โหลดไปอ่าน
https://drive.google.com/file/d/1toXN_GW2LSA6-LhRYgS7KIcVKH_7I0nj/view?usp=sharing
ในหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานนั้น ย่อมจะมีผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่แตกต่างกันในงานหลายด้าน และผู้ที่มีอำนาจเหล่านั้นก็เป็นเฉกเช่นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา ที่ย่อมจะต้องมีการเจ็บป่วย มีกิจส่วนตัว หรือมีความจำเป็นบางอย่างทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนได้ ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการกฎหมายจึงกำหนดให้มีการมอบอำนาจกันได้ ในการมอบอำนาจนั้น ก็มักจะมีคำ 2 คำ ที่ใช้กันคือ
1. ปฏิบัติราชการแทนและ
2. รักษาราชการแทน
“การปฏิบัติราชการแทน” อยู่ในหมวด 5 ตั้งแต่มาตรา 38 ถึงมาตรา 40 แห่ง พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจเดิมนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่แต่เห็นว่าการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นแล้วเป็นการทำให้เกิดความรวดเร็ว กระจายความรับผิดชอบ และสะดวกแก่ประชาชน ซึ่งในการมอบอำนาจนี้จะคงมีอยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการถอนคืนอำนาจนั้น โดยมีความคิดเห็นของนักนิติศาสตร์ในขณะนี้เป็นสองฝ่าย
ฝ่ายที่ 1 เห็นว่าระหว่างที่มอบอำนาจนั้นเจ้าของอำนาจเดิมก็ยังคงมีอำนาจนั้นอยู่เพียงแต่เป็นลักษณะการกระจายผู้ใช้อำนาจความเห็นได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา
ฝ่ายที่ 2 เห็นว่าเมื่อมอบแล้วเจ้าขอเดิมหมดอำนาจลงทันทีเพราะป้องกันการใช้อำนาจซ้อน อำนาจซ้ำ ฝ่ายนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักกฎหมายมหาชนในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติในเรื่องดังกล่าว
“การรักษาราชการแทน” บัญญัติอยู่ในหมวด 6 มาตรา 41-50 หมายถึง กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คำว่า "ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้" หมายความรวมถึง “ไม่อยู่ด้วย” ซึ่งการรักษาราชการแทนนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายทันที โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นคำสั่งหรือหนังสือแต่งตั้งอีก และเมื่อมีผู้มาดำรงตำแหน่งแล้วหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วการรักษาราชการแทนสิ้นสุดลง
CR ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น