วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564

แนวข้อสอบภาษาไทย

แนวข้อสอบภาษาไทย

1. “คำ” ในภาษาไทยประกอบด้วยเสียงอะไรบ้าง

ก.   เอก  โท    ตรี

ข.    สูง    กลาง   ต่ำ

ค.   พยัญชนะ   สระ   วรรณยุกต์

ง.    ถูกทุกข้อ

2. สระเดี่ยวมี  18   ตัว  อยากทราบว่าข้อใดคือสระเดี่ยว 

     ก.  แอะ    เอะ                    ข.  อัว   เอือ

ค.  อัวะ    เอียะ             ง.  เอีย    เอือะ

3. สระประสมมี  6   ตัว  อยากทราบว่าข้อใดคือสระประสม  

ก.  เออะ   แอะ                               ข.  เอาะ    เออ

ค.  โอะ   เอะ                ง.  เอือะ   เอียะ

4. ข้อใดเป็นอักษรสูงทั้งหมด

     ก.  ศ  ห  ฐ                     ข. ก  ป  จ

ค.  ช   ซ   ณ                 ง.  ท  ญ   ธ

5. ข้อใดเป็นอักษรกลางทั้งหมด

ก.  ฃ   ถ  พ                   ข.  น  ฌ  ม

    ค.   บ  ด  ต                   ง.  ฟ  ษ  ว

6. ประโยคในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์จัตวามากที่สุด

     ก.  หนูหิวหนูโหยหนูไห้

ข.  อยากได้อาหารจานหนึ่ง

ค.  ความรักเต็มจานหวานซึ้ง

ง.  อิ่มถึงหัวใจไปนาน

7. ประโยคในข้อใดมีคำประสมมากที่สุด ?

ก.  น้อยพูดจาว่ากล่าวเล่าเรื่องให้เพื่อน ๆ  ฟัง

ข.  หน่อยรับประทานต้มยำส้มตำราดหน้าอย่างอร่อย

ค.  นุ่มนั่งครุ่นคิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ  นานา

ง.  น้องคนเล็กร่ำร้องต้องการหวานเย็นอย่างของพี่

8.  ข้อใด   ไม่ใช่   คำซ้อน

ก.  เกรงกลัว                    ข.  ชั่วดี

ค.  ว่างเปล่า                 ง.  นานา

9.  ประโยคในข้อใดใช้คำเป็นทั้งหมด

ก.  คนมักทำลายสิ่งล้อมอยู่ตลอดเวลา

      ข.  ผีเสื้อสีสวยงามบินร่อนหาน้ำหวาน              

ค.  แม่น้ำไหลหลากท่วมพื้นที่ทั้งหมด

ง.  มดกินปลาคราน้ำแห้งขอด

10.  ประโยคในข้อใดใช้คำตายทั้งหมด

ก.  ปลาว่ายน้ำตามลำคลอง

ข.  หวานดื่มน้ำเย็นแก้กระหาย

ค.  นิดตัดกระดาษ

ง.  เหยี่ยวบินร่อนบนท้องฟ้า

11. ข้อใดคือประโยชน์ของการฟังที่ดีที่สุด

ก. จับใจความสำคัญได้

ข. หาเหตุผลมาสนับสนุนหรือโต้แย้งได้
ค. นำมาประยุกต์ดัดแปลงมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

ง. เกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์

12. ข้อใดสะกิดอารมณ์ผู้ฟัง

ก. เจ้าพระยาแม่น้ำสำคัญของไทย

ข. มารักเจ้าพระยากันเถอะ

ค. แค่ทิ้งคนละชิ้น เจ้าพระยาก็สิ้นแล้ว

ง. เจ้าพระยาใสสะอาดปราศจากขยะ

13. ข้อความใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด

ก. การฟังเรื่องเกร็ดความรู้ต่าง ๆ ให้เป็น

ประโยชน์แก่ผู้ฟังทั่ว ๆ ไป
ข. เราควรเลือกชมหรือฟังเฉพาะสิ่งดี

ค. คนไทยมีทักษะการฟังในระดับดีทุกคน

ง. การฟังโฆษณาช่วยให้ซื้อสินค้าได้ดี

14. ในการบรรยายเรื่อง “วิธีเรียนให้ประสบความสำเร็จ” ให้นักเรียนชั้น ม. 3 ฟัง ผู้พูดมีจุดมุ่งหมายอย่างไร

ก. ให้ผู้ฟังเกิดความความซาบซึ้ง

ข. ให้เกิดจิตนาการสร้างสรรค์

ค. ให้คล้อยตามและนำไปปฏิบัติ

ง. ให้จับใจความสำคัญได้อย่างละเอียด

15. สุดาได้ฟังการบรรยายเรื่อง “ภาษากับความมั่นคงของชาติ” ทำให้ได้รับความรู้และตระหนักว่าต่อไปจะใช้ภาษาให้ถูกต้องสุดามีประสิทธิภาพการฟังตามข้อใด

ก. ประเมินค่าได้             ข. จับประเด็นได้

ค. ตีความได้                   ง. วิเคราะห์ได้

16. การโฆษณามีทั้งคุณและโทษ ข้อใดสนับสนุนโทษของการโฆษณา

ก. มีภาษาแปลกใหม่

ข. เกิดการสร้างสรรค์ภาษา

ค. คล้อยตามไปทางไม่ดี

ง. ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง

17. การกระทำของผู้ใดเป็นการดูอย่างมีวิจารณญาณ

ก. หลังจากชมภาพยนตร์โฆษณาสบู่ยี่ห้อใหม่

ธนกรก็รีบออกไปซื้อมาใช้โดยทันที

ข. ธนกิจเห็นป้ายโฆษณาสบู่ยี่ห้อใหม่จึงไป

สอบถามประสิทธิภาพของสบู่กับตัวแทน

จำหน่าย

ค. ธนการณ์ชื่นชอบดาราที่โฆษณาสบู่ยี่ห้อ

ใหม่จึงซื้อสบู่ยี่ห้อนั้นมาลองใช้ดู

ง. ธนวรรณเห็นเพื่อนใช้สบู่ยี่ห้อใหม่แล้วผิว

สวยจึงไปซื้อสบู่มาทดลองใช้

18. ข้อใดเป็นภาษาโฆษณา

ก. ใหม่สดจนหยดสุดท้าย

ข. หวานเต็มร้อย แคลอรีน้อยกว่าครึ่ง

ค. อาหารเลิศรสชาติ บรรยากาศเป็นกันเอง

ง. ทุกข้อ

19. จุดประสงค์ของการโฆษณาคือข้อใด

ก. ขายสินค้าและบริการ

ข. เอากำไรจากผู้ซื้อ

ค. เรียกร้องให้คนมาสนใจให้คนมาชมสินค้า

ง. ต้องการแสดงผลงานผ่านสื่อมวลชน

20. ข้อใดคือภาษาสร้างสรรค์

ก. อย่าทิ้งขยะบนถนน

ข. ตำรวจบุกทลายบ่อนการพนัน

ค. ผักสดปลอดสารพิษ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า

ง. หาเงินเพราะเมีย เงินเสียเพราะเพื่อน

21.  ผู้ฟังเรื่องหรือข้อความแล้วเข้าใจทันทีขึ้นอยู่กับสิ่งใดเป็นสำคัญ

ก.   มีสมาธิในการฟัง

ข.  มีความสนใจในเรื่องที่ฟัง

ค.  มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยว

กับเรื่องที่ฟัง

ง.  มีความรู้และความสามารถเกี่ยวกับการ

ใช้ภาษา

22.  สำนวนไทยในข้อใดแสดงถึงการฟังอย่างมีวิจารณญาณ

    ก.  ฟังหูไว้หู

ข.  ฟังเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา

ค. ไปไหนมา  สามวาสองศอก

ง.  ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด

23.  ที่กล่าวว่า การฟังที่ดีทำให้ผู้ฟังเกิดสติปัญญา  หมายถึง  การฟังในลักษณะใด

ก.  ฟังด้วยความตั้งใจ

ข.  ฟังด้วยความอยากรู้

ค.  ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ

      ง.  ฟังแล้วรู้จักวิเคราะห์เรื่องที่ฟัง   

24.การฟังเรื่องใดที่ผู้ฟังควรใช้ความคิดพิจารณาวาควรเชื่อได้หรือไม่

ก.  ฟังเทศน์

     ข.  ฟังโฆษณา

ค.  ฟังเพลง

ง.  ฟังอภิปราย

25.โฆษณารายการวิทยุปราศข่าวว่า “ตำรวจจะปิดการจราจรบนถนนรอบลานพระบรมรูปทรงม้าเนื่องจากมีการซ้อมพระราชพิธีสวนสนาม” การฟังประกาศนี้เป็นการฟังเพื่ออะไร

ก.  ฟังเพื่อประดับความรู้

    ข.  ฟังเพื่อนำไปปฏิบัติ

ค.  ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน

ง.  ฟังเพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

26.  คุณลักษณะที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ร่วมอภิปรายได้แก่ข้อใด

ก. ตรงต่อเวลา

    ข. ยอมรับเหตุผลของผู้อื่น

ค.  มีไหวพริบปฏิภาณ

ง. สามารพูดโน้มน้าวใจผู้อื่นได้

27.  ถ้านักเรียนได้รับเชิญให้เป็นผู้พูด  นักเรียนควรจะระลึกถึงสิ่งใดเป็นอันดับแรก

ก.  ใครคือผู้ฟัง                ข.  พูดในโอกาสใด

ค.  พูดที่ไหน                  ง.  พูดเรื่องอะไร

28.  ข้อใดเป็นสิ่งที่ผู้พูดที่ดีควรละเว้นโดยสิ้นเชิง

ก.  การพูดเรื่องส่วนตัว

ข.  การพูดถึงเรื่องน่ากลัว

ค.  การสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง

ง.  การใช้คำหยาบและคำคะนอง

29.  การพูดเพื่อแสดงความยินดีต่อผู้อื่นควร  ใช้คำพูดอย่างไรจึงจะเหมาะสม

ก.  คุณเป็นคนดวงดีเสมอในเรื่องการงาน

ข. คุณเป็นผู้โชคดีที่ได้ไปดูงานต่างประเทศ

    ค.  คุณเป็นคนที่มีความสามารถมากที่สุด

          ในโลก

ง.  คุณเป็นคนที่ทำงานได้ดีพอๆกับผมนะ 

30.  การกล่าวแสดงความยินดีจะขาดลักษณะใดไม่ได้

    ก.  การพูดชมเชย             ข. การพูดเสนอแนะ

ค.  การพูดให้คิด            ง.  การพูดให้กำลังใจ

โฆษณา
REPORT THIS AD

การเขียน

31. ข้อใดไม่ควรใช้เป็นเนื้อเรื่องของเรียงความ  วันภาษาไทยแห่งชาติ

ก. รัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 29  กรกฎาคม

ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามที่   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอไว้

ข. วันสำคัญของคนเราอาจมีได้หลายวัน  แต่

วันหนึ่งที่คนใช้ภาษาไทยทุกคนมิควรลืมก็

คือวันภาษาไทยแห่งชาติ

ค. วันที่ 29 กรกฎาคม  2505 เป็นวันสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดให้วันนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติในอีก 37 ปีต่อมา

ง. วันภาษาไทยแห่งชาติ  จะทำให้คนไทย  ตระหนักในวันสำคัญของภาษาไทยและร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

32. ข้อใดคือคำขึ้นต้น และคำลงท้ายในการเขียนจดหมายกิจธุระ

ก. เรียน      ด้วยความเคารพอย่างสูง

ข. เรียน      ขอแสดงความนับถือ

ค. กราบเรียน   ขอแสดงความนับถือ

ง. กราบเรียน    ด้วยความเคารพ

33.  ส่วนประกอบใดของรายงานที่สำคัญน้อยที่สุด

ก. คำนำ                          ข. สารบัญ

ค. บรรณานุกรม              ง. ภาคผนวก

โฆษณา
REPORT THIS AD

34. ข้อใดไม่ใช่คำขวัญที่ดี

ก. กตัญญูคือหัวใจ    ลงทุนไว้ไม่ขาดทุน

ข. ทุจริตคือศัตรูตัวร้าย  ชาติวอดวายหากไม่ป้องกัน

ค. รู้กฎ   รู้กติกา  คู้คุณค่า  รู้ซึ้งความเป็นไทย

ง. เยาวชนคนรุ่นใหม่  ต้องรักดี  มีน้ำใจ  ใฝ่สามัคคี

35. ผู้ที่จะเขียนเล่าเรื่องจากจินตนาการได้อย่างมีคุณค่านั้น  จำเป็นต้องมีคุณลักษณะใด

ก. ยึดมั่นในกรอบปฏิบัติเหตุผลที่สืบต่อกันมา

ข. เชื่อมั่นในตนเองและไม่รับฟังความคิดใคร

ค. หลีกหนีสังคม  ชอบอยู่ในโลกแห่งความฝัน

ง. คิดสร้างสรรค์ มองโลกอย่างหลากหลาย

36. บุคคลในข้อใด ไม่ปฎิบัติตามหลักการจดบันทึกข้อมูลที่ดี

ก. สาริน พยายามจดบันทึกข้อมูลให้ถูกต้องตามที่ได้ฟังจากการประชุม

ข. วีรพงษ์  มักจะเขียนวัน เดือน  ปี ที่ได้บันทึกข้อมูล ไว้เสมอ

ค. มานพ  จดบันทึกอย่างมีระบบ  มักมีอักษรย่อที่เป็นระเบียนเดียวกัน

ง. กานต์ จดบันทึกโดยเน้นการสรุปข้อมูล  ไม่ระบุที่มาของหนังสือ

37. “ในวัฒนธรรมไทยนั้นเด็กทารกจะถูกจัดให้นอนในเปล  เปลที่ให้เด็กนอนนั้นยังบ่งบอกฐานะของครอบครัวอีกด้วย”  ข้อใดเป็นย่อความที่กะทัดรัดที่สุด

ก. เด็กไทยนอนเปลและเปลนั้นบ่งบอกฐานะของครอบครัวด้วย

ข. เด็กทารกไทยจะถูกจัดให้นอนเปลอันเป็นวัฒนธรรมไทย

ค. วัฒนธรรมไทยคือให้เด็กนอนเปล

ง. เด็กที่นอนเปลบ่งบอกถึงฐานะของครอบครัว

38. การเขียนประกาศในข้อใดถูกต้องชัดเจนมากที่สุด

ก. ทีนี่รับแก้นาฬิกาเสีย

ข. เงินเดือนดี  มีโบนัส  สมัครด่วนที่นี่

ค. รับซื้อรถยนต์  ดูรถถึงที่  จ่ายเงินสดถึงบ้าน  โทร 0-2447-9229

ง. บริการรับสร้างบ้าน  ตามงบประมาณที่มีอยู่  โทร 0-2717-9921

39. ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก. การเขียนสร้างสรรค์ส่วนใหญ่จะเป็นร้อยแก้วเท่านั้น

ข. การเขียนสร้างสรรค์ควรใช้ภาษาระดับทางการ

ค. ความรู้ทางภาษาจะช่วยให้การเขียนเชิงสร้างสรรค์เข้าถึงผู้อ่านได้ชัดเจน

ง. ผู้เขียนงานสร้างสรรค์ไม่ควรใส่ความรู้สึกส่วนตัว

40. ข้อใดเป็นการเขียนเชิงอธิบาย

ก. ดึกดื่นคืนนี้ ลมหนาวพัดโชยมา  ฉันมองไปที่ขอบฟ้าเนิ่นนาน

ข. ปรุงรสให้แซบหนอ  ใส่มะละกอลงไป อ้อ อย่าลืมใส่กุ้งแห้งป่นของดี

ค. ให้แสงสุกใส  ได้เป็นเสมือนดวงตา คอยส่งมองเธอด้วยแววตาแห่งความภักดี

ง. ไม่ต้องห่วงว่าฉันเปลี่ยนหัวใจ ฉันจะเป็นอย่างนี้ จะรักเธอตลอดไป

41.  ลักษณะคำประพันธ์ ของกาพย์เห่เรือ คือ

ก. แต่งกาพย์ยานี ๑๑ สลับกับโคลงสี่สุภาพ

ข. แต่งโคลงสี่สุภาพสลับกับกาพย์ยานี ๑๑ บทต่อบท

ค. แต่งโคลงสี่สุภาพนำ ๑ บท ตามด้วยกาพย์ยานี ๑๑ หลายบท พรรณนาความเพิ่มเติม

ง. เนื้อเรื่องแต่ละตอนมีโคลงสี่สุภาพนำ ๑ บท กาพย์ยานี ๑๑ หลายบทพรรณนาความเพิ่มเติม

42 .  ข้อใดเรียงลำดับเนื้อเรื่องกาพย์เห่เรือได้ถูกต้อง

ก. ชมกระบวนเรือ  ชมปลา  ชมไม้  บทครวญถึงนาง

ข. ชมกระบวนเรือ  ชมปลา  ชมนก  บทครวญถึงนาง

ค. ชมกระบวนเรือ  ชมนก  ชมไม้  บทครวญถึงนาง

ง. ชมกระบวนเรือ  ชมนก  ชมปลา  บทครวญถึงนาง

43.  พระเสด็จโดยแดนชล  ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย

กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย   ………………………………………….

ก. ล้วนรูปสัตว์แสนยากร

ข. ร้องโห่เห่โอ้เห่มา

ค. พายอ่อนหยับจับงามงอน

ง. สาครลั่นครั่นครื้นฟอง

44 . นนทกนั่งประจำอยู่ที่เขาไกรลาส  มีหน้าที่อะไร

ก.  ดูแลเขาไกรลาส

    ข.  ล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดา

ค.  รักษาความปลอดภัยให้แก่เหล่าเทวดา

ง.  รักษาความสะอาดบริเวณเชิงบันได

45 . เมื่อขึ้นไปเฝ้าพระอิศวร  นนทกได้กราบทูลพระอิศวรว่าอย่างไร

ก.  ตนเองถูกเทวดารังแก

ข.  ตนเองอยากได้ของวิเศษบ้าง

ค.  ตนเองอยากแก้แค้นแก่เทวดาบ้าง

ง.  ตนเองได้กระทำความดีมาช้านาน  เหตุใดพระองค์ไม่ทรงประทานรางวัลให้บ้าง

46 . ใครเป็นผู้มาปราบนนทก

ก.  พระอินทร์                                ข.  พระอิศวร

    ค.  พระนารายณ์              ง. พระพรหม

47. คำศัพท์ในข้อใดไม่ได้หมายถึงพระอิศวร

ก.  พระศุลี                    ข.  องค์อมรินทร์

ค.  พระทรงญาณ           ง.  พระสยมภูวญาณ

48 . คำประพันธ์ต่อไปนี้  จัดลำดับวรรคได้ถูกต้อง  และเหมาะสมที่สุดตามข้อใด

1.  เขาตะคอกเพราะฉันมันยากจน

2.  ขึ้นอำเภอวิตกอกหวั่นไหว

3.  หญิงชราขาสั่นนั่งงันงก

4.  ยกมือไหว้ปลกปลกงกงกงัน

ก.  1  4  2  3                ข.  2  3  4  1

ค. 3  4  2  1                    ง.  3  2  4  1

49 . ข้อใดไม่มีสัมผัสใน

ก.  แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม

ข.  ก็จงยอมเป็นเพียงลดาขาว

ค.  แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว

ง.  จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา

     “บุเรงนองนามราชเจ้า    จอมรา มัญเฮย

ยกพยุหแสนยา                       ยิ่งแกล้ว

มอญม่านประมวลมา           สามสิบ  หมื่นแฮ

ถึงอยุธเยศแล้ว                       หยุดใกล้นครา”

50. ข้อใดถอดความจากโคลงข้างต้นไม่ถูกต้อง

ก.  บุเรงนองจอมกษัตริย์ของมอญ

ข.  ยกกองทัพที่กล้าหาญ

    ค.  มีพลมอญรวมกันมาสามแสนคน        

ง.  เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วก็หยุดอยู่ใกล้ ๆ

ที่มา

https://krulathiga.wordpress.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%A1-%E0%B9%92/?fbclid=IwAR1utw1FaA1JuxT5tE5tNgjbT8hCh_MPypqyyp3hcqy1BS9BxM3BKOIajq0





/
********************************
ให้กำลังใจ
 finish ForU โชคดีเฮงๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น