วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ ภายใต้รูปแบบการจำแนกงบรายจ่าย/ประเภทรายจ่ายฉบับใหม่การเตรียความพร้อมและวิธีปฏิบัติของ อปท.ในการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรงกับทางสำนักงบประมาณ”

การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ ภายใต้รูปแบบการจำแนกงบรายจ่าย/ประเภทรายจ่ายฉบับใหม่การเตรียความพร้อมและวิธีปฏิบัติของ อปท.ในการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรงกับทางสำนักงบประมาณ


............................................................................................................................................................................

        การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ ของ อปท. ภายใต้รูปแบบการจำแนกแผนงาน/งาน/งบรายจ่าย/ประเภทรายจ่าย (ฉบับใหม่ ๒๕๖๔)

        พวกเราทุกคนถือเป็นฝ่ายปกครองในทางกฎหมาย ฝ่ายปกครองไม่ใช่มีแค่เฉพาะที่ว่าการอำเภอ ฝ่ายปกครองเฉพาะจะถูกจำกัดอำนาจเอาไว้ แต่เมื่อทำงานราชการอยู่ฝ่ายปกครองแล้วเราต้องยึดหลักเราจะทำงานอยู่รอดปลอดภัยจนครบวาระ จนเกษียณก็คือ ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” ฝ่ายปกครองจะกระทำการใดๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายมอบอำนาจให้ในการกระทำการนั้น

        ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563 (มีผลใช้บังคับ วันที่ 26 พ.ย. 2563) “งบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า งบประมาณที่สภาท้องถิ่นให้ความเห็นชอบและผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติ แล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ ทั้งนี้ รวมทั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและการโอนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณด้วย
        “เงินนอกงบประมาณ” หมายความว่า เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากเงินที่ปรากฏตามงบประมาณรายจ่าย การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ (ข้อ 35) การใช้จ่ายเงิน
        - อุดหนุนเฉพาะกิจ
        - เงินกู้
        - เงินสะสม
        - เงินอุดหนุนจากกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีลักษณะให้ อปท. ดำเนินการตามที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะโดยไม่มีเงื่อนไขให้ อปท. พิจารณาดำเนินการตามที่ระบุไว้โดยไม่ต้องตราเป็นงบประมาณรายจ่ายตามระเบียบนี้

        ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉ.4) 2561

การจ่ายขาดเงินสะสม (ข้อ 90) กรณีที่งบประมาณรายจ่ายประกาศใช้บังคับแล้ว มีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจ่าย หรือไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนั้นไว้ ให้ อปท. จ่ายขาดเงินสะสมได้ โดยได้รับอนุมัติจากผู้บริหารท้องถิ่น ในกรณีดังต่อไปนี้

        (1) รับโอน เลื่อนระดับ เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนท้องถิ่น

        (2) เบิกเงินให้ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการสภาท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง อปท. นั้น ตลอดจนลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับเงินอื่นตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย ในระหว่างปีงบประมาณ (3) ค่าใช้จ่ายตาม (1) และหรือ (2) ให้ถือเป็นรายจ่ายในปีงบประมาณนั้น

        ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉ.4) 2561

การจ่ายขาดเงินสะสม (ข้อ 91) กรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมได้ตามความจำเป็นในขณะนั้น เช่น น้ำท่วมออกมาซื้ออาหารไม่ได้สามารถนำถุงยังชีพไปแจกได้หรือไฟไหม้ ไม่มีที่อยู่สามารถหาที่อยู่ให้ หาน้ำดื่ม หาห้องน้ำให้ผู้ประสพภัย

การใช้จ่ายเงินสะสม (ข้อ 89) อปท. อาจใช้จ่ายเงินสะสมได้ โดยได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่น ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้

      (1) ให้กระทำได้เฉพาะกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ซึ่งเกี่ยวกับ

          - ด้านการบริการชุมชนและสังคม หรือ

          - กิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้ของ อปท. หรือ

          - กิจการที่จัดทำเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาของ อปท. หรือตามที่กฎหมายกำหนด

     (2) ได้ส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมกิจการของ อปท.  แต่ละประเภทตามระเบียบแล้ว

     (3) ให้กันเงินสะสมสำรองจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่น้อยกว่าสามเดือนและกันไว้อีกร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานและกรณี ที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น

     (4) เมื่อได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินสะสมแล้ว อปท. ต้องดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีถัดไป หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้การใช้จ่ายเงินสะสมนั้นเป็นอันพับไป

ทุนสำรองเงินสะสม (ข้อ 87) ทุกวันสิ้นปีงบประมาณ เมื่อ อปท.ได้ปิดบัญชีรายรับรายจ่ายแล้วให้กันยอดเงินสะสมประจำปีไว้ร้อยละสิบห้าของทุกปี เพื่อเป็นทุนสำรองเงินสะสม อปท. อาจใช้จ่ายเงินทุนสำรองเงินสะสมได้ กรณีดังต่อไปนี้

     (1) กรณีที่ยอดเงินสะสมคงเหลือไม่ถึงร้อยละสิบห้าของเงินสะสม  ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของปีงบประมาณนั้น ให้ขอความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น และขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด

     (2) กรณีที่ปีใด อปท. มียอดเงินทุนสำรองเงินสะสมเกินร้อยละสิบห้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้น หากมีความจำเป็น อปท. อาจนำเงินทุนสำรองเงินสะสมเฉพาะในส่วนที่เกินไปใช้จ่ายได้ภายใต้เงื่อนไขข้อ 89 (1) โดยได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่นไม่ต้องถึงผู้ว่าราชการจังหวัด

การใช้งบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน (ข้อ 6)
        - ในกรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน
        - การเบิกจ่ายเงินโดยอาศัยงบประมาณรายจ่ายประจำปี   ที่ล่วงมาแล้วนั้น ให้นำเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและที่ได้มีการโอนเพิ่มหรือโอนลดรวมเข้าไปด้วย โดยให้ถือเป็นยอดเงินสูงสุดจะพึงถือจ่ายได้และให้กระทำได้เฉพาะรายจ่ายในงบกลาง งบบุคลากร งบดำเนินงาน และงบเงินอุดหนุนที่จ่ายจากเงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาล เช่น ค่าอาหารกลางวัน

        การยกเว้นระเบียบ (ข้อ 7) ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหา ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้กำหนดหลักเกณฑ์และกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

        ปลัดกระทรวงมหาดไทย อาจมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคหนึ่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้
[คำสั่งที่ 12/2564 ลว 11 ม.ค. 64 การมอบอำนาจให้ ผวจ. ปฏิบัติราชการแทน(ฉ. 2)]

        งบประมาณรายจ่ายประจำปี (ข้อ 10) งบประมาณรายจ่ายประจำปีของ อปท.  อาจจำแนกเป็น 2 ส่วน
        1. งบประมาณรายจ่ายทั่วไป
        2. งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ

        งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ (ข้อ 11) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจัดทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่นและผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบหรือนายอำเภออนุมัติ แล้วแต่กรณีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ

        การตั้งงบประมาณสนับสนุนงบเฉพาะการ (ข้อ 12) ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น อาจสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายทั่วไปไปตั้งจ่ายในงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ หรือสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการไป ตั้งจ่ายในงบประมาณรายจ่ายทั่วไปได้

        งบประมาณรายจ่ายทั่วไป (ข้อ 13) งบประมาณรายจ่ายทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
        - รายจ่ายงบกลาง และ
        - รายจ่ายตามแผนงาน

        เงินสำรองจ่าย (ข้อ 19) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกำหนดให้มีเงินสำรองจ่าย   ในงบกลาง
        - เพื่อกรณีฉุกเฉินที่มีเหตุสาธารณภัยเกิดขึ้น หรือ
        - กรณีการป้องกันและยับยั้งก่อนเกิดสาธารณภัยหรือ คาดว่าจะเกิดสาธารณภัย หรือ
        - กรณีฉุกเฉินเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นส่วนรวมได้ การใช้เงินสำรองจ่ายตามวรรคหนึ่งเป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น

        รายจ่ายตามแผนงาน  (ข้อ 14) รายจ่ายตามแผนงาน จำแนกเป็นสองลักษณะ คือ
        (1) รายจ่ายประจำ ประกอบด้วย
             (ก) งบบุคลากร หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคลากรท้องถิ่น ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจำ และค่าจ้างชั่วคราว
             (ข) งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค

            (ค) งบเงินอุดหนุน หมายถึง เงินที่ อปท. ตั้งงบประมาณอุดหนุนให้แก่หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนเพื่อให้ดำเนินการตามภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ตามกฎหมาย
            (ง) งบรายจ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดงบรายจ่ายหนึ่ง หรือรายจ่ายที่กำหนดให้ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้
        (2) รายจ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ งบลงทุน ซึ่งเป็นรายจ่าย ในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

        การจำแนกลักษณะรายจ่าย (ข้อ 15) งบประมาณรายจ่ายซึ่งตั้งจ่ายจากเงินอุดหนุนทั่วไปตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเงินประเภทอื่นที่ต้องนำมาตั้งงบประมาณรายจ่าย ให้จำแนกลักษณะรายจ่ายตามข้อ 14

พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ในการจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น และเงินค่าจ้างของข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้าง ที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนและเงินกู้หรือเงินอื่นใดนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะกำหนด สูงกว่าร้อยละสี่สิบของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่ได้

        หลักการตั้งงบประมาณ (ข้อ 16) การตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กระทำตามที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยกำหนด

งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (ข้อ 21)  การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จะกระทำได้ต่อเมื่อ
        - งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติแล้วไม่พอแก่การใช้จ่าย หรือ
        - มีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ต้องแสดงให้ปรากฏในงบประมาณรายจ่ายด้วยว่า จะจ่ายจาก
        - เงินรายได้ที่มิได้ตั้งรับไว้ในประมาณการรายรับ หรือ
        - เงินรายได้ที่เกินยอดรวมทั้งสิ้นของประมาณการรายรับประจำปี

งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (ข้อ 21) การตรางบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จะกระทำได้ต่อเมื่อ
        - งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติแล้วไม่พอแก่การใช้จ่าย หรือ
        - มีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ต้องแสดงให้ปรากฏในงบประมาณรายจ่ายด้วยว่า จะจ่ายจาก
        - เงินรายได้ที่มิได้ตั้งรับไว้ในประมาณการรายรับ หรือ
        - เงินรายได้ที่เกินยอดรวมทั้งสิ้นของประมาณการรายรับประจำปี

ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ ข้อ 22
        - ให้ใช้แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณ
        - ให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำประมาณการรายรับ และประมาณการรายจ่าย และ
        - ให้หัวหน้าหน่วยงานคลัง รวบรวมรายงานการเงินและสถิติต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานเพื่อใช้ประกอบการคำนวณขอตั้งงบประมาณ
        - เสนอต่อเจ้าหน้าที่งบประมาณ

ขั้นตอนการเสนองบประมาณ (ข้อ 23)
        - ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณทำการพิจารณาตรวจสอบ วิเคราะห์ และแก้ไขงบประมาณในชั้นต้น แล้วเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น
        - เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น ได้พิจารณาอนุมัติให้ตั้งเงินงบประมาณยอดใด เป็นงบประมาณประจำปีแล้ว
        - ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณรวบรวมและจัดทำเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง
        - ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่นภายในวันที่ 15 สิงหาคม กรณีเสนอร่างงบประมาณไม่ทันภายในกำหนดเวลา (ข้อ 24)
        - ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถนำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อสภาท้องถิ่นได้ทันภายในวันที่ 15 สิงหาคม
        - ให้ผู้บริหารท้องถิ่นรายงานให้สภาท้องถิ่นทราบโดยอาจกำหนดระยะเวลาที่คาดหมายว่าจะเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สภาท้องถิ่นเพื่อให้ความเห็นชอบด้วยก็ได้
        - แล้วให้ผู้บริหารท้องถิ่นรายงานให้ผู้กำกับดูแลทราบด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีสามารถใช้บังคับได้ทันในวันเริ่มต้นปีงบประมาณ

การโอนงบประมาณ
        หลัก การโอนเงินงบประมาณรายจ่ายต่าง ๆ ให้เป็นอำนาจอนุมัติของผู้บริหารท้องถิ่น (ข้อ 26)
        ข้อยกเว้น การโอนเงินงบประมาณรายจ่ายในงบลงทุนโดยการโอนเพิ่ม โอนลด ที่ทำให้ลักษณะ ปริมาณ คุณภาพเปลี่ยน หรือโอนไปตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ ให้เป็นอำนาจอนุมัติของสภาท้องถิ่น (ข้อ 27)

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจง
        หลัก การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงประมาณการรายรับหรืองบประมาณรายจ่าย ให้เป็นอำนาจอนุมัติของผู้บริหารท้องถิ่น (ข้อ 28)
        ข้อยกเว้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่ายในงบลงทุน  ที่ทำให้ลักษณะ ปริมาณ คุณภาพเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้าง ให้เป็นอำนาจอนุมัติของสภาท้องถิ่น (ข้อ 29)

        การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงเงินกัน (ข้อ 30) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายการที่ได้กันเงินหรือขยายเวลาการเบิกจ่ายเงินไว้แล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจให้กันเงิน หรือขยายเวลาการเบิกจ่ายเงิน

        การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรณีก่อหนี้ผูกพัน (ข้อ 31) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายการที่ได้  ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้วหากมิได้เพิ่มวงเงิน ให้เป็นอำนาจอนุมัติของผู้บริหารท้องถิ่น

การควบคุมงบประมาณ (ข้อ 33)
        ให้ผู้บริหารท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่งบประมาณรับผิดชอบร่วมกันในการควบคุมงบประมาณรายจ่ายและเงินนอกงบประมาณ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย โดยมีหัวหน้าหน่วยงานคลังเป็นผู้ช่วยเหลือ และให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้คือ
        (1) ควบคุมการรับ และการเบิกจ่ายเงิน
        (2) ควบคุมบัญชี รายงาน และเอกสารอื่นเกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน และหนี้
        (3) ตรวจสอบเอกสารรับจ่ายเงิน การขอเบิกเงิน และการก่อหนี้ผูกพัน

การก่อหนี้ผูกพันมากกว่า 1 ปีงบประมาณ (ข้อ 37)
        อปท. อาจก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายมากกว่า 1 ปีงบประมาณได้   โดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
        (1) ไม่อาจแยกงบประมาณตั้งจ่ายเพื่อดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณได้
        (2) มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะดำเนินการในปีงบประมาณเดียว หรือมีความจำเป็นต้องก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณ
        (3) ให้ก่อหนี้ผูกพันได้ไม่เกิน 3 ปีงบประมาณ เว้นแต่ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ ประกาศของกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้เป็น อย่างอื่น
        (4) จัดทำเป็นงบประมาณรายจ่าย โดยจะต้องระบุในงบประมาณรายจ่ายปีปัจจุบัน และงบประมาณรายจ่ายปีถัดไปที่จะก่อหนี้ผูกพันให้ชัดเจน

การเผยแพร่งบประมาณรายจ่าย (ข้อ 38)
        ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดส่งสำเนางบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติให้ประกาศใช้แล้วไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลให้ส่งนายอำเภอ เพื่อทราบภายในระยะเวลาไม่เกินสิบห้าวัน นับแต่วันสิ้นสุดการประกาศ โดยเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนทราบ ณ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้เผยแพร่ทางเว็บไซต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย

รายงานการรับ จ่ายเงิน (ข้อ 39)
        - เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้ อปท. ประกาศรายงานการ
รับ – จ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดนั้น  ทั้งงบประมาณรายจ่ายและเงินนอกงบประมาณไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงาน อปท. เพื่อให้ประชาชนทราบ ภายในกำหนด 30 วัน
        - ส่งสำเนารายงานการรับ – จ่ายเงินดังกล่าวไปให้ ผวจ. ภายในระยะเวลา 15 วันหลังจากนั้น แล้วให้จังหวัดรายงานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ

รูปแบบและการจำแนกประเภทรายรับ - รายจ่าย งบประมาณรายจ่ายประจำปี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ที่ มท 0808.2/ว 1095 ลว 28 พ.ค. 64)

การตั้งงบประมาณด้านรายรับ
        1. ให้ อปท. จัดทำประมาณการรายรับทั้งปีให้ครบ ทุกหมวดรายรับ
        2. รายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง ภาษีจัดสรร ให้ประมาณการให้ใกล้เคียงกับปีงบประมาณที่ผ่านมา
        3. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้ประมาณการตามที่กฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกำหนด
        4. เงินอุดหนุนทั่วไปให้ประมาณการรายรับใกล้เคียงกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในปีปัจจุบัน

การจำแนกแผนงานตามรูปแบบงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(4 ด้าน 12 แผนงาน 41 งาน)

        1. ด้านบริหารทั่วไป  2 แผนงาน

           1.1 แผนงานบริหารงานทั่วไป

           1.2 แผนงานการรักษาความสงบภายใน

        2. ด้านบริการชุมชนและสังคม  6 แผนงาน

           2.1 แผนงานการศึกษา

           2.2 แผนงานสาธารณสุข

           2.3 แผนงานสังคมสงเคราะห์

           2.4 แผนงานเคหะและชุมชน

           2.5 แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

           2.6 แผนงานการศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ

3. ด้านการเศรษฐกิจ 3 แผนงาน

           3.1 แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา

           3.2. แผนงานการเกษตร

           3.3 แผนงานการพาณิชย์

        4. ด้านการดำเนินงานอื่น 1 แผนงาน

           4.1 แผนงานงบกลาง

หมายเหตุ  1. อปท. มีอิสระที่จะพิจารณาตั้งงบประมาณรายจ่ายตามแผนงานและงานดังกล่าวข้างต้น ได้ตามอำนาจหน้าที่ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายและสถานะทางการคลัง 2. ภารกิจสำนัก/กอง อาจจะมีอยู่ในแผนงานเดียวกัน ในการจัดทำเอกสารสามารถวงเล็บต่อท้ายในโครงการ/กิจกรรมว่าเป็นของสำนัก/กองใด เช่น

             แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา  งานก่อสร้าง

             - โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (กองการศึกษา)

             - โครงการก่อสร้างถนน (กองช่าง)

1. รายจ่ายงบกลาง

2. รายจ่ายตามแผนงาน

        2.1 งบบุคลากร

        2.2 งบดำเนินงาน

             - ค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ และสาธารณูปโภค

        2.3 งบลงทุน

             - ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

        2.4 งบเงินอุดหนุน

        2.5 งบรายจ่ายอื่น ๆ

        รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ อปท. มีภาระผูกพันต้องจ่ายและเป็นรายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้หน่วยงานต่าง ๆ เบิกจ่าย

        กรณีที่ไม่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยกำหนดเป็นการเฉพาะ ให้สำนักปลัด อปท. หรือผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณามอบให้หน่วยงานตามที่สมควรเป็นหน่วยงานผู้เบิกจ่าย

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตั้งงบประมาณของ อปท.เพื่อสมทบกองทุน พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

     กองทุน” หมายความว่า กองทุนหรือทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย ได้แก่

        (1) กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (22 ม.ค. 62)

        (2) กองทุนสวัสดิการชุมชนที่ประชาชนในชุมชนร่วมกันจัดตั้งขึ้น และได้รับ การรับรองตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (24 มี.ค. 63)

        (3) กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมทบกองทุน (30 เม.ย. 65)

การตั้งงบประมาณสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพ (ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ พ.ศ. 2561)

- อปท. สมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพ

(1) สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 กรณีรายได้ของ อปท. ไม่รวมเงินอุดหนุน ต่ำกว่า 6 ล้านบาท

(2) สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 กรณีรายได้ของ อปท. ไม่รวมเงินอุดหนุน ตั้งแต่ 6 ถึง 20 ล้านบาท

(3) สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 กรณีรายได้ของ อปท. ไม่รวมเงินอุดหนุน สูงกว่า 20 ล้านบาท

รายจ่ายตามแผนงาน    
1. งบบุคลากร
           หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคล ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างพนักงานจ้าง และค่าตอบแทนของข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

งบบุคลากร (เงินเดือน ค่าจ้างประจำ และค่าจ้างชั่วคราว)
ฝ่ายการเมือง
(1) เงินเดือนนายก/รองนายก อปท.
(2) ค่าตอบแทนรายเดือนนายก/รองนายก อปท.
(3) ค่าตอบแทนประจำตำแหน่งนายก/รองนายก
(4) ค่าตอบแทนพิเศษนายก/รองนายก
(5) ค่าตอบแทนรายเดือนเลขานุการ/ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
(6) เงินเดือนเลขานุการ/ที่ปรึกษา  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(7) ค่าตอบแทนประธานสภา/ รองประธานสภา/สมาชิกสภา/เลขานุการสภา อปท.
(8) ค่าตอบแทนอื่น

2. งบดำเนินงาน
        หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย วัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้ จ่ายในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
.. 2562 (ใช้บังคับ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2562)

ข้อ 11 ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอย มีดังต่อไปนี้
        (1) ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการระหว่างการรับเสด็จ ส่งเสด็จ หรือเกี่ยวเนื่องกับการรับเสด็จ ส่งเสด็จ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์
        (2) ค่าจ้างเอกชนดำเนินงานของ อปท.
        (3) ค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ หรือการประชาสัมพันธ์งานของ อปท.
        (4) ค่าพานพุ่มดอกไม้ พานประดับพุ่มดอกไม้ พานพุ่มเงินพุ่มทอง กรวยดอกไม้ พวงมาลัย ช่อดอกไม้ กระเช้าดอกไม้ หรือพวงมาลา  สาหรับวางอนุสาวรีย์ หรือใช้ในการจัดงาน การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสต่าง ๆ
        (5) ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมราชการของ อปท. และให้หมายรวมถึงการประชุมราชการทางไกลผ่านดาวเทียม เช่น ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหาร  ในกรณีที่มีการประชุมคาบเกี่ยวมื้ออาหาร ค่าเช่าห้องประชุม ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น เป็นต้น

        (6) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหาร สำหรับกรณีหน่วยงานอื่นหรือบุคคลภายนอกเข้าดูงานหรือเยี่ยมชม อปท. หรือกรณีการตรวจเยี่ยมหรือตรวจราชการ การแถลงข่าวของ อปท. การมอบเงินหรือสิ่งของบริจาคให้ อปท.
        (7) ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินของ อปท. ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพ หรือชำรุดเสียหายจากการใช้งานปกติ
        (8) ค่าของขวัญหรือของที่ระลึกที่มอบให้ชาวต่างประเทศ กรณีเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว กรณีชาวต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทย ในนามของ อปท. เป็นส่วนรวม
        (9) ค่าโล่ ใบประกาศเกียรติคุณ ค่ากรอบใบประกาศเกียรติคุณ สำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุ หรือผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือควรได้รับการยกย่องจากทางราชการ
        (10) ค่าใช้จ่ายในการจัดทำเว็บไซต์

        (11) ค่าธรรมเนียมในการคืนบัตร เปลี่ยนบัตรโดยสารพาหนะในการเดินทางไปราชการหรือค่าบัตรโดยสารที่ไม่สามารถคืนหรือเปลี่ยนบัตรได้กรณีเลื่อนการเดินทางไปราชการ กรณี อปท. สั่งให้งด หรือเลื่อนการเดินทางไปราชการ และให้รวมถึงกรณีเหตุสุดวิสัย อื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ทั้งนี้ ต้องมิได้เกิดจากตัวผู้เดินทางเป็นเหตุ
        (12) ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อความสะดวกของ อปท. ที่มิใช่เป็นการร้องขอของผู้มีสิทธิรับเงิน
        (13) ค่าใช้จ่ายในการใช้สถานที่อื่นชั่วคราวของ อปท.
        (14) ค่าใช้จ่ายในการประดับ ตกแต่งอาคารสถานที่ของ อปท.
        (15) ค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกำจัดแมลง แมง หนู หรือสัตว์  ที่อาจเป็นพาหะนำโรคร้ายมาสู่คน และให้หมายความรวมถึงการกำจัดเชื้อโรคหรือเชื้อราของ อปท. หรือบ้านพักที่ อปท. จัดไว้ให้

        (16) ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาหารสำหรับผู้ป่วยสามัญ ผู้ป่วยโรคเรื้อน ของสถานบริการของ อปท. หรืออาหาร นม อาหารเสริม สำหรับเด็กที่อยู่ในการสงเคราะห์ของ อปท.
        (17) ค่าใช้จ่ายในการเป็นสมาชิก หรือการจัดซื้อหนังสือ จุลสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในราชการโดยส่วนรวม
        (18) ค่าบริการในการกำจัดสิ่งปฏิกูล จัดเก็บขยะของ อปท. ค่าบริการ  ในการกำจัดสิ่งปฏิกูล บ้านพักของ อปท. กรณีไม่มีผู้พักอาศัย
        (19) ค่าผ่านทางด่วนพิเศษ ค่าบริการจอดรถในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ สำหรับรถยนต์ของ อปท. ตามระเบียบว่าด้วยรถราชการ ซึ่ง อปท. ได้มาโดยวิธีการซื้อ การยืม การเช่า หรือรับบริจาค หรือได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศและขึ้นทะเบียนเป็นครุภัณฑ์ของ อปท. นั้น
        (20) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัด ผลิตรายการ และถ่ายทอดทางสถานี โทรทัศน์ และวิทยุ

        (21) ค่าระวาง บรรทุก ขนส่งพัสดุหรือพัสดุภัณฑ์ของ อปท.  ยกเว้นค่าระวาง บรรทุก ขนส่งพัสดุหรือพัสดุภัณฑ์ในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ
        (22) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้พัสดุที่ยืมจากหน่วยงานอื่น   เพื่อใช้ปฏิบัติราชการ กรณีจำเป็นเร่งด่วนเป็นการชั่วคราว
        (23) ค่าตรวจร่างกายของบุคลากรเพื่อตรวจหาสารกัมมันตภาพรังสี และเชื้อเอชไอวีจากการปฏิบัติงานตามภารกิจปกติ และไม่ถือเป็นสวัสดิการการรักษาพยาบาลที่พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือลูกจ้างประจำ   ที่จะใช้สิทธิเบิกจ่ายตามกฎหมายเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
        ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

 

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอย (5) ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมราชการ
(ที่ มท 0808.2/ว 0766 ลว. 5 ก.พ. 2563)

        (1) การประชุมราชการภายในหน่วยงานประจำเดือน
        (2) การประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ต่าง ๆ ที่ได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย ระเบียบ หนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย หรือคำสั่งของ อปท.
        (3) การประชุมสภาท้องถิ่น หรือคณะกรรมการที่สภาท้องถิ่นตั้งขึ้น
        (4) การประชุมประชาคมหมู่บ้านเพื่อบูรณาการจัดทำแผนชุมชน หรือเรื่องอื่น ที่กฎหมาย ระเบียบ หรือหนังสือสั่งการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
        (5) การประชุมระหว่าง อปท. กับ อปท.
        (6) การประชุมระหว่าง อปท. กับส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชน
        (7) การประชุมกรณีอื่นที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของ อปท.

2. ให้ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้ใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่ารับรอง ได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ แต่ไม่เกินอัตราของกระทรวงการคลังที่กำหนดให้ส่วนราชการ
             - อาหารว่างและเครื่องดื่ม (35/50) และอาหาร(120) ในการจัดประชุม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้เข้าร่วมประชุม
             - ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการจัดประชุม เช่น  ค่าเช่าห้องประชุม ค่าดอกไม้ ตกแต่งสถานที่ประชุม เป็นต้น

3. หลักฐานการเบิกจ่าย
            - ค่าใช้จ่ายในการประชุมราชการ ให้ใช้หลักฐานการจ่ายเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินของ อปท. พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ข้อ 52 หลักฐานแสดงว่าเงินจำนวนที่ขอเบิกถูกต้องตามวัตถุประสงค์)
            - ให้เจ้าหน้าที่ที่จัดการประชุมเป็นผู้รับรองการจัดประชุม และจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และค่าอาหาร โดยไม่ต้องแนบบัญชีลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

แนวทางการปฏิบัติในการดำเนินการจัดหาพัสดุ ที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ค่าใช้จ่าย     
ในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมของหน่วยงานของรัฐ (ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ.) 0405.2/ว 119 ลว. 7 มี.ค. 2561)

ตาราง 1 ปกติต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างฯ ข้อ 22 วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการดังนี้

1. ใช้กับการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการบริหารงานที่มีวงเงินการจัดซื้อ จัดจ้างครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 1 หมื่นบาท

2. ให้เจ้าหน้าที่ หรือผู้ได้รับมอบหมายดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบพร้อมหลักฐานการจัดซื้อ

จัดจ้าง เสนอต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ภายใน 5 วันทำการถัดไป

3. เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานขอความเห็นชอบดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม

ตาราง 1 ปกติต้องจัดซื้อจัดจ้าง

        1. ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการระหว่างการรับเสด็จ หรือเกี่ยวเนื่องกับ

การรับเสด็จ ส่งเสด็จพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์

        2. ค่าพานพุ่มดอกไม้ พานประดับพุ่มดอกไม้ พานพุ่มเงินพุ่มทอง กรวยดอกไม้พวงมาลัย ช่อดอกไม้ กระเช้าดอกไม้ หรือพวงมาลา สำหรับวางอนุสาวรีย์ หรือใช้ในการจัดงานการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสต่าง ๆ

        3. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมราชการ สัมมนา จัดงานและให้หมายความรวมถึงการประชุมราชการทางไกลผ่านดาวเทียม ตามที่จำเป็น เช่น ค่าเสื่อมสถานที่อบรม ค่าเช่ารถ ค่ากระเป๋า ค่าเอกสาร และอุปกรณ์เครื่องเขียน ค่าดอกไม้ ค่าตกแต่งสถานที่ ค่าป้ายไวนิล ค่าของที่ระลึกวิทยากร

        4. ค่าของขวัญหรือของที่ระลึกที่มอบให้ชาวต่างประเทศ กรณีเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว กรณีชาวต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทย ในนามของหน่วยงานของรัฐเป็นส่วนรวม

        5. ค่าโล่ ใบประกาศเกียรติคุณ ค่ากรอบใบประกาศเกียรติคุณ สำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เกษียณอายุ หรือผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือควรได้รับการยกย่อง

        6. ค่าใช้จ่ายในการประดับ ตกแต่งอาคารสถานที่ของหน่วยงานของรัฐ

        7. ค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกำจัดแมลง แมง หนู หรือสัตว์ที่อาจเป็นพาหะนำโรคร้ายมาสู่คน และให้หมายความรวมถึงการกำจัดเชื้อโรคหรือเชื้อราตามหน่วยงานของรัฐหรือบ้านพักที่ทางราชการจัดไว้ให้

        8. ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาหารสำหรับผู้ป่วยสามัญ ผู้ป่วยโรคเรื้อนของสถานบริการของหน่วยงานของรัฐหรืออาหาร นม อาหารเสริมสำหรับเด็กที่อยู่ในสงเคราะห์ของทางราชการ หรือหน่วยงานของทางราชการ

        9. ค่าใช้จ่ายในการเป็นสมาชิก หรือการจัดซื้อหนังสือ จุลสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในราชการโดยส่วนรวม

        10. ค่าบริการในการกำจัดสิ่งปฏิกูล จัดเก็บขยะของหน่วยงานของรัฐ ค่าบริการในการกำจัดสิ่งปฏิกูลบ้านพักของทางราชการกรณีไม่มีผู้พักอาศัย

        11. ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากการใช้พัสดุที่ยืมจากหน่วยงานอื่น เพื่อใช้ในการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานกรณีจำเป็นเร่งด่วนเป็นการชั่วคราว

        12. ค่ารับรองและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องในการรับรอบุคคลภายนอก

        13. ค่าน้ำดื่ม

ตาราง 2 ไม่ต้องจัดซื้อจัดจ้าง

     1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารในกรณีที่มีการประชุมคาบเกี่ยวมื้ออาหาร ค่าตอบแทนวิทยากร และค่าเช่าที่พัก สำหรับการจัดประชุมราชการ และให้หมายความรวมถึงการประชุมราชการทางไกลผ่านดาวเทียม การจัดสัมมนา การจัดงานทั้งในและนอกสถานที่ของหน่วยงานของรัฐ

     2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกรณีหน่วยงานอื่นหรือบุคคลภายนอก เข้าดูงาน หรือเยี่ยมชมหน่วยงานของรัฐ หรือกรณีการตรวจเยี่ยม หรือตรวจราชการ ตามภารกิจปกติของบุคลากรภายในหน่วยงานของรัฐ การแถลงข่าวของหน่วยงานของรัฐ การมอบเงินหรือสิ่งของบริจาค

     3. ค่าธรรมเนียมในการคืนบัตร เปลี่ยนบัตรโดยสารพาหนะในการเดินทางไปราชการ หรือค่าบัตรโดยสารที่ไม่สามารถคืนหรือเปลี่ยนแปลงได้กรณีเลื่อนการเดินทางไปราชการ กรณีหน่วยงานของรัฐให้งดหรือเลื่อนการเดินทางไปราชการ และให้รวมถึงกรณีเหตุสุดวิสัยอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้

     4. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่มิใช่ค่าธรรมเนียมธนาคารเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อความสะดวกของส่วนราชการที่มิใช่เป็นการร้องขอของผู้มีสิทธิรับเงิน

      5. ค่าผ่านทางด่วนพิเศษ ค่าบริการจอดรถในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ สำหรับรถยนต์ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐตามระเบียบว่าด้วยรถราชการหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งหน่วยงานของรัฐได้มาโดยวิธีการซื้อ การยืม หรือรับบริจาค หรือได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศและขึ้นทะเบียนเป็นครุภัณฑ์ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้น การเช่า

        6. ค่าพาหนะกรณีได้รับมอบหมายให้เดินทางไปปฏิบัติราชการ ซึ่งหน่วยงานของรัฐไม่สามารถจัดรถยนต์ส่วนกลางได้

        7. ค่าระวาง บรรทุก ขนส่งหรือพัสดุภัณฑ์ของหน่วยงานของรัฐ ยกเว้นค่าระวาง บรรทุก ขนส่งพัสดุ หรือพัสดุภัณฑ์ในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ

        8. ค่าตรวจร่างกายของบุคลากรเพื่อตรวจหาสารกัมมันตภาพรังสี และเชื้อเอชไอวีจากการปฏิบัติงานตามภารกิจปกติ และไม่ถือเป็นสวัสดิการการรักษาพยาบาล ที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำหรือ พนักงานของหน่วยงานของรัฐ   ที่จะใช้สิทธิเบิกจ่ายตามกฎหมายเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

        9. ค่ารักษาพยาบาลสัตว์และค่าตรวจสุขภาพสัตว์ สำหรับหน่วยงานที่ภารกิจปกติในการดูแลสัตว์

      10. ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ของหน่วยงานของรัฐและบ้านพักราชการ ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าฝากไปรษณีย์ ค่าบริการไปรษณีย์ตอบรับ ค่าดวงตราไปรษณีย์ หรือค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ ค่าธรรมเนียมธนาคารเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อความสะดวกของส่วนราชการที่มิใช่เป็นการร้องขอ ของผู้มีสิทธิรับเงิน

        11. ค่าสมาชิกหรือค่าบำรุงประจำปีของสถาบัน องค์กร หรือสโมสรต่าง ๆ

        12. ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนในการจ้างให้บริการสันทนาการ หรือค่าตอบแทนอื่นในลักษณะเดียวกัน

 

 

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ (ข้อ 6 ฉ.2)

- กรณีเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ของ อปท. ไม่ว่าจะมีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือไม่ก็ตาม อปท. สามารถช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้น โดยฉับพลันทันที เพื่อการดำรงชีพ หรือบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า หรือระงับสาธารณภัย หรือเพื่อคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน หรือป้องกันภยันตรายที่จะเกิดแก่ประชาชน ได้ตามความจำเป็น โดยไม่ต้องเสนอคณะกรรมการพิจารณา

- ในกรณีการช่วยเหลือประชาชน เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูหลังเกิดสาธารณภัย หรือการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือการป้องกันและระงับโรคติดต่อ หรือ การช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยให้เสนอคณะกรรมการให้ความเห็นชอบก่อน

ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือกรณีไม่เร่งด่วน (ข้อ 7 ฉ.2)

        กรณีมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อเยียวยาหรือฟื้นฟูหลังเกิดสาธารณภัย ให้ อปท. ดำเนินการ ดังนี้

        (1) กรณีมีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่เกิดภัย ให้รายงานอำเภอ หรือจังหวัด หรือหน่วยงาน   ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณานำเงินทดรองราชการเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

         (2) กรณีมิได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่เกิดภัย ในการช่วยเหลือประชาชน ให้ อปท. เสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้ ไม่เกินหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบนี้ 

การช่วยเหลือด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต (ข้อ 12 ฉ.2)

- การให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากกรณีการช่วยเหลือด้านสาธารณภัยฉุกเฉิน ให้ อปท. ประกาศให้ประชาชนที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือ ยื่นลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือต่อ อปท. เพื่อเสนอคณะกรรมการ

- ในกรณีเกิดอัคคีภัยที่ไม่เข้าข่ายภัยพิบัติ ในการช่วยเหลือประชาชนให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการที่จะพิจารณาการให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็น เหมาะสม ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

การช่วยเหลือประชาชนด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

1. หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ

    เป็นครอบครัวผู้มีรายได้น้อยที่ประสบความเดือดร้อน เพราะสาเหตุหัวหน้าครอบครัว
   (1) ตาย
   (2) ทอดทิ้ง สาบสูญ หรือต้องโทษจําคุก
   (3) เจ็บป่วยร้ายแรงหรือพิการจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้
   (4) ประสบภาวะยากลําบากในการดํารงชีพ
   (5) ไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ด้วยเหตุอื่นใด

2. การให้ความช่วยเหลือ

   ช่วยเหลือด้านการเงิน หรือสิ่งของไม่เกิน ครั้งละ 3,000 บาทต่อครอบครัว และช่วยติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้งต่อครอบครัวต่อปีงบประมาณ ตามรายการ ดังนี้
        (1) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภค และหรือค่าใช้จ่ายในการครองชีพตามความจําเป็น
        (2) ค่ารักษาพยาบาล เช่น ค่ายา ค่าอุปกรณ์การรักษา ค่าอาหาร ที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลของทางราชการสั่ง และรวมถึงค่าพาหนะ ค่าอาหาร ระหว่างติดต่อรักษาพยาบาล เท่าที่จําเป็น เว้นแต่ในกรณีได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น
        (3) ค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเท่าที่จําเป็น

        (4) ช่วยเหลือเงินทุนประกอบอาชีพ รวมถึงการรวมกลุ่ม

3. ขั้นตอนการดำเนินการ

        1. อปท. ประกาศให้ประชาชนที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือยื่นลงทะเบียน

        2. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจสอบข้อมูล

        3. เสนอรายชื่อประชาชนต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

        4. ปิดประกาศรายชื่อให้ประชาชนทราบไม่น้อยกว่า 15 วัน

        5. คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ

        6. จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แล้วตั้งงบประมาณ

        7. ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายเงิน

        8 งบประมาณให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบดำเนินงาน

ค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะงบรายจ่ายอื่น

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2559 แก้ไขเพิ่มเติมถึง
(ฉ.
2) พ.ศ. 2563 (21 ก.ค. 63)

การอุดหนุนหน่วยงานอื่น (ข้อ 3)

     “เงินอุดหนุน” หมายความว่า เงินที่ อปท. ตั้งงบประมาณอุดหนุนให้แก่หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนเพื่อให้ดำเนินการตามภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ของ อปท. ตามกฎหมาย หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุน”

        (1)  อปท.  และ อปท. อื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง

        (2) ส่วนราชการ ได้แก่ ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

        (3) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้า การประปา และองค์การจัดการน้ำเสีย

        (4) องค์กรประชาชน ได้แก่ องค์กรซึ่งเป็นการรวมของประชาชนที่จัดตั้งโดยถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับของหน่วยงานของรัฐ หรือหนังสือสั่งการของกระทรวง มหาดไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

        (5) องค์กรทางศาสนา ซึ่งจัดตั้งโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือระเบียบ หรือข้อบังคับของหน่วยงานของรัฐ เช่น วัด มัสยิด

        (6) องค์กรการกุศล ได้แก่ องค์กรซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดำเนินงานการกุศลหรือบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ มิใช่การมุ่งแสวงหากำไรที่จัดตั้งตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของหน่วยงานของรัฐ เช่น มูลนิธิ เหล่ากาชาดจังหวัด

หลักเกณฑ์การตั้งงบประมาณให้เงินอุดหนุน (ข้อ 4)

     (1) โครงการที่จะให้เงินอุดหนุนต้องเป็นภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และต้องไม่มีลักษณะเป็นเงินทุนหมุนเวียนและโครงการที่มีลักษณะเป็นการจัดเลี้ยงอาหาร หรือการจัดกิจกรรมนันทนาการ

        ห้ามมิให้อุดหนุนหน่วยงานอื่นในการจัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง เว้นแต่จะอุดหนุนให้แก่ อปท.

     (2) ประชาชนในเขตต้องได้รับประโยชน์จากโครงการ

     (3) ต้องให้ความสำคัญกับโครงการอันเป็นภารกิจหลักตามแผนพัฒนาท้องถิ่นที่จะต้องดำเนินการเอง และสถานะทางการคลังก่อนที่จะพิจารณาให้เงินอุดหนุน

     (4) ถ้าเห็นสมควรให้เงินอุดหนุนให้นำโครงการขอรับเงินอุดหนุนบรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น และตั้งงบประมาณไว้ในหมวดเงินอุดหนุน  ห้ามจ่ายจากเงินสะสม ทุนสำรองเงินสะสม หรือเงินกู้

อัตราส่วนการให้เงินอุดหนุน (ข้อ 5)

- ตั้งงบประมาณให้เงินอุดหนุนได้ไม่เกินอัตราส่วนของรายได้จริงในปีงบประมาณที่ผ่านมาโดยไม่รวมเงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรให้    

     (1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด ไม่เกินร้อยละ 10

     (2) เทศบาลนคร ไม่เกินร้อยละ 2

     (3) เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล ไม่เกินร้อยละ 3

     (4) องค์การบริหารส่วนตำบล ไม่เกินร้อยละ 5

    กรณีจะตั้งเกินอัตราให้ขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนการตั้งงบประมาณ โดยส่วนที่เกินจะต้องไม่เกินหนึ่งเท่าของอัตราส่วน

การให้เงินอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ (ข้อ 6)

     - ภารกิจเฉพาะของรัฐวิสาหกิจซึ่ง อปท. ไม่สามารถดำเนินการได้ อาจร้องขอให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการแทน

     - แจ้งให้รัฐวิสาหกิจจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายให้ แล้วบรรจุในแผน และตั้งงบประมาณในหมวดเงินอุดหนุน

     - ไม่นำมานับรวมคำนวณอยู่ในอัตราส่วน

เงินอุดหนุนตามกฎหมายกำหนดแผนฯ (ข้อ 7)

- กรณี อปท. ตั้งงบประมาณให้เงินอุดหนุนหน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุน โดยใช้เงินอุดหนุนที่ได้รับในลักษณะที่กำหนดให้ อปท. ดำเนินการไว้เป็นการเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ

- ให้หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการโดยถือว่าประมาณการค่าใช้จ่ายเป็นการเสนอโครงการขอรับเงินอุดหนุน

- ไม่ต้องมีเงินงบประมาณในส่วนของตนเองร่วมสมทบ

- ไม่นำเงินอุดหนุนมานับรวมคำนวณอยู่ในอัตราส่วน

หลักเกณฑ์การขอรับเงินอุดหนุน (ข้อ 8)

     หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนดำเนินการ ดังนี้

     (1) เสนอโครงการขอรับเงินอุดหนุนซึ่งต้องเป็นภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุน

     (2) กรณี อปท. และส่วนราชการ ยกเว้น ข้อ 7  ต้องมีงบประมาณในส่วนของตนเองร่วมสมทบ ในกรณีเป็นโครงการก่อสร้าง ปรับปรุงหรือซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างตามจำแนกงบประมาณ ต้องมีงบประมาณสมทบ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายโครงการ เว้นแต่กรณีเป็นนโยบายรัฐบาล หรือกระทรวงมหาดไทย   ส่วนกรณีอื่น ๆ ให้ อปท. พิจารณาตามสถานะทางการคลัง

     (3) หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนต้องดำเนินการตามโครงการเอง โดยไม่สามารถมอบหมายให้หน่วยงานอื่นดำเนินการแทนได้

การดำเนินการของ อปท. เมื่องบประมาณมีผลใช้บังคับ (ข้อ 9)

     - แจ้งหน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนทราบโดยแจ้งห้ามดำเนินการ หรือก่อหนี้ผูกพันก่อนที่จะได้รับเงินอุดหนุนไปพร้อม เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน หรือการอุดหนุนงบประมาณตามข้อ 7

     - ก่อนที่ อปท. จะเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุน ให้ อปท. จัดทำบันทึกข้อตกลงกับหัวหน้าหน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุน เว้นแต่กรณีการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ 6 และข้อ 7

     - สำหรับองค์กรประชาชน องค์กรทางศาสนา และองค์กรการกุศลให้จัดทำบันทึกข้อตกลงกับผู้แทนของหน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนดังกล่าว  ไม่น้อยกว่า 3 คน

การติดตามประเมินผล (ข้อ 12)

        ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ให้เงินอุดหนุนติดตามและประเมินผลการดําเนินการโครงการของหน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ นส.มท. ดส. ที่ มท 0808.2/ว 4750 ลว 14 ส.ค. 2563

        - ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติตามระเบียบ มท.ว่าด้วยเงินอุดหนุนฯ

        - อปท. ต้องเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ

        - เมื่อจ่ายเงินแล้ว ให้ อปท. เรียกใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงิน จากหน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนไว้เป็นหลักฐาน

        - ให้ อปท. แจ้งหน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนรายงานผลการดำเนินการให้ อปท. ทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โครงการแล้วเสร็จ หากมีเงินเหลือจ่ายให้ส่งคืน

        - ให้ อปท. แต่งตั้งคณะทำงาน ติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนจนแล้วเสร็จ แล้วรายงานผู้บริหารท้องถิ่นทราบ หากไม่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์โครงการให้เรียกเงินคืนทั้งหมด

 

วิธีปฏิบัติของ อปท. ในการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรงกับทางสำนักงบประมาณ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 250 วรรค 4 ต้องดำเนินการให้ท้องถิ่นมีรายได้เป็นของตนเองโดยระบุภาษีหรือ
ส่งเสริมพัฒนาการหารายได้ของท้องถิ่นในระหว่างที่ท้องถิ่นหารายได้ไม่เพียงพอให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนให้ก่อน ๆ

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจ พ..2542 มาตรา30(4) กล่าวว่า การกำหนดการจัดสรรภาษีและเงินอุดหนุนหรือรายได้อื่นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับ

หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเทศให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่เป็นสัดส่วนต่อ

รายได้สุทธิของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 โดยมีจุดมุ่งหมายให้ท้องถิ่นมีรายได้ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 โดยคำนึงถึงรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย   มาตรา 30(5) กล่าวว่า การตั้งงบประมาณรายจ่ายที่เกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะในเขตของท้องถิ่นให้รัฐอุดหนุนให้เป็นไปตาม ความจำเป็นและความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ..2561 มาตรา 17 (1) กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณ

ต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง (2) ฐานะเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ มาตรา 64 กล่าวว่า ท้องถิ่นต้อง

จัดเก็บรายได้ให้เพียงพอในเรื่องของการจัดบริการสาธารณะกิจกรรมสาธารณะถ้าท้องถิ่นมีรายได้ไม่เพียงพอ

ที่จะทำบริการสาธารณะรัฐต้องอดหนุนให้ท้องถิ่นเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมไปพลางก่อนรัฐต้องถ่ายโอนภารกิจ

ให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย มาตรา 65 กล่าวว่า การจัดทำเทศบัญญัติการจัดทำงบประมาณรายจ่าย

การจะทำหนี้ผูกพันการบริหารทรัพย์สินของท้องถิ่นต้องตรงใสและตรวจสอบได้ มาตรา 66

การจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พิจารณาฐานะการคลังขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นตามความจำเป็นและการใช้จ่าย กล่าวคือจัดทำตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.2561 มาตรา 4 ทำให้ท้องถิ่นเป็นหน่วยรับงบประมาณ กล่าวโดยสรุปงบประมาณรายจ่ายปีใดให้เบิกจ่ายในปีงบประมาณนั้น หากเบิกจ่ายไม่หมดให้กันไว้เบิกจ่ายหนึ่งปี แต่เดิมกรมส่งเสริมเป็นผู้กันปัจจุบันให้ท้องถิ่นกันเอง มาตรา 6 กล่าวว่ากระบวนการงบประมาณการใช้จ่าย

ทั้งหมดต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ มาตรา 7 กล่าวว่า หน่วยรับงบประมาณ

ต้องใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและประเทศชาติ การโอนงบประมาณรายจ่ายให้กระทําได้

เฉพาะกรณีมีความจําเป็นตามที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัตินี้เท่านั้น มาตรา 8 ให้รัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือรัฐมนตรีซึ่งกฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่กํากับ หรือควบคุมกิจการของหน่วยรับงบประมาณหรือรัฐมนตรี

ผู้รักษาการตามกฎหมาย ผู้อํานวยการ และ หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณ

ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ และให้มีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดําเนินงาน

เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

ในมาตรา 19 กล่าวถึงอำนาจหน้าที่โดยให้ผู้อํานวยการมีหน้าที่และอํานาจจัดทํางบประมาณกับปฏิบัติ

การอย่างอื่น ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และให้มีหน้าที่และอํานาจเกี่ยวกับการงบประมาณ ดังต่อไปนี้ด้วย

(1) กําหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี โดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางในการจัดทําคําขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปี

(2) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทํากรอบประมาณการรายจ่าย เพื่อให้การจัดทํางบประมาณ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายใน
และภายนอกประเทศ ความเป็นธรรมทางสังคม นโยบายรัฐบาล และ ภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ

(3) เรียกให้หน่วยรับงบประมาณเสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายและสถานะเงินนอก งบประมาณตามแบบและหลักเกณฑ์ พร้อมด้วยรายละเอียดที่ผู้อํานวยการกําหนด

มาตรา 23 การจัดทํางบประมาณต้องคํานึงถึงประมาณการรายรับและฐานะทางการคลังของ

ประเทศ ความจําเป็นในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ ความเป็นธรรมทางสังคม นโยบายรัฐบาล และ ภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐ

มาตรา 25 ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือรัฐมนตรีซึ่งกฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่กํากับหรือควบคุม

กิจการของหน่วยรับงบประมาณ หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย มีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นคําขอ

ตั้งงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณนั้นต่อผู้อํานวยการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะ

เวลาที่ผู้อํานวยการกําหนด ซึ่งการยื่นคําขอตั้งงบประมาณรายจ่ายอย่างน้อยต้องแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และให้จัดส่งรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อํานวยการกําหนดด้วย

มาตรา 29 การขอตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเงินอุดหนุน สําหรับการดําเนินการโดยทั่วไปหรือสําหรับการดําเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นยื่นคําขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสนอต่อผู้อำนวยการ ทั้งนี้

ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ผู้อํานวยการกำหนดการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุน

สําหรับการดำเนินการโดยทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สํานักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

มาตรา 34 ให้หน่วยรับงบประมาณจัดทําแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

ตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อ ผู้อํานวยการตามระเบียบที่ผู้อํานวยการกําหนดมาตรา

มาตรา 36 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณที่กำหนดไว้ในแผนงานหรือรายการใด จะโอนหรือนําไปใช้ ในแผนงานหรือรายการอื่นมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้อํานวยการแต่ผู้อํานวยการ

จะอนุมัติมิได้ ในกรณีที่เป็นผลให้เพิ่มรายจ่ายประเภทเงินราชการลับหรือเป็นแผนงานหรือโครงการใหม่ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี รายจ่ายรายการต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ให้ผู้อํานวยการมีอำนาจจัดสรร ให้หน่วยรับงบประมาณเบิกจ่ายโดยตรง หรือเบิกจ่ายในรายการต่าง ๆ ของหน่วยรับงบประมาณนั้น ๆ ได้ตามความจําเป็น ในกรณีที่มีความจําเป็นผู้อํานวยการโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี

จะโอนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการใดรายการหนึ่งไปเพิ่มรายการอื่น ๆ ในงบกลางด้วยกันก็ได้

มาตรา 43 การขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณใดให้กระทํา

ได้แต่เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินจากคลังได้ภายในปีงบประมาณให้ขยาย

เวลาขอเบิกเงินจากคลังได้ เฉพาะในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ และได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้วการขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังให้ขยายออกไปได้อีกไม่เกินหกเดือนของ ปีงบประมาณถัดไป เว้นแต่มีความจําเป็นต้องขอเบิกเงินจากคลังภายหลังเวลาดังกล่าว ให้ขอทําความตกลงกักระทรวงการคลังเพื่อขอขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินหกเดือน

การประเมินผล มาตรา 46 ให้ผู้อํานวยการจัดวางระบบการติดตามและประเมินผลการดําเนินงาน

ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

เพื่อการวัดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ โดยในระบบการติดตามและ ประเมินผลการดําเนินงานให้ประกอบด้วย การติดตามและประเมินผลก่อนการจัดสรรงบประมาณระหว่าง

การใช้จ่ายงบประมาณและภายหลังจากการใช้จ่ายงบประมาณการรายงานให้รายงานเป็นไตรมาสหลังสิ้นปี

งบประมาณ

การรายงานผล มาตรา 50 กล่าวว่าให้หน่วยรับงบประมาณรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย

ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดรวมทั้งผลการปฏิบัติงานให้ผู้อํานวยการทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปี

งบประมาณเพื่อผู้อํานวยการจัดทํารายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายและผลการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 7 ..2550 เกี่ยวกับเรื่องการจัดการแผนพัฒนา

จังหวัด มาตรา 53/1 กล่าวว่า ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ..2548 พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 2 ให้ผู้บริหารท้องถิ่นประกาศใช้

แผนพัฒนาท้องถิ่นที่อนุมัติแล้ว และนำไป ปฏิบัติรวมทั้งแจ้งสภาท้องถิ่น คณะกรรมการบริหารงาน

จังหวัดแบบบูรณาการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประกาศให้ประชาชน

ในท้องถิ่นทราบโดยทั่วกันภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศใช้และปิดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบ

วัน รายได้ที่จัดเก็บเอง รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้แบ่งให้ ต้องจัดทำเทศบัญญัติข้อบัญญัติในส่วนของเงินอุดหนุน

จากรัฐบาลที่กำหนดวัตถุประสงค์ไม่ต้องทำเทศบัญญัติข้อบัญญัติยกเว้นได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ให้เพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่ขาด

แผนการจัดสรรตรง มีเทศบาลเมือง เทศบาลนคร อบจ. เป็นหน่วยรับงบประมาณ และตั้งแต่ปี 64 เป็นต้นไปเป็นของเทศบาลตำบล อบต. ซึ่งจะต้องทำเป็นหน่วยรับงบประมาณการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ

เดิมบันทึกฐานข้อมูลให้กรมส่งเสริมแต่เมื่อเป็นหน่วยรับงบประมาณให้ส่งข้อมูลให้สำนักงบประมาณโดยตรงและส่งข้อมูลให้กรมส่งเสริมด้วย

การจัดสรรงบประมาณเดิมจัดสรรโดยกรมส่งเสริมเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ประกาศใช้สำนักงบประมาณเดิมจะจัดสรรให้แก่กรมส่งเสริมและกรมส่งเสริมจัดสรรให้จังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น เวลาเบิกจ่ายต้องขออนุมัติจากผู้ว่าหรือนายอำเภอถึงจะเบิกจ่ายเงินจากคลังได้แต่เมื่อเป็น

หน่วยรับงบประมาณ สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณตรงให้แก่หน่วยรับงบประมาณ สามารถเบิกจ่าย หรือจะซื้อจะจ้างลงนามในสัญญาได้ไม่ต้องขออนุมัติผู้ว่า

กระบวนการจัดการงบประมาณ มีขั้นตอน ดังนี่

1.วางแผน ทบทวนแผนเดิม

2.การจัดทำงบประมาณ จัดทำโครงสร้างแผนงานตามยุทธศาสตร์ยื่นคำขอต่อสำนักงบประมาณในระบบ สำนักงบประมาณพิจารณาคำขอ สำนักงบประมาณจัดทำร่างพรบ.และเสนอร่าง พรบ.

3.อนุมัติงบประมาณ พิจารณาร่างพรบ.โดยฝ่ายนิติบัญญัติและตราพระราชบัญญัติ

4.การบริหารงบประมาณ จัดทำแผนงบประมาณ จัดสรรงบประมาณและใช้จ่ายงบประมาณ

5.การประเมินผล รายงานผลการเบิกจ่าย ประเมินผลก่อนดำเนินการ คือการคาดการณ์ ประเมินผลระหว่างดำเนินการ เป็นไปตามแผนหรือไม่และการประเมินผลหลังดำเนินการผลเป็นไป

ตามวัตถุประสงค์หรือไม่

การจัดทำเทศบัญญัติข้อบัญญัติมีอุปสรรคคือ ไม่ทราบว่าได้รับงบประมาณเท่าใดกระบวนการจัดทำ

เทศบัญญัติข้อบัญญัติเสนอร่างให้แก่สภาท้องถิ่นเมื่อสภาเห็นชอบให้ส่งร่างให้แก่นายอำเภอและผู้ว่าราชการ

จังหวัดตามลำดับซึ่งต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 15 วันจากนั้นส่งร่างให้นายกลงนาม

หลักเกณฑ์แนวทางการจัดทำงบประมาณของปี 2566

1.ดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาตินโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนปฎิบัติ

ราชการของกระทรวงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนโยบายสำคัญของรัฐบาลรวมทั้งการนำหลักปัญาเศรษฐกิจ

พอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณโดยคำนึงถึงความจำเป็นและภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ

ความต้องการในพื้นที่และแผนพัฒนาพื้นที่ตามความต้องการของประชาชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพความคุ้มค่า

ในการใช้จ่ายงบประมาณ

2.ดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโดยให้ความสำคัญกับ

การแก้ไขปัญหาบรรเทาหรือแก้ไขผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมจากการแพทยระบาดของโรค

3.ให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการ

สาธารณะลดความเหลื่อมล้ำรวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และประสิทธิผลการใช้จ่ายของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4.เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงินโดยให้หน่วยรับงบประมาณ

พิจารณานำเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมคงเหลือมาใช้ดำเนินการภารกิจของหน่วยงานเป็นลำดับแรกควบคู่ไปกับการพิจารณาทบทวนเพื่อชะลอรับรถหรือยกเลิกการดำเนินโครงการที่มีความสำคัญในระดับต่ำหรือหมด

ความจำเป็นรวมทั้งให้ความสำคัญกับการนำความสำเร็จในการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีที่ผ่านมาประกอบพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับศักยภาพการดำเนินงานของหน่วยรับ

งบประมาณ

5.ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2560 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ..2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ..2561 รวมทั้งกฎหมายระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีอย่างครบถ้วน

ระบบ BBL คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้เป็น เครื่องมือสำหรับการจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีรูปแบบเฉพาะใน การจัดทํางบประมาณ ขั้นตอนและวิธีการในการบันทึกข้อมูล ในระบบ e-Budgeting (เฉพาะส่วนราชการระดับกรม) คำขอประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ซึ่งผลสัมฤทธิ์ คือความคุ้มค่าหรือประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ

การเปลี่ยนแปลงงบประมาณจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในขั้นกรรมาธิการ เรื่องการแปรญัตติ แต่การแปรเพิ่มจะต้องอยู่ในคำขอครั้งแรกกระบวนการจัดทำคำของบประมาณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน

เว็บไซต์

วิธีการยื่นคำขอตั้งงบประมาณ สำนักงบประมาณจัดทำคู่มือคำขอสามารถดาวน์โหลดได้ในเว็บไซต์ ประเด็นแรกคือน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยคำนึงถึงนโยบายรัฐบาลกล่าวคือจะต้องเป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ  แผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเด็นต่อมาคือให้ความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมและ

ความต้องการของประชาชนในพื้นที่และกระจายอย่างเป็นธรรมคำนึงถึงความเสมอภาคของมิติใช้เองโดย

พิจารณาความจำเป็นและผลประโยชน์ที่แตกต่างกันของกลุ่มต่าง ๆ รายเดือนต่อมาให้สนับสนุนและใช้ผลิตภัณฑ์

บริการนวัตกรรมตามบัญชีนวัตกรรมไทยโดยขอตั้งงบประมาณในอัตราส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของความต้องการใช้งานทั้งหมดของหน่วยรับงบงบประมาณ ที่สำคัญคือ การจัดทำแผนแม่บทความต้องการ

ครุภัณฑ์สิ่งก่อสร้างของท้องถิ่นพร้อมทั้งแสดงรายงานครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ครบถ้วน

การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณพร้อมกับยื่นคำของบประมาณรายจ่ายการจัดทำแผนเงินนอกดู

จากเทศบัญญัติข้อบัญญัติ ต้องเชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนพัฒนาภาค แผนพัฒนาจังหวัดหรืออยู่ในแผน

พัฒนาท้องถิ่น การนำเงินนอกงบประมาณมาสมทบตามความเหมาะสมสิ่งก่อสร้างตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไปสมทบ 10% ประเด็นต่อมาในปีที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการมีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้างให้นำมาปรับปรุงในปีถัดไป ท้องถิ่นต้องจัดลำดับของความสำคัญของโครงการในการนำเสนอโครงการต้องเรียงลำดับความสำคัญเพื่อเสนอ

ต่อสำนักงบประมาณในส่วนของการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่นต้องมีการพัฒนาในเรื่องของการจัดเก็บรายได้ให้มากขึ้น

เงินนอกงบประมาณ คือ เงินทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ นอกจากเงินงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่งคืนและเงินเหลือจ่ายปีเก่าหรือเป็นเงินทั้งหมดที่อยู่ในกรรมสิทธิ์

และไม่ต้องส่งคืนคลัง สามารถใช้ได้รวมถึงภาษีโครงการต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผลประโยชน์หรือระยะเวลาในการดำเนินการระบุวงเงินให้ครบถ้วนแต่ในมิติโครงสร้างงบประมาณโครงการคือผลผลิต ในการเขียนชื่อรายการให้เลือกเอาเฉพาะสาระสำคัญรายการปรับปรุงซ่อมแซมถนนคอนกรีต

โดยเสริมผิวพาราแอสฟัสติดคอนกรีตภายในหมู่บ้านต้องเขียนเป็นภาษาไทยหากเขียนเป็นภาษาอังกฤษต้องมี

วงเล็บภาษาไทยกำกับการปรับปรุงคือการทำใหม่ให้ดีขึ้นส่วนการซ่อมแซมคือทำให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เหมือนเดิม กรณีไม่มีชื่อถนนให้ใส่ชื่อหมู่บ้าน หรือใส่หมู่เพื่อเป็นการเจาะจงพิกัด การขุดลอกให้ใส่รายละเอียดขนาด ความกว้าง ความยาว ความลึก

หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้หลักเกณฑ์ที่ยื่น

คำขอมาพิจารณาในการจัดสรรงบประมาณโดยแต่ละรายการต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้จ่าย ซึ่งจัดสรรตามปริมาณและภารกิจของกลุ่มเป้าหมายตามที่กฎหมายระเบียบกำหนดการบันทึกข้อมูลต้องทำให้

เป็นปัจจุบัน เงินอุดหนุนเฉพาะกิจให้เป็นไปตามแผนพัฒนาท้องถิ่นและแผนพัฒนาจังหวัด

หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปที่มีอิสระในการใช้จ่ายและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจต้องมีการกระจายและมีความเป็นธรรมให้กับท้องถิ่นแต่ละประเภทดังนั้นในการจัดสรรงานตามอำนาจหน้าที่สำนักงบประมาณจะดูเงื่อนไขโดยอยู่บนหลักการและกระจายให้แก่ทุกท้องถิ่นที่มีคำขอให้ได้รับงบประมาณทั้งหมดพิจารณาข้อมูล

พื้นฐาน เช่น พื้นที่ จำนวนประชากร รายได้และให้ความสำคัญกับเงินนอกงบประมาณจัดสรรเฉลี่ย 30% จัดสรรตามขนาดพื้นที่ 15% และจัดสรรตามจำนวนประชากร 15% ผกผันกับรายได้ที่จัดเก็บเอง

เงินเดือนให้ดูผลเบิกจ่ายไตรมาสแรกจะได้ทราบว่างบประมาณของเงินเดือนอยู่ที่เท่าใดจากนั้นจึงไปบวกส่วนอื่น การศึกษาภาคบังคับจะเป็นเงินเดือนครูเงินเดือนการเลื่อนขั้นซึ่งจะ + เพิ่ม 6% และ + เงินอื่นๆวิทยฐานะหรือค่าตอบแทนรายเดือน

กรณีขอเลื่อนวิทยาฐานะแต่ปลยังไม่ออกให้คำนวณเป็นจำนวนเดิมเมื่อผลออกแล้วจึงค่อยตั้งและขอใน

งบประมาณปีถัดไปแล้วจึงตกเบิกย้อนหลัง ค่าจ้างประจำ จะเป็นในส่วนของเงินเดือนพนักงานจ้าง

+ เงินประกันสังคมเงินสมทบกองทุนค่าตอบแทนพิเศษ ในภาคใต้จะมีค่าตอบแทนในพื้นที่ สิ่งที่ต้องทำคือ

พิจารณาอัตราบัญชีเงินเดือนและดูค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนต่าง ๆ ต้องเตรียมข้อมูล ดูอัตราผู้เกษียณ อัตราว่าง ส่วนควบ ผู้ได้รับวิทยฐานะ เพื่อตั้งงบให้ถูกต้อง ซึ่งข้อมูลจะได้จากกองการศึกษา อัตราที่เงินเดือนไม่ขึ้น

สามารถตั้งงบได้เลย ค่าเช่าบ้านให้พิจารณาตามข้อมูลเดิม ซึ่งอัตราค่าเช่าบ้านสำนักงบประมาณจะตั้งงบให้ 80%

เงินบำเหน็จบำนาญให้ดูว่าใครเกษียณปีใดโดยดูจากบัญชีเงินเดือนดูว่ามีรายใหม่กี่คนเพราะรายใหม่ต้องมี

บำเหน็จดำรงชีพ รายการเรียนฟรี 15 ปี ส่งข้อมูลจำนวนนักเรียนให้กรมส่งเสริม

ในการคิดชั้นเคลื่อนให้ใช้ข้อมูลนักเรียนในภาคเรียนที่สองเป็นหลักเพื่อเป็นฐานในการคำนวณตั้งงบประมาณ และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการขออาหารเสริมนม อาการกลางวันได้ อาหารกลางวันให้อัตรา 21 บาทต่อวันในระยะ 200-280 วัน ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนสำหรับนักเรียนประถมศึกษาให้ปีละ 1000 บาท ประถมศึกษาต้องไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนนักเรียนที่มี มัธยมศึกษาไม่เกินร้อยละ 30 ของจำนวนนักเรียน เงินอุดหนุนการศึกษาเด็กด้อยโอกาสจัดสรรให้แห่งละ 16,000

การส่งเสริมศักยภาพการจัดการศึกษาของท้องถิ่นให้ในเรื่องของการพัฒนานักเรียนการพัฒนาครูสถาน

ศึกษาการประเมินผลด้านการศึกษาซึ่งในส่วนนี้จะมีรวมทั้งหมด 21 รายการและพิจารณาว่าในแต่ละส่วน

จะขอเท่าไหร่ ในส่วนของผู้สูงอายุให้เงินตามช่วงอายุได้แก่ 600 800 และ 1000 บาทในการตั้งงบประมาณ

ให้ดูว่าคนที่จะครบ 60 ปีมีกี่คนและคำนวณเงินตามช่วงอายุ เบี้ยพิการมี 2 ช่วงการจ่าย คือ 800 บาทต่อคน ต่ำกว่า 18 ปี เป็น 1000 บาทต่อคน สถานีอนามัยถ่ายโอนสิ่งที่ต้องขอคือ งบดำเนินการและเงินเดือน ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ท้องถิ่นรักการอ่านจัดสรรให้แห่งละ 20000 บาท ไฟป่าเฉพาะพื้นที่ที่อยู่

ในเขตที่มีป่าหรือบริเวณตะเข็บ จะมีค่าอุปกรณ์และค่าตอบแทนอาสารถขยะให้แสดงการใช้งานรอบการเก็บขยะ ระยะทาง ปริมาณ ในส่วนของแหล่งน้ำในความรับผิดชอบให้บันทึกในระบบกรณีไม่มีการบันทึกในระบบ

thai water จะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ อาคารเรียนต้องมีฐานข้อมูลว่าเดิมมีกี่อาคารและจะสร้างขึ้น

กี่อาคารเพื่อรองรับนักเรียน

การรายงานสถานะเงินนอกงบประมาณ มีแบบฟอร์มอยู่แล้ว

ข้อที่ 1 เงินนอกงบประมาณคงเหลือยกมา คือ ยกฐานมาจากปีที่ผ่านมา

ข้อที่ 2 รายได้เงินนอกงบประมาณ

ข้อ 2.1 เงินรายได้ คือ รายได้ทั้งหมดไม่รวมเงินอุดหนุนของรัฐ

ข้อ 2.2 เงินอุดหนุนที่รัฐบาลอุดหนุนหรือจัดสรรให้

ข้อ 2.3 เงินทุนหมุนเวียน

ข้อ 2.4 เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ข้อ 2.5 เงินอุดหนุนและบริจาค

ข้อ 2.6 เงินกู้ในประเทศ

ข้อ 2.7 เงินกู้ต่างประเทศ

ข้อ 2.8 อื่น ๆ

ข้อที่ 3 รวมเงินนอกงบประมาณโดยรวมจากข้อหนึ่งและข้อสอง

ข้อที่ 4 สมทบงบประมาณ

ข้อ 4.1 งบบุคลากร

ข้อ 4.2 งบดำเนินการ

ข้อ 4.3 งบลงทุน

ข้อ 4.4 งบเงินอุดหนุน

ข้อ 4.5 งบรายจ่ายอื่น

ข้อที่ 5 คงเหลือหักเงินที่นำไปสมทบงบประมาณโดยใช้ข้อสาม หักลบข้อสี่

ข้อที่ 6 แผนการใช้จ่ายอื่น

ข้อ 6.1 ภารกิจพื้นฐาน คือ รายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน

ข้อ 6.2 ภารกิจเพื่อพัฒนา คือ รายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน

ข้อ 7 เงินคงเหลือโดยใช้ข้อ 5 หักลบ ข้อ 6

มิติรายการตรวจรับ สิ่งที่ต้องเตรียมคือฐานข้อมูลในปีงบประมาณที่ผ่านมาและข้อมูลมิติรายบุคคล เช่น เงินเดือน หลังจากทำงบประมาณเสร็จยื่นต่อสภา นายกเป็นผู้ชี้แจงและสภาเป็นผู้กำหนด การเตรียมข้อมูลชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ ชี้แจงข้อมูลการได้รับงบประมาณตามรายการ โดยชี้ถึงเหตุผลความจำเป็น รูปแบบการนำเสนอพรีเซนต์โดยใช้ powerpoint ไม่เกิน 5 นาที ประกอบด้วยข้อมูลท่านนายก วิสัยทัศน์ พันธกิจ การดำเนินงานผลงานที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลจากปีก่อนหน้าเป็นฐานและดูการเบิกจ่าย ว่าแต่ละปีมีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไร และแผนการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะได้รับของปีงบประมาณถัดไป และรายละเอียดเงินที่ได้รับ จัดทำเป็นเอกสารส่งสภา เพื่อให้คณะกรรมมาธิการตรวจสอบ

จากนั้นบัญชีกลางจะส่งหนังสือเวียนให้และสามารถทำการจัดซื้อจัดจ้างได้

การบริหารงบประมาณ สำนักงบประมาณออกหนังสือเวียนให้จัดทำแผนจากนั้นจัดทำแผนส่งสำนักงบประมาณ ระเบียบบริหารงบประมาณ พ..2562 จัดทำขึ้นเพื่อให้ถือปฏิบัติและกระจายอำนาจการบริหารงบประมาณ

ให้กับหน่วยรับงบประมาณและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อ 8 กล่าวว่า หน่วยรับงบประมาณต้องจัดทำแผนการปฎิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเพื่อเป็นกรอบ

แนวทางในการใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับตามกฏหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย โดยแผนดังกล่าวต้องแสดงถึงความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติหรือยุทธศาสตร์แผนงานระดับต่างๆเป้าหมายตัวชี้วัดรายการวงเงินตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาเพื่อแสดงถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ของการใช้จ่าย

ข้อ 9 กล่าวว่า ต้องส่งแผนให้สำนักงบประมาณไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มปีงบประมาณ

ข้อ 11 กล่าวว่าเมื่อสำนักงบประมาณเห็นชอบแผนให้หน่วยรับงบประมาณแจ้งรัฐมนตรีเจ้าสังกัด

หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลควบคุมหรือแจ้งกรมส่งเสริมโดยเอาหนังสือที่สำนักงบประมาณเห็นชอบให้กรมส่งเสริมและกรมส่งเสริมสหกรณ์รวบรวมให้รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยทราบการจัดสรรงบประมาณ

ข้อ 18 สำนักงบประมาณจะจัดสรรอนุมัติเงินในวงเงินที่กำหนดในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย

ประจำปีให้สอดคล้องกับแผนการปฎิบัติงานหรือแผนการใช้จ่ายหรือตามที่สำนักงบประมาณกำหนด โดยหน่วยรับงบประมาณไม่ต้องยื่นคำขออนุมัติเงินจัดสรร

ข้อ 24 การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์การสำรวจออกแบบรูปรายการก่อสร้าง

โดยละเอียดการกำหนดจำนวนเนื้อที่ของที่ดินสถานที่ตั้งและราคาตลอดจนการดำเนินการจัดหาให้หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณรับผิดชอบควบคุมดูแลให้การจัดหาครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเป็นไปตามความจำเป็นเหมาะสมอย่างโปร่งใสคุ้มค่าและประหยัดรวมทั้งเป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานของทางราชการอย่างเคร่งครัด

ข้อ 27 การโอนเงินจัดสรรหรือการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน

จากคลังให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อน

ข้อ 28 การใช้งบประมาณรายจ่ายการโอนเงินจัดสรรจากผลผลิตหรือโครงการใดใดไปตั้งจ่ายในผลผลิต

หรือโครงการอื่นๆภายในแผนงานเดียวกันการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรรวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของ

เงินจัดสรรสำหรับงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณและงบประมาณรายจ่ายบูรณาการให้ถือปฏิบัติ

ตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้งบประมาณรายจ่ายการโอนเงินจัดสรรหรือการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรที่สำนัก

งบประมาณกำหนด

ข้อ 29 กรณีเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร กำหนดให้หน่วยรับงบประมาณสามารถโอนเงินจัดสรรหรือ

เปลี่ยนแปลงเงินจะสร้างรายได้ได้โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเมื่อหน่วยรับงบประมาณ

ดำเนินการโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรรายการใดแล้วให้จัดส่งรายงานการโอนเงินจัดสรรหรือ

การเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรตามแบบที่สำนักงบประมาณกำหนดภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการโอนเงิน

จัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ได้โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงและสำนัก

งบประมาณจะเผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อสาธารณะโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ 37 สำนักงบประมาณจะรวบรวมรายงาน และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณพร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคจากการใช้งบประมาณรายจ่าย

หลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้งบประมาณรายจ่ายการโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร

ข้อ 7 อันนี้ที่หน่วยรับงบประมาณจะใช้เงินนอกงบประมาณสมทบกับเงินจัดสรรให้ขอทำ

ความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อนยกเว้นกรณีนำไปสมทบกับเงินจัดสรรเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้

(1) ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ยเงินกู้และค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล

(2) รายการครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทหรือค่าสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาทตามลำดับสมทบได้ไม่เกินร้อยละ 10

(3) ค่าใช้จ่ายในงบบุคลากรและงบดำเนินการ

ข้อ 8 ให้อำนาจหัวหน้าหน่วยรับงบประมาณโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรภายใต้แผนงาน

ผลผลิตหรือโครงการเดียวกันได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากสำนักงบประมาณ ภายใต้เงื่อนไข

(1) ครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทขึ้นไปและสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท กรณีครุภัณฑ์มีวงเงินต่อหน่วยตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปและรายการสิ่งก่อสร้างมีวงเงินต่อหน่วยตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปต้องขออนุมัติจากสำนักงบประมาณ

 

 

(2) ต้องไม่นำไปกำหนดเป็นอัตราบุคลากรตั้งใหม่รายการค่าจัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะรายการ

ค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินต่อหน่วยตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปรายงานค่าที่ดินรายงานค่าสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินต่อหน่วย

ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปหรือเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่ไม่ได้กำหนดไว้ใน

แผนการปฎิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

กรณีเงินเหลือจ่ายจากการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์หรือจากการจัดซื้อจัดจ้างแล้วหัวหน้าหน่วยงานลบประมาณอาจโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรดังกล่าวไปใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดใดภายใต้แผนงานผลผลิตหรือโครงการเดียวกันและภายใต้เงื่อนไขตาม(2)ได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากสำนักงบประมาณ

ข้อ 9 ในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณได้รับอนุมัติจัดสรรงบประมาณสำหรับรายการค่าครุภัณฑ์หรือ

สิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณหากผลการจะซื้อจะจ้างสูงกว่างบประมาณที่ได้รับจัด

สรรหัวหน้าหน่วยรับงบประมาณอาจโอนเงินจัดสรรจากรายการอื่นภายใต้แผนงานเดียวกันหรือนำเงินนอก

งบประมาณไปเพิ่มวงเงินรายการค่าครุภัณฑ์หรือตึกก่อสร้างและได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินที่ได้รับการ

จัดสรรงบประมาณ

ข้อ 11 การโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์นี้ให้

ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ

ระเบียบว่าด้วย การบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน

หรือจำเป็น พ..2562

ข้อ 5 การขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

ให้กระทำได้ในกรณีที่เป็นรายจ่ายดังนี้

(1) เป็นรายจ่ายเพื่อป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์อันมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

หรือความมั่นคงของรัฐ

(2) เป็นรายจ่ายที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง

(3)เป็นรายจ่ายที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้วแต่มีจำนวนไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโดยเร็ว

(4)เป็นรายจ่ายที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณแต่มีภารกิจจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการและต้องใช้

จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโดยเร็ว

ข้อ 6 หน่วยรับงบประมาณจะขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่าย

เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อใช้จ่ายตามข้อห้าได้แต่เฉพาะกรณีที่หน่วยรับงบประมาณได้ตรวจสอบ

แน่ชัดแล้วว่าไม่สามารถนำงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณมาใช้จ่ายได้หรือนำมาใช้จ่ายได้แต่มีจำนวนไม่

เพียงพอ

ข้อ 7 การขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

ให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ ดังนี้

(1) คำชี้แจงเกี่ยวกับเหตุผลความจำเป็นในการขอใช้งบประมาณรายจ่ายพร้อมเอกสารประกอบ

(2) วัตถุประสงค์ของการขอใช้งบประมาณรายจ่ายและความสอดคล้องของยุทธศาสตร์ชาติ

นโยบายรัฐบาลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนความมั่นคงแห่งชาติรวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยว

ข้อง

(3) แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ขอรับจัดสรรเป็นรายเดือน

(4) สำนักงานที่จะดำเนินการเบิกจ่าย

(5) รายละเอียดประกอบการพิจารณาตามที่สำนักงบประมาณกำหนด

ข้อ 8 การขอใช้งบกลางเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นทุกกรณีเสนอเรื่องให้รองนายก

รัฐมนตรีรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเลยรัฐมนตรีที่กำกับดูแลหรือผู้ที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นผู้กำกับแผนงานบูรณาการกรณีเป็นการดำเนินการภายใต้แผนบูรณาการแล้วแต่กรณีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งคำขอให้สำนักงบประมาณ

ข้อ 9 สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี

ฉุกเฉินหรือจำเป็นให้แก่หน่วยรับงบประมาณโดยจะพิจารณาความเหมาะสมของวงเงินที่จะใช้จ่ายและเสนอ

นายกรัฐมนตรี

(1) กรณีวงเงินที่เห็นควรอนุมัติครั้งละไม่เกิน 10 ล้านบาทสำนักงบประมาณจะเสนอนายกรัฐมนตรี

เพื่อทราบ

(2) กรณีวงเงินที่เห็นควรอนุมัติครั้งละเกินกว่า 10 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท สำนักงบประมาณ

จะเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

(3)กรณีวงเงินที่เห็นควรอนุมัติเกินกว่า 100 ล้านบาทสำนักงบประมาณจะเสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี

เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อเห็นชอบแล้วสำนักงบประมาณจะแจ้งให้หน่วยรับงบประมาณนำเรื่องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีโดยเสนอผ่านรองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลหรือผู้ที่

คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้กำกับแผนงานบูรณาการกรณีเป็นการดำเนินการภายใต้แผนงานบูรณาการแล้ว

แต่กรณี จากนั้นสำนักงบประมาณจะอนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองเพื่อจ่าย

กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นไปยังสำนักงานที่จะดำเนินการวิจัยโดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการ

ใช้จ่ายงบประมาณต่อไป

 

การติดตามประเมินผล มี 3 ขั้นตอน

1.ก่อนการจัดสรรรายการนั้นเป็นไปตามความจำเป็นและเป็นภารกิจหรือไม่ความสามารถในการใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันเป็นไปตามกฎหมายกำหนดหรือไม่ ให้พิจารณาจากแผน

2.ระหว่างการจัดสรร ดำเนินการก่อสร้างหรือเบิกจ่ายเป็นไปตามแผนเป็นไปตามสัญญาหรือไม่

3.หลังการจัดสรร ดูว่าคุ้มค่าต่อจำนวนงบประมาณหรือไม่ เป็นไปตามเป้าหมายหรือผลสัมฤทธิ์หรือไม่

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)

 คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566) โหลดตรงนี้ https://l...