อสัมพันธ์กันมากขึ้น มีการพึ่งอาศัยกันระหว่างชาติ มากขึ้น
2.Liberalization : การเปิดเสรี เช่น การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มากขึ้นข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดนน้อยลง
3.Universalization : การแพร่กระจายของสิ่งต่าง ๆทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมทุกที่เหมือนกันหมดทั่วโลก
4.Westernization : กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางตะวันตก เนื่องจากโลกาภิวัตน์จะมาจากตะวันตก
5.Deterritorization : การลดสภาพเขตแดนลง ปกติแต่ละรัฐชาติจะมีเขตแดนเฉพาะและชัดเจน แต่ลักษณะของโลกาภิวัตน์เป็นการลดสภาพของการเป็นเขตแดนลงไป สินค้าและบริการจากผลของการเปิดเสรี
นอกจากนี้ยังสามารถอธิบายถึงลักษณะโลกาภิวัตน์ว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
1.มีการไหลข้ามผ่านพรมแดน (Cross –border flaw) ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เช่น สินค้า การลงทุน ข้อมูลข่าวสาร ความคิด ความเชื่อ ฯลฯ
2.มีกระบวนการข้ามชาติ (Transnational Process) ในทุกๆด้าน
3.มีการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างรัฐกันมากขึ้น (Interdependence) ประเทศต่าง ๆในโลกอยู่ในฐานะที่จะต้องพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์
5.มีตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non –state actors) ในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น
ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์และเสรีนิยมต่อประเทศไทย (ตรงนี้นักศึกษาควนตอบให้เป็นความติดของตนเอง) อันนี้แค่ยกตัวอย่าง
ประเทศไทยของเราได้รับผลกระทบจากแนวคิดเสรีนิยมมายาวนาน เนื่องจากเราเปิดรับโลกภายนอกมาตั้งแต่ยุคอยุธยา รวมทั้งการทำสนธิสัญญาเบาริ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ส่งผลให้ประเทศไทยเอาตัวเองไปผูกติดกับโลกาภิวัตน์อย่างเต็มที่มากขึ้น ผลกระทบที่สำคัญของโลกาภิวัตน์และแนวคิดเสรีนิยมที่มีต่อประเทศไทยคือ
1.ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาตลาดภายนอก แนวคิดเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถดึงการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น สภาพเช่นนี้ทำให้เศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับการส่งออกและการลงทุนจากต่างชาติ ทำให้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลก
เช่นเวลานี้เศรษฐกิจสหรัฐ ญี่ปุ่น อียู ตกต่ำส่งผลกระทบต่อเราด้วย
อาจจะยกยกตัวอย่างตอนที่เราต้องกู้เงิน IMF ด้วย
2.ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม โลกาภิวัฒน์ทำให้วัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนไป
3.ผลกระทบทางการเมือง แนวคิดเสรีนิยมมีผลทำให้รัฐบาลมีบทบาทน้อยลงในการกำหนดความเป็นไปของสังคม โดยเอกชนเข้ามามีบทบาทในการกำหนดนโยบายมากขึ้น
เป็นต้น
อาจารย์การุณลักษณ์
อาจารย์การุณลักษณ์จะพูดถึงปัญหาใหม่ของโลกในยุคปัจจุบัน หรือปัญหาใหม่ๆของโลกในยุคโลกาภิวัตน์
โดยโลกาภิวัตน์นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ และ การเปลี่ยนแปลงของระบบการติดต่อสื่อสารยุคไฮเทคโนโลยี ทำให้เกิดการหล่อหลอมจนเกิดวัฒนธรรมโลก (Global Culture) สร้างวัฒนธรรมสำนึกโลก (Global Consciousness)
ทำให้ในปัจจุบันได้เกิดสิ่งใหม่และปัญหาใหม่ของโลกมากมาย เช่น
1.จุดจบแห่งระบบชาติรัฐ แม้ว่าชาติรัฐยังคงมีอยู่แต่การใช้กำลังลดลงไป
2. ประเด็นปัญหาต่างๆกลายเป็นปัญหาระดับโลก ไม่ใช่แค่ปัญหาระดับท้องถิ่นอีกต่อไป ได้แก่
-ปัญหานิเวศวิทยาและสภาพแวดล้อม ปัญหาพลังงาน
-ปัญหาการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นปัญหาดั้งเดิมที่อาวุธชนิดนี้ยังไม่หมดไป รวมทั้งอาวุธด้านความเชื่อ เช่น ระเบิดพลีชีพ
-ปัญหาความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรม ดังที่ฮันติงตันเสอนผลงานเรื่อง The Clash of Civilization
-ปัญหาด้านเทคโนโลยี
-ปัญหาโรคระบาด เช่น 2009
-ปัญหาความยากจนอดอยากหิวโหยและการพัฒนา
-ปัญหาสิทธิมนุษยชนและทรัพยากรมนุษย์ ปัญหาเรื่องเพศ ผิว พันธุ์
-ปัญหายาเสพติด การค้าผิดกฎหมาย ฯลฯ
-ปัญหาการขาดแคลนพลังงานและอาหาร
-ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากร
ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นปัญหาที่กระทบต่อคนทั่วโลก เช่นเวลานี้ประเทศลุ่มน้ำโขงก็มีปัญหาการใช้นำโขงร่วมกัน หรือบางประเทศมีการนำขยะออกไปทิ้งในดินแดนของรัฐอื่นๆ
อาจารย์วราภรณ์
การบรรยายของอาจารย์จะเน้นไปที่สำคิดทุถกสำนักแต่ที่เป็นจุดเด่นคือสำนักประดิษฐกรรมนิยม (นักศึกษาอ่านในตอนสรุปทฤษฎีได้)
*******************
สรุปแนวแต่ละอาจารย์
1.อ.ศิโรฒม์
ปัจจัยที่ทำให้การควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
2.อ.เบ็ญจมาส
ให้วิเคราะห์ระบบระหว่างประเทศในปัจจุบัน
3.อาจารย์วราภรณ์
น่าจะให้นักศึกษาวิเคราะห์เหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยใช้ทฤษฎีสำนักใดสำนักหนึ่ง
4.อ.ทิพรัตน์
โลกาภิวัตน์ ผลกระทบของโลกาภิวัตน์และเสรีนิยมต่อประเทศไทย
5.การุณลักษณ์
วิเคราะห์ปัญหาใหม่ๆในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข
ตัวอย่างข้อสอบเก่า
อาจารย์เบ็ญ
ภายใต้โลกาภิวัตน์ และการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันมีลักษณะแบบใด โดยให้ระบุว่า ผู้แสดงบทบาทระหว่างประเทศใดบ้างที่มีส่วนในการกำหนดระเบียบโลกและระบอบโลก ที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และให้ใช้ส่วนประกอบของระบบระหว่างประเทศมาช่วยในการอธิบายและวิเคราะห์ให้เห็นว่า ระเบียบโลกและระบอบโลกที่สำคัญมีประการใดบ้าง
3.อ.วราภรณ์
สถานการณ์ด้านความยากจนหรือความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจและการด้อยพัฒนายังคงเป็นภัยเผชิญหน้าระหว่างประชากรส่วนใหญ่ในระบบโลก ให้ท่านใช้ทฤษฎีแนววิพากษ์ในสำนักพึ่งพิง อธิบายสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าวโดยละเอียด คือต้องอธิบายสาระสำคัญของแนวคิด ทฤษฎี ชื่อนักคิด และยกตัวอย่างถานการณ์ให้เข้าใจชัดเจน
*****************************************
แนวข้อสอบ
1.อาจารย์ศิโรฒม์ มี 2 ประเด็นหลักที่จะออกเป็นข้อสอบคือ
1.รูปแบบการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์รูปแบบใดที่ประสบความสำเร็จ รูปแบบใดที่ไม่ประสบความสำเร็จ
2.ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์
2.อาจารย์เบ็ญจมาส
ให้นักศึกษาวิเคราะห์ระบบระหว่างประเทศในปัจจุบัน โดยนักศึกษาต้องบอกได้ว่า
-ระบบระหว่างประเทศ (หมายถึงการกระทำซึ่งกันและกันของตัวแสดงระหว่างประเทศหรือการแสดงอำนาจระหว่างกันของตัวแสดง) อยู่ภายใต้ระบอบโลก และระเบียบโลกอะไรบ้าง
เช่น (สมมุติ) โปแลนด์ขึ้นภาษีเหล็กที่นำเข้าจากประเทศไทย เนื่องจากพบว่าประเทศไทยทุ่มตลาดสินค้าเหล็ก (ส่งเหล็กเข้าไปขายในราคาถูกจนกระทบต่อผู้ผลิตเหล็กในโปแลนด์) (อันนี้คือระบบระหว่างประเทศหรือการกระทำระหว่างประเทศ) จะอยู่ภายใต้ระบอบ (กฎหมายระหว่างประเทศ) ที่เป็นกฎทางการค้าของ WTO ซึ่งกำหนดว่าทุกประเทศไม่ทุ่มตลาด หากมีการทุ่มตลาดประเทศที่ถูกทุ่มตลาดมีสิทธิที่จะใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือ Anti Dumping ซึ่งต่อมาประเทศไทยก็ทำการอุทธรณ์
ซึ่งการกระทำดังกล่าวอยู่ภายใต้ระเบียบการค้าของโลกที่เป็นระเบียบการค้าเสรี ซึ่งกำหนดว่าทุกประเทศจะต้องเปิดให้มีการแข่งขันเสรีและเปิดตลาดการค้าโดยลดอุปสรรคทางการค้าให้มากที่สุด
-จะใช้ทฤษฎีอะไรในการอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างระบบระหว่างประเทศ ระเบียบระหว่างประเทศ และระบอบระหว่างประเทศ
**จากตัวอย่างข้างต้นนักศึกษาต้องใช้ทฤษฎีในการอธิบาย ซึ่งอาจจะหยิบเอาทฤษฎีจากสำนักสัจนิยมมาใช้ก็ได้ โดยวิเคราะห์ว่าโปแลนด์ต้องรักษาผลประโยชน์ของตนเองให้มากที่สุด หรือเอาทฤษฎีในแนวเสรีนิยมก็ได้โดยเน้นไปที่บทบาทของ WTO ที่เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งจะช่วยให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศเป็นด้วยดีหรือมีกลไกในการงับข้อพิพาทได้
3.อาจารย์การุณยลักษณ์
อาจารย์เน้นประเด็นปัญหาคุกคามใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้นข้อสอบน่าจะให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งอาจจะหยิบมาเพียงปัญหาเดียวหรือให้พูดรวมๆก็ได้ โดยอาจจะให้วิเคราะห์ว่าปัญหาเหล่านั้นเกิดจากอะไร มีกระทบต่อโลกและต่อประเทศไทยอย่างไร และเราควรจะมีทางออกอย่างไร
ปัญหาที่น่าสนใจคือ
-ปัญหาโลกร้อน
-ปัญหาโรคระบาดใหม่ๆ เช่น 2009
-ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
-ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรในอนาคต
เวลาตอบนักศึกษาก็ต้องดึงทฤษฎีมาวิเคราะห์ด้วย เช่นอาจจะบอกว่าปัญหาโลกร้อนเกิดจากการทำลายทรัพยากรหรือการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ที่มีมากเกินไป โดยดึงแนวคิดระบบทุนนิยมโลกมาวิเคราะห์ นั่นคือการขยายตัวของทุนนิยมที่เน้นการเติบโตของทุนทำให้ต้องกระตุ้นการลงทุน กระตุ้นการบริโภค ทำให้เกิดบรรษัทข้ามชาติเข้าไปปล้นทรัพยากรในประเทศต่างๆ .........
หรืออาจจะบอกว่ามาอย่างแนวคิดเสรีนิยมที่ทำให้การลงทุนเป็นไปอย่างเสรีและประเทศต่างๆต้องดึงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนสุดท้ายการลงทุนก็ไปทำลายทรัพยากร
หรืออาจจะบอกว่าเป็นไปตามแนวคิดสัจจะนิยมที่บอกว่ารัฐทุกรัฐต่างแสวงหาความมั่งคั่ง จึงต้องออกไปลงทุนในดินแดนอื่นๆเพื่อเอาความั่งคั่งมากสร้างความร่ำรวยให้ตนเอง
***วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ของโลกที่สำคัญคือ การทำให้คนในโลกทุกคนตระหนักว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาของคนทุกคน ซึ่งมีฐานะเป็นพลเมืองโลกไม่ใช่พลเมืองของรัฐใดรัฐหนึ่ง ดังนั้นทุกคนและทุกรัฐต้องร่วมมือกัน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นที่หนึ่งที่ใดจะกระทบทั่วโลก เช่นหากน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะโลกร้อน หลายประเทศอาจจะจมลงทะเล
4.อาจารย์วราภรณ์
อาจารย์วราภรณ์ เน้นทฤษฎี 2 สำนักคือสัจนิยมและประดิษฐกรรมนิยม แต่ข้อสอบน่าจะออกประเด็นกว้างให้นักศึกษานำเอา 2 ทฤษฎีนี้มาวิเคราะห์
5.อาจารย์ทิพรัตน์
อาจารย์สอน 3 เรื่องหลักคือ
-โลกาภิวัตน์
-เสรีนิยม
-ทฤษฎีบูรณาการระหว่างประเทศ
โอกาสของข้อสอบ น่าจะให้นักศึกษาวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องกันของ 3 แนวคิด หรือระหว่างเสรีนิยมกับโลกาภิวัตน์ รวมทั้งอาจจะให้วิเคราะห์ถึงผลกระทบของโลกาภิวัตน์ เสรีนิยม และบูรณาการระหว่างประเทศที่มีต่อประเทศไทย
(**ทั้ง 3 แนวคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นอน เพราะโลกาภิวัตน์ช่วยกระตุ้นให้แนวคิดเสรีนิยมและบูรรณาการระหว่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเสรีนิยมก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโลกาภิวัตน์ เพราะหากทุกประเทศไม่เปิดเสรีโอกาสของโลกาภิวัฒม์จะทะลุทะลวงโลกคงเป็นไปไม่ได้ เช่นประเทศไทยถ้าเรามีกฎหมายห้ามเปิดช่อง CNN หรือทีวีจากต่างชาติ หรือปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ เราคงรับกระแสโลกาภิวัตน์ได้น้อยลง )
*******************************
แนวข้อสอบ PS 703 ที่เคยออก
(เป็นส่วนหนึ่งที่เคยออกข้อสอบ บางวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติบางแห่ง อาจารย์อาจจะคนละท่าน โปรดใช้วิจารณาญาณในการอ่านครับ)
1.อาจารย์ศิโรตม์ มี 2 ประเด็นหลักที่จะออกเป็นข้อสอบคือ
1.รูปแบบการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์รูปแบบใดที่ประสบความสำเร็จ รูปแบบใดที่ไม่ประสบความสำเร็จ
2.ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์
2.อาจารย์เบ็ญจมาส
ให้นักศึกษาวิเคราะห์ระบบระหว่างประเทศในปัจจุบัน โดยนักศึกษาต้องบอกได้ว่า
-ระบบระหว่างประเทศ (หมายถึงการกระทำซึ่งกันและกันของตัวแสดงระหว่างประเทศหรือการแสดงอำนาจระหว่างกันของตัวแสดง) อยู่ภายใต้ระบอบโลก และระเบียบโลกอะไรบ้าง
เช่น (สมมุติ) โปแลนด์ขึ้นภาษีเหล็กที่นำเข้าจากประเทศไทย เนื่องจากพบว่าประเทศไทยทุ่มตลาดสินค้าเหล็ก (ส่งเหล็กเข้าไปขายในราคาถูกจนกระทบต่อผู้ผลิตเหล็กในโปแลนด์) (อันนี้คือระบบระหว่างประเทศหรือการกระทำระหว่างประเทศ) จะอยู่ภายใต้ระบอบ (กฎหมายระหว่างประเทศ) ที่เป็นกฎทางการค้าของ WTO ซึ่งกำหนดว่าทุกประเทศไม่ทุ่มตลาด หากมีการทุ่มตลาดประเทศที่ถูกทุ่มตลาดมีสิทธิที่จะใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือ Anti Dumping ซึ่งต่อมาประเทศไทยก็ทำการอุทธรณ์
ซึ่งการกระทำดังกล่าวอยู่ภายใต้ระเบียบการค้าของโลกที่เป็นระเบียบการค้าเสรี ซึ่งกำหนดว่าทุกประเทศจะต้องเปิดให้มีการแข่งขันเสรีและเปิดตลาดการค้าโดยลดอุปสรรคทางการค้าให้มากที่สุด
-จะใช้ทฤษฎีอะไรในการอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างระบบระหว่างประเทศ ระเบียบระหว่างประเทศ และระบอบระหว่างประเทศ
**จากตัวอย่างข้างต้นนักศึกษาต้องใช้ทฤษฎีในการอธิบาย ซึ่งอาจจะหยิบเอาทฤษฎีจากสำนักสัจนิยมมาใช้ก็ได้ โดยวิเคราะห์ว่าโปแลนด์ต้องรักษาผลประโยชน์ของตนเองให้มากที่สุด หรือเอาทฤษฎีในแนวเสรีนิยมก็ได้โดยเน้นไปที่บทบาทของ WTO ที่เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งจะช่วยให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศเป็นด้วยดีหรือมีกลไกในการงับข้อพิพาทได้
3.อาจารย์การุณย์ลักษณ์
อาจารย์เน้นประเด็นปัญหาคุกคามใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้นข้อสอบน่าจะให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งอาจจะหยิบมาเพียงปัญหาเดียวหรือให้พูดรวมๆก็ได้ โดยอาจจะให้วิเคราะห์ว่าปัญหาเหล่านั้นเกิดจากอะไร มีกระทบต่อโลกและต่อประเทศไทยอย่างไร และเราควรจะมีทางออกอย่างไร
ปัญหาที่น่าสนใจคือ
-ปัญหาโลกร้อน
-ปัญหาโรคระบาดใหม่ๆ เช่น 2009
-ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน
-ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรในอนาคต
เวลาตอบนักศึกษาก็ต้องดึงทฤษฎีมาวิเคราะห์ด้วย เช่นอาจจะบอกว่าปัญหาโลกร้อนเกิดจากการทำลายทรัพยากรหรือการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ที่มีมากเกินไป โดยดึงแนวคิดระบบทุนนิยมโลกมาวิเคราะห์ นั่นคือการขยายตัวของทุนนิยมที่เน้นการเติบโตของทุนทำให้ต้องกระตุ้นการลงทุน กระตุ้นการบริโภค ทำให้เกิดบรรษัทข้ามชาติเข้าไปปล้นทรัพยากรในประเทศต่างๆ .........
หรืออาจจะบอกว่ามาอย่างแนวคิดเสรีนิยมที่ทำให้การลงทุนเป็นไปอย่างเสรีและประเทศต่างๆต้องดึงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนสุดท้ายการลงทุนก็ไปทำลายทรัพยากร
หรืออาจจะบอกว่าเป็นไปตามแนวคิดสัจจะนิยมที่บอกว่ารัฐทุกรัฐต่างแสวงหาความมั่งคั่ง จึงต้องออกไปลงทุนในดินแดนอื่นๆเพื่อเอาความั่งคั่งมากสร้างความร่ำรวยให้ตนเอง
***วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ของโลกที่สำคัญคือ การทำให้คนในโลกทุกคนตระหนักว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาของคนทุกคน ซึ่งมีฐานะเป็นพลเมืองโลกไม่ใช่พลเมืองของรัฐใดรัฐหนึ่ง ดังนั้นทุกคนและทุกรัฐต้องร่วมมือกัน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นที่หนึ่งที่ใดจะกระทบทั่วโลก เช่นหากน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะโลกร้อน หลายประเทศอาจจะจมลงทะเล
4.อาจารย์วราภรณ์
อาจารย์วราภรณ์ เน้นทฤษฎี 2 สำนักคือสัจนิยมและประดิษฐกรรมนิยม แต่ข้อสอบน่าจะออกประเด็นกว้างให้นักศึกษานำเอา 2 ทฤษฎีนี้มาวิเคราะห์
5.อาจารย์ทิพรัตน์
อาจารย์สอน 3 เรื่องหลักคือ
-โลกาภิวัตน์
-เสรีนิยม
-ทฤษฎีบูรณาการระหว่างประเทศ
โอกาสของข้อสอบ น่าจะให้นักศึกษาวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องกันของ 3 แนวคิด หรือระหว่างเสรีนิยมกับโลกาภิวัตน์ รวมทั้งอาจจะให้วิเคราะห์ถึงผลกระทบของโลกาภิวัตน์ เสรีนิยม และบูรณาการระหว่างประเทศที่มีต่อประเทศไทย
(**ทั้ง 3 แนวคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นอน เพราะโลกาภิวัตน์ช่วยกระตุ้นให้แนวคิดเสรีนิยมและบูรรณาการระหว่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเสรีนิยมก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโลกาภิวัตน์ เพราะหากทุกประเทศไม่เปิดเสรีโอกาสของโลกาภิวัฒม์จะทะลุทะลวงโลกคงเป็นไปไม่ได้ เช่นประเทศไทยถ้าเรามีกฎหมายห้ามเปิดช่อง CNN หรือทีวีจากต่างชาติ หรือปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ เราคงรับกระแสโลกาภิวัตน์ได้น้อยลง )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น