วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ข้าวหลามหนองมน... ริมถนนสุขุมวิท เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว " พร้อมขายมาก " คำขวัญ จังหวัดชลบุรี " ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย " เครดิต : ส่องอดีตเมืองชล เครดิต : วิธาน เมืองศรีนุ่น

 



🇹🇭ข้าวหลามหนองมน...
ริมถนนสุขุมวิท เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว
" พร้อมขายมาก "
คำขวัญ จังหวัดชลบุรี " ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย "
เครดิต : ส่องอดีตเมืองชล
เครดิต : วิธาน เมืองศรีนุ่น

แนวข้อสอบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

 แนวข้อสอบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563














จะเอาเฉลยมาอัปลงให้เรื่อยๆ
//////////////////////////////แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า/////////////////
****ากต้องการสนับสนุนค่ากาแฟ****
(10-20-30-100 บาท)
020164089314 ธนาคาร (ธกส.) นายประพันธ์ เวารัมย์




สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553


สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
1. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ การจัดโครงสร้างหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ อั้นเป็นการแบ่งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมทั้งวางระเบียบในการบริหารราชการภายในประเทศ เพื่อให้หน่วยงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐ
2. ภาพรวมการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
แนวคิดรูปแบบการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีอยู่ 3 หลัก คือ
2.1 หลักการวมอำนาจ (Centralization) หมายถึง การรวมอำนาจปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง ได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวง กรม มีลักษณะสำคัญ คือ
1. มีการรวมอำนาจในการบังคับบัญชาส่วนราชการต่างๆ ไว้ที่ส่วนกลาง โดยส่วนกลางจะเป็นผู้ใช้อำนาจในการบังคับบัญชาสั่งการ
2. มีการรวมอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการไวด้ที่ส่วนกลาง กล่าวคือ อำนาจในการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการ (Decision) ชั้นสุดท้ายจะอยู่ที่ส่วนกลาง โดยการปกครองส่วนกลางจะมีอำนาจสั่งการทั่วประเทศ
2.2 หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration) หมายถึง การที่ราชการบริหารส่วนกลางแบ่งอำนาจหน้าที่ที่เป็นของตนให้กับราชการส่วนกลางแบ่งอำนาจหน้าที่ที่เป็นของตนให้กับราชการส่วนภูมิภาคเพื่อดำเนินการแทน ซึ่งจะก่อให้ก่อความรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่ อนึ่งการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาคอยู่ในอำนาจของราชการส่วนกลางจึงกล่าวได้ว่าราชการส่วนกลางมีอำนาจในการสั่งการและควบคุมบัญชาราชการส่วนภูมิภาค อันแตกต่างจากกรณีของราชการส่วนท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางส่วนท้องถิ่นเป็นระบบการกำกับดูแล
2.3 หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) เป็นการแบ่งภารกิจของรัฐ ให้กับราชการส่วนท้องถิ่นด้วย การมอบอำนาจให้ราชการส่วนท้องถิ่น สามารถใช้ดุลพินิจในการจัดทำบริการสาธารณะที่ตนมีอยู่ตามกฎหมายได้มีลักษณะสำคัญดังนี้
ราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานเป็นนิติบุคคลและมีอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะ ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การบริหารงานบุคคล และจัดทำงบประมาณ โดยราชการส่วนกลางมีเพียงอำนาจในการกำกับดูแลเท่านั้น
ทั้งนี้ ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง มิใช่มาจากการแต่งตั้งจากราชการส่วนกลาง ดังเช่นกรณีของราชการส่วนภูมิภาค
3. ความมุ่งหมายของการบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้
3.1 เป็นประโยชน์สุขของประชาชน
3.2 เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3.3 มีประสิทธิภาพ
3.4 ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ
3.5 ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
3.6 ลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
3.7 กระจายภารกิจและทรัพยากรให้ท้องถิ่น
3.8 กระจายอำนาจการตัดสินใจ
3.9 อำนวยความสะดวก
3.10 ตอบสนองความต้องการของประชาชน
*โดยในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553 บัญญัติให้การบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
4.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
4.2 การจัดระเบียบบริราชการส่วนภูมิภาค
4.3 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
4.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
1. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางได้ แก่
1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี (มีฐานะเป็นกระทรวง)
1.2 กระทรวง
1.3 ทบวง
1.4 กรม
**ราชการส่วนกลางทั้งหมดตามข้อ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. การจัดตั้ง รวม โอน ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
3. การรวม หรือโอน กรณีที่ไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ให้สำนักงานข้าราชการพลเรือน และสำนักงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบดูแลไม่ให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการและลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบ 3 ปีนับแต่พระราชกฎษฎีกามีผลใช้บังคับ
4. การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
5. การยุบราชการส่วนกลาง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
6. ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น จะรับโอนข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่ถูกยุบให้กระทำภายใน 30 นับ นับแต่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
7. การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวง
โดยให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการดังกล่าวเป็นผู้ออกกฎกระทรวง

จะมาอัปลงให้เรื่อยๆ
//////////////////////////////แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า/////////////////
****ากต้องการสนับสนุนค่ากาแฟ****
(10-20-30-100 บาท)
020164089314 ธนาคาร (ธกส.) นายประพันธ์ เวารัมย์




วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2567

การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

 

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยวด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2547  

https://www.dla.go.th/work/refer/reference27.pdf


🔴#การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
👉ประเภท ก.คือผู้เข้าอบรมเป็นเฉพาะข้าราชการ
👉ประเภท ข.คือผู้เข้าอบรมเป็นข้าราชการน้อยกว่าประชาชน
💥#สิ่งเบิกได้💥
🔴(๑) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม
🔴(๒) ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิดและปิดการฝึกอบรม
🔴(๓) ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์
🔴(๔) ค่าประกาศนียบัตร
🔴(๕) ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์
🔴(๖) ค่าหนังสือสําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
🔴(๗) ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
🔴(๘) ค่าเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการฝึกอบรม
🔴(๙) ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ไม่เกิน 300 ฿
🔴(๑๐) ค่าของสมนาคุณในการดูงาน ไม่เกิน 1,500 ฿
🔴(๑๑) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง
#จัดในสถานที่ราชการ
- อาหารว่าง/เครื่องดื่ม ไม่เกิน 35 ฿
- เครื่องดื่มไม่เกิน 10 ฿
#จัดในสถานที่เอกชน
- อาหารว่าง/เครื่องดื่ม ไม่เกิน 50 ฿
- เครื่องดื่มไม่เกิน 20฿

🔴(๑๒) ค่าสมนาคุณวิทยากร
🔶-การบรรยายมีวิยากรได้1คน
🔶-การอภิปรายสัมนาคณะมีวิทยากรได้5คน
🔶-สัมมนากลุ่มมีวิทยากรได้กลุ่มละ2คน
✅วิทยากรที่เป็นข้าราชการ
🔶-ประเภท ก.ค่าวิทยากร 800 บาท
🔶-ประเภท ข.ค่าวิทยากร 600 บาท
✅วิทยากรที่เป็นบุคคลภายนอก
🔶-ประเภท ก. 1,600 บาท
🔶-ประเภท ข. 1,200 บาท
🔴(๑๓) ค่าอาหาร
#การฝึกอบรมประเภท ก
จัดในสถานที่ราชการ
- ครบมื้อไม่เกิน ๗๐๐฿(หาร3)
- ไม่ครบไม่เกิน ๕๐๐฿(จัด2มื้อหรือ1มื้ก็ได้)
จัดในสถานที่เอกชน
- ครบมื้อไม่เกิน ๑,๐๐๐฿
-ไม่ครบมื้อไม่เกิน ๗๐๐฿
#การฝึกอบรมประเภท ข
จัดในสถานที่ราชการ
- ครบมื้อไม่เกิน ๕๐๐฿
- ไม่ครบไม่เกิน ๓๐๐฿
จัดในสถานที่เอกชน
- ครบมื้อไม่เกิน ๘๐๐฿
-ไม่ครบมื้อไม่เกิน ๖๐๐฿
🔴(๑๔) ค่าเช่าที่พัก
#การฝึกอบรมประเภท ก
- เดี่ยวไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท
- คู่ ไม่เกิน ๑,๑๐๐ บาท
#การฝึกอบรมประเภท ข
- เดี่ยวไม่เกิน ๑,๒๐๐ บาท
- คู่ ไม่เกิน ๗๕๐ บาท
🔴(๑๕) ค่ายานพาหนะ
- กรณีใช้ยานพาหนะประจําทางหรือเช่าเหมายานพาหนะ ให้เบิกจ่ายค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น เหมาะสม และประหยัด
🔴(๑๖) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จําเป็นในการฝึกอบรม


Cr;รองเอ ศุภดามาศ จันทาธอน