วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567

สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553


สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
1. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ การจัดโครงสร้างหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ อั้นเป็นการแบ่งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมทั้งวางระเบียบในการบริหารราชการภายในประเทศ เพื่อให้หน่วยงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐ
2. ภาพรวมการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
แนวคิดรูปแบบการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีอยู่ 3 หลัก คือ
2.1 หลักการวมอำนาจ (Centralization) หมายถึง การรวมอำนาจปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง ได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวง กรม มีลักษณะสำคัญ คือ
1. มีการรวมอำนาจในการบังคับบัญชาส่วนราชการต่างๆ ไว้ที่ส่วนกลาง โดยส่วนกลางจะเป็นผู้ใช้อำนาจในการบังคับบัญชาสั่งการ
2. มีการรวมอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการไวด้ที่ส่วนกลาง กล่าวคือ อำนาจในการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการ (Decision) ชั้นสุดท้ายจะอยู่ที่ส่วนกลาง โดยการปกครองส่วนกลางจะมีอำนาจสั่งการทั่วประเทศ
2.2 หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration) หมายถึง การที่ราชการบริหารส่วนกลางแบ่งอำนาจหน้าที่ที่เป็นของตนให้กับราชการส่วนกลางแบ่งอำนาจหน้าที่ที่เป็นของตนให้กับราชการส่วนภูมิภาคเพื่อดำเนินการแทน ซึ่งจะก่อให้ก่อความรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่ อนึ่งการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาคอยู่ในอำนาจของราชการส่วนกลางจึงกล่าวได้ว่าราชการส่วนกลางมีอำนาจในการสั่งการและควบคุมบัญชาราชการส่วนภูมิภาค อันแตกต่างจากกรณีของราชการส่วนท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางส่วนท้องถิ่นเป็นระบบการกำกับดูแล
2.3 หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) เป็นการแบ่งภารกิจของรัฐ ให้กับราชการส่วนท้องถิ่นด้วย การมอบอำนาจให้ราชการส่วนท้องถิ่น สามารถใช้ดุลพินิจในการจัดทำบริการสาธารณะที่ตนมีอยู่ตามกฎหมายได้มีลักษณะสำคัญดังนี้
ราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานเป็นนิติบุคคลและมีอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะ ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การบริหารงานบุคคล และจัดทำงบประมาณ โดยราชการส่วนกลางมีเพียงอำนาจในการกำกับดูแลเท่านั้น
ทั้งนี้ ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง มิใช่มาจากการแต่งตั้งจากราชการส่วนกลาง ดังเช่นกรณีของราชการส่วนภูมิภาค
3. ความมุ่งหมายของการบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้
3.1 เป็นประโยชน์สุขของประชาชน
3.2 เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3.3 มีประสิทธิภาพ
3.4 ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ
3.5 ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
3.6 ลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
3.7 กระจายภารกิจและทรัพยากรให้ท้องถิ่น
3.8 กระจายอำนาจการตัดสินใจ
3.9 อำนวยความสะดวก
3.10 ตอบสนองความต้องการของประชาชน
*โดยในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553 บัญญัติให้การบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
4.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
4.2 การจัดระเบียบบริราชการส่วนภูมิภาค
4.3 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
4.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
1. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางได้ แก่
1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี (มีฐานะเป็นกระทรวง)
1.2 กระทรวง
1.3 ทบวง
1.4 กรม
**ราชการส่วนกลางทั้งหมดตามข้อ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. การจัดตั้ง รวม โอน ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
3. การรวม หรือโอน กรณีที่ไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ให้สำนักงานข้าราชการพลเรือน และสำนักงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบดูแลไม่ให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการและลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบ 3 ปีนับแต่พระราชกฎษฎีกามีผลใช้บังคับ
4. การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
5. การยุบราชการส่วนกลาง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
6. ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น จะรับโอนข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่ถูกยุบให้กระทำภายใน 30 นับ นับแต่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
7. การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวง
โดยให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการดังกล่าวเป็นผู้ออกกฎกระทรวง

จะมาอัปลงให้เรื่อยๆ
//////////////////////////////แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า/////////////////
****ากต้องการสนับสนุนค่ากาแฟ****
(10-20-30-100 บาท)
020164089314 ธนาคาร (ธกส.) นายประพันธ์ เวารัมย์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)

 คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566) โหลดตรงนี้ https://l...