วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การขอใช้ที่สาธารณประโยชน์

 



#การขอใช้ที่สาธารณประโยชน์

🔥🔥🔥
กรณีก่อสร้างอาคารสำนักงาน สถานีดับเพลิง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น ถือเป็นการขอใช้ที่สาธารณประโยชน์อย่างถาวรจะต้องดำเนินการถอนสภาพจากการเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ ตามมาตรา ๘ วรรสอง (๑) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หากที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนยังคงใช้ประโยชน์ร่วมกันอยู่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและจัดหาที่ดินให้ประชาชนใช้แทน หากประชาชน เลิกใช้ประโยชน์แล้วก็ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยมีขั้นตอนดำเนินการพอสังเขป ดังนี้
✅✅✅
๑. ยื่นเรื่องต่อผู้ว่าราชการจังหวัด (ทต./อบต.ให้ยื่นเรื่องผ่านอำเภอ) พร้อมเอกสารโครงการก่อสร้าง แผนที่สังเขป และแผนที่ภูมิประเทศแสดงตำแหน่งที่ดินที่ขอถอนสภาพ
๒. อำเภอสอบสวนประวัติความเป็นมาพร้อมให้ความเห็น
๓. ผู้ขอจัดทำแผนที่ท้าย พ.ร.ฏ./พ.ร.บ. ถอนสภาพ โดยประสานหน่วยงานผู้อำนาจดูแล (อำเภอ) ยื่นขอรังวัดต่อสำนักงานที่ท้องที่
๔. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของราษฎรที่ใช้ประโยชน์/เคยใช้ประโยชน์ (ประชาคม)
๕. จังหวัดขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ป่าไม้ สปก.
๖. คณะกรรมการกำกับการใช้ที่ดินของรัฐ (กบร) พิจารณาให้ความเห็น
๗. จังหวัดสรุปเรื่องพร้อมความเห็นส่งให้กรมที่ดิน
๘. กรมที่ดินยกร่าง พ.ร.ฏ/พ.ร.บ. ถอนสภาพ พร้อมรูปแผนที่เสนอ มท.
๙. มท.ส่งเรื่องให้คณะกรรมการร่างกฎหมายฯ พิจารณาแล้วส่งเรื่องให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเรื่องเข้า ครม.พิจารณา
๑๐. ครม.ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา
๑๑. ครม.ให้ความเห็นชอบนำทูลเกล้าถวายลงพระปรมาภิไธย กรณีเป็น พ.ร.ฎ. เสนอสภาฯ พิจารณา กรณีเป็น พ.ร.บ.
๑๒. ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
✅✅✅
กรณีก่อสร้างสนามกีฬา/ลานกีฬา สวนสาธารณะ เป็นการขอเปลี่ยนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์จากการใช้เพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ถมคลองทำถนน ทำที่เลี้ยงสัตว์เป็นสวนสาธารณะ/สนามกีฬา เป็นต้น เป็นการขอปรับปรุงที่ดินสาธารณประโยชน์โดยสถานะของที่ดินคงเดิมและประชาชนก็ยังคงใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ โดยมีขั้นตอนดำเนินการพอสังเขป ดังนี้
✅✅✅
๑. ยื่นเรื่องต่อผู้ว่าราชการจังหวัด (ทต./อบต.ผ่านอำเภอ) พร้อมเอกสาร โครงการ งบประมาณ แผนที่ที่ดิน แผนผังการใช้ และแผนที่ภูมิประเทศ
๒. จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ประวัติความเป็นมา รวมทั้งขอทราบว่าที่ดินดังกล่าวราษฎรเลิกใช้ตั้งแต่เมื่อใด เพราะเหตุใด
๓. ขอทราบความเห็นจากส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ผังเมือง และการจราจร
๔. ขอทราบความเห็นของอำเภอและราษฎรที่เคยใช้ประโยชน์ร่วมกัน
๕. จังหวัดพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริง ประกอบความเห็นของส่วนราชการต่างๆ และราษฎร
๖. จังเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังกรมที่ดิน
๗. กรมที่ดินตรวจสอบเอกสาร รายละเอียดข้อเท็จจริง ความเห็นของส่วนราชการต่างๆ ว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะดำเนินการเสนอ มท.หรือไม่
๘. มท.พิจารณานำเสนอคณะกรรมการ ซึ่งมีปลัด มท.เป็นประธานและผู้แทนส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
๙. คณะกรรมการมีมติ
๑๐. กรมที่ดินดำเนินการตามมติ
๑๑ .มท.นำเสนอ รมต.มท.พิจารณา
๑๒ .แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอ
🙏🙏🙏
#โดยวรดล หวานแหลม นิติกรชำนาญการพิเศษ ทน.ลำปาง
Via กรรมกร สีกากี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)

 คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566) โหลดตรงนี้ https://l...