ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency
Economy) คือ ปรัชญาที่ชี้ถึงแบบการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและในการบริหารให้เป็นไปใน
“ทางสายกลาง” โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
เศรษฐกิจพอเพียง
ประกอบด้วย ( 3 ห่วง 2 เงื่อนไข)
คุณลักษณะ 3 ประการ
1.
พอประมาณ
2.
มีเหตุผล
3.
มีภูมิคุ้มกันที่ดี
เงื่อนไข 2 เงื่อนไข
1.
ความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)
2.
คุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน
สติปัญญา แบ่งปัน)
นำไปสู่ เศรษฐกิจ / สังคม / สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม/สมดุล /พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
ความหมาย 3 ห่วง
1.
พอประมาณ
คือ
การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเอง
ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2.
มีเหตุผล
คือ การตัดสินใจดำเนินการเรื่องราวต่างๆ อย่างมีเหตุผล
คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากกระทำนั้นอย่างรอบรู้และรอบคอบ
3.
มีภูมิคุ้มกันที่ดี
คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
และการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ความหมายของ 2 เงื่อนไข
1.
ความรู้
คือ การฝึกตนให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่งรอบด้าน ระมัดระวังที่จะนำความรู้ต่างๆ
เหล่านั้นมาใช้ในการวางแผน
2.
คุณธรรม
คือ การยึดหลักคุณธรรมเป็นแนวทาง มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน พากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
เกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture)
ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดิน
และน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กเกิดประโยชน์สูงสุด
การดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่
มี 3 ขั้นตอน คือ
1.
การผลิต >> ให้พึ่งตนเองด้วยวิธีง่ายๆ
2.
การรวมพลังกัน >> ในรูปแบบกลุ่มหรือสหกรณ์
3.
การดำเนินธุรกิจ >> โดยติดต่อประสานงาน จัดหาทุน
ขั้นแรกที่เป็นการผลิตถือเป็นขั้นสำคัญที่สุด
ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น
4 ส่วน 30 : 30 : 30
: 10
30 % ทำนาข้าว
30 % ขุดสระกักเก็บข้าวไว้ใช้
30 % ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์
10 % ที่อยู่อาศัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น