การแต่งตั้งคณะกรรมการแผนพัฒนาท้องถิ่น
๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
-
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ หมวด ๑ ข้อ ๘ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย
(๑) ผู้บริหารท้องถิ่น เป็นประธานกรรมการ
(๒) รองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกคน
เป็นกรรมการ
(๓) สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสามคนเป็นกรรมการ
(๔) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสามคนเป็นกรรมการ
(๕)
ผู้แทนภาคราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการ
(๖)
ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินหกคน
เป็นกรรมการ
(๗) ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นกรรมการ
(๘) หัวหน้าส่วนการบริหารที่มีหน้าที่จัดทำแผน
เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
“กรรมการตาม
(๓) (๔) (๕) และ (๖) ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับการคัดเลือกอีกก็ได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๕
วรรค ๒
- ให้คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๕ ดังนี้
(๑) กำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น โดยพิจารณาจาก
(ก)
อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สุขของประชาชน เช่น
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การผังเมือง
(ข)
ภารกิจถ่ายโอนตามกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
(ค) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
กลุ่มจังหวัดและจังหวัด โดยให้เน้นดำเนินการในยุทธศาสตร์ที่สำคัญและมีผลต่อประชาชนโดยตรง
เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
(ง)
กรอบนโยบาย ทิศทาง แนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
(จ)
นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นที่แถลงต่อสภาท้องถิ่น
(ฉ) แผนชุมชน
ในการนำประเด็นข้างต้นมาจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคำนึงถึงสถานะทางการคลังของท้องถิ่น
และความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ มาประกอบการพิจารณาด้วย
(๒) ร่วมจัดทำร่างแผนพัฒนา เสนอแนะแนวทางการพัฒนา
และการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับจัดทำร่างแผนพัฒนา
ในการจัดทำ...
ในการจัดทำร่างแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้องค์การบริหารส่วนตำบล
นำปัญหาความต้องการจากแผนพัฒนาหมู่บ้านหรือแผนชุมชน ที่เกินศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชน
ที่จะดำเนินการเองได้พิจารณาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น
แต่หากเกินศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้เสนอปัญหา
ความต้องการไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดและให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนำมาพิจารณาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามอำนาจหน้าที่
๒.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๑๐ ดังนี้
(๓) พิจารณาร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นและร่างแผนการดำเนินงาน
(๔)
ให้ความเห็นชอบร่างข้อกำหนดขอบข่ายและรายละเอียดของงานข้อ ๑๙ (๒)
(๕)
พิจารณาให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
(๖)
แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานอื่นเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่เห็นสมควร
(๗)
ให้คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ประสานกับประชาคมหมู่บ้านในการรวบรวม
วิเคราะห์ปัญหา
ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรมเพื่อประกอบในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลด้วย
๓.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๗ ดังนี้
(๑) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมประชาคมท้องถิ่น
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง
เพื่อแจ้งแนวทางพัฒนาท้องถิ่น
รับทราบปัญหา ความต้องการ ประเด็น
การพัฒนาและประเด็นที่เกี่ยวข้องตลอดจนความช่วยเหลือทางวิชาการ และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อนำมากำหนดแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
โดยให้นำข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาจากหน่วยงานต่างๆ
และข้อมูลในแผนพัฒนาหมู่บ้านหรือแผนชุมชนมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
(๓)
คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจาณาร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อเสนอผู้บริหารท้องถิ่น
๔.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๑๙ ดังนี้
(๒) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างข้อกำหนดขอบข่ายและรายละเอียดของงานแล้วเสนอผู้บริหารท้องถิ่น
๕. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๙
ดังนี้
ข้อ
๒๒ (๒) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและประชาคมท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นที่เพิ่มเติม
ข้อ
๒๒/๑
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
การเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาท้องถิ่น
ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
๖. ตามระเบียบ...
๖.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๘ หมวด ๕ ข้อ
๒๖ ดังนี้
(๒)
คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนการดำเนินงาน
แล้วเสนอผู้บริหารท้องถิ่นประกาศเป็นแผนการดำเนินงาน
ทั้งนี้ให้ปิดประกาศแผนการดำเนินงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบโดยทั่วกันและต้องปิดประกาศไว้อย่างน้อยสามสิบวัน
๗.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๑๓ ดังนี้
(๕)
รับทราบรายผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอ
๒. การแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
- ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ หมวด ๑ ข้อ ๙ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย
(๑)
ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นประธานกรรมการ
(๒)
หัวหน้าส่วนการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นกรรมการ
(๓)
ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสามคน
(๔)
หัวหน้าส่วนการบริหารที่มีหน้าที่จัดทำแผนเป็นกรรมการและเลขานุการ
(๕)
เจาหนาที่วิเคราะหนโยบายและแผนหรือพนักงานสวนท้องถิ่นที่ผู้บริหารทองถิ่นมอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
“กรรมการตามข้อ
๙ (๓) ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับคัดเลือกอีกก็ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๖
วรรค ๒
- ให้คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๑๑ ดังนี้
ให้คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังโพธิ์
มีหน้าที่จัดทำร่างแผนพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นกำหนด
จัดทำร่างแผนการดำเนินงานและจัดทำร่างข้อกำหนดขอบข่ายและรายละเอียดของงานตาม
ข้อ ๑๙ (๑)
๒.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๙ ดังนี้
ข้อ ๒๒
(๑)
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจัดทำร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นที่เพิ่มเติมพร้อมเหตุผลและความจำเป็นเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
๓.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๘ หมวด ๕ ข้อ
๒๖ ดังนี้
(๑) คณะกรรมการ...
(๑)
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นรวบรวมแผนงาน
โครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วจัดทำร่างแผนการดำเนินงาน
เสนอคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
๓. การแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
- ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ หมวด ๖ ข้อ
๒๘
ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
(๑)
สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสามคน
(๒)
ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสองคน
(๓) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสองคน
(๔)
หัวหน้าส่วนการบริหารที่คัดเลือกกันเองจำนวนสองคน
(๕)
ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสองคน
โดยให้คณะกรรมการเลือกกรรมการหนึ่งคนทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการและกรรมการอีกหนึ่งคนทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ
“กรรมการตาม (๑) (๒)
(๓) (๔) และ (๕) ข้อ
๒๘
ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับการคัดเลือกอีกได้”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๑๑ วรรค ๒)
- ให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนแผนพัฒนาท้องถิ่น
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒๙ ดังนี้
(๑)
กำหนดแนวทาง
วิธีการในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
(๒)
ดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
(๓)
รายงานผลและเสนอความเห็นซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อผู้บริหารท้องถิ่น
เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมทั้งประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบในที่เปิดเผยภายในสิบห้าวันนับแต่วันรายงานผลและเสนอความเห็นดังกล่าว
และต้องปิดประกาศไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปี (แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๑๒)
๒.
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒๙ ดังนี้
(๔)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่เห็นสมควร
*****************************
แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการแผนพัฒนาท้องถิ่น
(ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย
ด่วนที่สุดที่ มท ๐๘๑๐.๒/ว ๐๖๐๐
ลงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙
เรื่อง
แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และหนังสือกระทรวงมหาดไทยด่วนที่สุด
ที่ มท ๐๘๑๐.๓/ว ๕๗๙๗ ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม
๒๕๕๙
เรื่อง
ซักซ้อมแนวทางการจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔)
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙)
***************************
แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการแผนพัฒนาท้องถิ่น มีรายละเอียดตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย
ด่วนที่สุดที่ มท ๐๘๑๐.๒/ว ๐๖๐๐
ลงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ เรื่อง
แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ หน้า
๑ ดังนี้
เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มีความพร้อม ในการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๘ กระทรวงมหาดไทยจึงขอซักซ้อมแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนของแนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
ดังต่อไปนี้
๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการ
ประกอบด้วย
การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้จัดทำเป็นคำสั่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและให้ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้ลงนามในคำสั่ง
โดยให้กำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้เป็นปัจจุบันเสมอ
๒. การแต่งตั้งคณะกรรมการที่มาจากตำแหน่ง
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งเจ้าตัวทราบทั้งก่อนและหลังการแต่งตั้ง
๓. กรรมการที่มาจากการคัดเลือกให้ดำเนินการดังนี้
๓.๑ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
๓.๑.๑ กรณีที่ให้สภาท้องถิ่นคัดเลือก
(๑)
สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือก จำนวน ๓ คน
(๒) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการประชุมสมาชิกสภาท้องถิ่น โดยดำเนินการในสมัยประชุมสามัญหรือสมัยประชุมวิสามัญ
โดยมีหนังสือเชิญประชุมพร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ของการประชุมให้ชัดเจน
(๓)
การประชุมต้องมีสมาชิกสภาท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
(๔) การเสนอชื่อสมาชิกสภาท้องถิ่นต่อที่ประชุม ต้องมีผู้รับรองจำนวนอย่างน้อย ๒
คน และผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อต้องอยู่ในที่ประชุมและต้องให้ความยินยอม
(๕) ในการเสนอชื่อ หากมีการเสนอชื่อครบพอดีตามจำนวน ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อนั้นได้รับการคัดเลือก หากมีการเสนอชื่อเกินกว่าจำนวนที่กำหนด ประธานในที่ประชุมแจ้งให้ผู้เข้าร่วม
ประชุมคัดเลือก...
ประชุมคัดเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อโดยการลงคะแนนลับ ใช้วิธีเขียนชื่อตัวและชื่อสกุลผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อลงในบัตรคะแนนที่ประธานที่ประชุมมอบให้ได้ไม่เกินตามจำนวนที่กำหนด
(๖) ให้ประธานในที่ประชุมตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นที่อยู่ในที่ประชุมและมิได้เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อจำนวนไม่เกินสามคน
เป็นกรรมการตรวจนับคะแนน กรณีสมาชิกสภาท้องถิ่นมีไม่ครบตามจำนวนให้เลือกจากพนักงานเทศบาล
(๗) เมื่อตรวจนับคะแนนแล้ว ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดตามลำดับเป็นผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกจนครบจำนวนที่กำหนด
ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนในลำดับเดียวกันหลายคน ทำให้ไม่สามารถคัดเลือกได้ให้ที่ประชุมจัดให้มีการลงคะแนนใหม่เฉพาะผู้ซึ่งได้รับคะแนนเท่ากัน
ถ้าลงคะแนนครั้งที่สองแล้วปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีก ให้ใช้วิธีการจับสลากตามที่ประธานในที่ประชุมกำหนด
(๘) ให้ประธานสภาท้องถิ่น มีหนังสือแจ้งผลการคัดเลือกให้ผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อออกคำสั่งแต่งตั้งต่อไป
ผู้บริหารท้องถิ่นจัดทำเป็นคำสั่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งเจ้าตัวทราบโดยเร็ว
(๙) ในกรณีที่ผู้ได้รับการคัดเลือกลาออกหรือพ้นจากตำแหน่ง ให้จัดให้มีการคัดเลือกแทนผู้ที่พ้นไปภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
และให้ผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
(๑๐) ในกรณีที่ตำแหน่งนั้นว่างลงเนื่องจากครบวาระการดำรงตำแหน่งให้จัดให้มีการคัดเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง
โดยนำวิธีการคัดเลือกที่กำหนดไว้ข้างต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๑๑) ในกรณีที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจคัดเลือกได้ก่อนการครบวาระการดำรงตำแหน่งได้ก่อนสี่สิบห้าวัน
และให้ผู้ได้รับการคัดเลือกมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่ก่อนวันที่ผู้ดำรงตำแหน่งเดิมครบวาระโดยนำวิธีการคัดเลือกที่กำหนดไว้ข้างต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม
๓.๑.๒ กรณีที่ให้ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือก
(๑) ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินหกคน
(๒) ประชาคมท้องถิ่น สำหรับ องค์การบริหารส่วนตำบล
หมายความว่า
- ประชาคมหมู่บ้าน ประชาคมตำบล สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล
และให้ใช้ประชาคมท้องถิ่นในระดับประชาคมหมู่บ้าน
ประชาคมตำบล สาหรับองค์การบริหารส่วนตำบลมาบังคับใช้โดยอนุโลม
(๓) ประชาคมท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล
ให้ดาเนินการตามรูปแบบการจัดประชุมประชาคมท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
๔
(๔) ให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม
๓.๑.๓ กรณีที่...
๓.๑.๓ กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก
(๑) ตำแหน่งที่คัดเลือกได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวนสามคน ผู้แทนภาคราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจ ไม่น้อยกว่าสามคน
ให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคราชการและ/รัฐวิสาหกิจที่เห็นว่าสามารถให้คำแนะนาอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นได้
(๒) การคัดเลือก ผู้บริหารท้องถิ่นอาจคัดเลือกด้วยตนเองหรือนำเข้าปรึกษาหารือในที่ประชุมกับผู้บริหาร
ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหัวหน้าส่วนการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ได้
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจ ที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจะต้องยินดีที่จะเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
ในการนี้ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งเจ้าตัวทราบและให้มีการตอบยืนยันให้ทราบทั้งก่อนและหลังการแต่งตั้ง
๓.๒ คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
กรณีที่ให้ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือก
๓.๒.๑
ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสามคน
๓.๒.๒
ให้ดำเนินการในคราวเดียวกันกับการประชุมคัดเลือกผู้แทนประชาคมในคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
โดยให้นำวิธีการตามความในข้อ ๓.๑.๒
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
๓.๓ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
๓.๓.๑ กรณีที่ให้สภาท้องถิ่นคัดเลือก
(๑)
สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือก จำนวน ๓ คน
(๒) ให้ดำเนินการในคราวเดียวกันกับการประชุมคัดเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นในคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
โดยให้นำวิธีการตามความในข้อ ๓.๑.๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
๓.๓.๒ กรณีที่ให้ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือก
(๑)
ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสองคน
(๒) ให้ดำเนินการในคราวเดียวกันกับการประชุมคัดเลือกผู้แทนประชาคมในคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
โดยให้นำวิธีการตามความในข้อ ๓.๑.๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
๓.๓.๓ กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก
(๑) ตำแหน่งที่คัดเลือกได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสองคน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จำนวนสองคน ให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เห็นว่าสามารถให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นได้
(๒) การคัดเลือกผู้บริหารท้องถิ่นอาจคัดเลือกด้วยตนเองหรือนำเข้าปรึกษาหารือในที่ประชุมผู้บริหาร
ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหัวหน้าส่วนการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจะต้องยินดีที่จะเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
ในการนี้ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งเจ้าตัวทราบ และให้มีการตอบยืนยันให้ทราบทั้งก่อนและหลังการแต่งตั้ง
(๔) ให้ดำเนินการ...
(๔) ให้ดำเนินการในคราวเดียวกันกับการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
๓.๓.๔ กรณีหัวหน้าส่วนการบริหารคัดเลือกกันเอง
ให้นำวิธีการตามความในข้อ
๓.๑.๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลมโดยให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม
๓.๓.๕ การดำเนินการของคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง
(๑) เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นแล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ
ติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นภายในสิบห้าวัน เพื่อให้คณะกรรมการเลือกกรรมการหนึ่งคนทำหน้าที่
เป็นประธานคณะกรรมการ และเลือกกรรมการอีกหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการ เมื่อดำเนินการเลือกแล้วเสร็จให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีคำสั่งแต่งตั้งประธานและเลขานุการคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
และมีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งเจ้าตัวทราบโดยเร็ว
(๒) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จตาม (๑) ประธานคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นภายในเจ็ดวัน
เพื่อดำเนินการ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ในบทที่ ๕
กำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์
ได้แก่ ๕.๑ กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล ๑. กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล ๒. ระเบียบ วิธีในการติดตามและประเมินผล ๓. กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลและตามแผนพัฒนา ในส่วนที่ ๔
กำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลโครงการ ได้แก่ ๔.๑ กรอบและแนวทางในการติดตามและประเมินผล
๔.๒ ระเบียบวิธีในการติดตามและประเมินผล ๔.๓ กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผล
๓.๓.๖ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ประกอบด้วย
(๑) กำหนดแนวทางวิธีการในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
(๒) ดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
(๓)
รายงานผลและเสนอความเห็นซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อผู้บริหารท้องถิ่น
เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอต่อสภาท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมทั้งประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบในที่เปิดเผยภายในสิบห้าวันนับแต่วันรายงานผลและเสนอความเห็นดังกล่าว
และต้องปิดประกาศไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปี (แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๑๒)
๔. กรณีการ...
๔. กรณีการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ
กรณีที่ให้สภาท้องถิ่นคัดเลือก
กรณีที่ให้ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือก กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก กรณีหัวหน้าส่วนการบริหารคัดเลือก
หรือการดำเนินการอื่นๆ ในลักษณะนี้ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ.
๒๕๔๘ วิธีการประชุม การนำเสนอข้อมูลการประชุม รูปแบบและวิธีการการประชุมต่างๆ
ให้นำระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
พ.ศ. ๒๕๒๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
๕. คำสั่งต่างๆ
๕.๑ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น องค์ประกอบ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นประกอบด้วย
(๑)
ผู้บริหารท้องถิ่น ประธานกรรมการ
(๒)
รองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นทุกคน กรรมการ
(๓)
สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสามคน กรรมการ
(๔)
ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสามคน กรรมการ
(๕) ผู้แทนภาคราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจที่ผู้บริหารท้องถิ่น
กรรมการคัดเลือกจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
(๖) ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่น กรรมการคัดเลือกจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินหกคน
(๗)
ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการและเลขานุการ
(๘) หัวหน้าส่วนการบริหารที่มีหน้าที่จัดทำแผน ผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการตาม (๓) (๔)
(๕) และ (๖)
ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับการคัดเลือกอีกก็ได้” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๕
วรรค ๒)
๕.๒
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
องค์ประกอบ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นประกอบด้วย
(๑)
ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประธานกรรมการ
(๒)
หัวหน้าส่วนการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ
(๓) ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่น กรรมการคัดเลือกจำนวนสามคน
(๔)
หัวหน้าส่วนการบริหารที่มีหน้าที่จัดทำแผน กรรมการและเลขานุการ
(๕) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนหรือพนักงาน ผู้ช่วยเลขานุการส่วนท้องถิ่นที่ผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมาย
กรรมการตามข้อ ๙ (๓)
ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับคัดเลือกอีกก็ได้ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๖
วรรค ๒)
๕.๓ คำสั่งแต่งตั้ง...
๕.๓
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์ประกอบ
ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นประกอบด้วย
(๑)
สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสามคน
(๒)
ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสองคน
(๓)
ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสองคน
(๔)
หัวหน้าส่วนการบริหารที่คัดเลือกกันเองจำนวนสองคน
(๕)
ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนสองคน
โดยให้คณะกรรมการเลือกกรรมการหนึ่งคนทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการและกรรมการอีกหนึ่งคนทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ
กรรมการตาม (๑) (๒)
(๓) (๔) และ (๕) ข้อ
๒๘
ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับการคัดเลือกอีกได้ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ
๑๑ วรรค ๒)
๕.๔
คำสั่งแต่งตั้งประธานและเลขานุการคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
องค์ประกอบ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งประธานและเลขานุการคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
ซึ่งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น เลือกกรรมการหนึ่งคนทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการและกรรมการอีกหนึ่งคนทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ
๖. กรณีไม่มีผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่น
ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๑๐.๓/ว
๕๗๙๗ ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม
๒๕๕๙ เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการจัดทำและประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔)
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ สิ่งที่ส่งมาด้วย
๕ ข้อ ๔
หน้า ๒๒ – ๒๓ ดังนี้
๔. กรณีไม่มีผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่น
๔.๑
กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดไม่มีผู้บริหารท้องถิ่น
ให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหัวหน้าส่วนการบริหารถัดไป ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและให้รองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหัวหน้าส่วนการบริหารงานถัดไปเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
๔.๒
กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่ได้ดำเนินการตามข้อ ๔.๑
ให้รองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหัวหน้าส่วนการบริหารถัดไปทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
๔.๓ กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดไม่มีผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นให้สัดส่วนของคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ที่มาจากผู้บริหารท้องถิ่นหรือ สมาชิกสภาท้องถิ่น โดยให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวตามสัดส่วนจากผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ
ความสามารถ
การบริหารการพัฒนาท้องถิ่นในท้องถิ่น
ให้ครบถ้วนตามจำนวน ทั้งนี้ ให้สัดส่วนหญิงและชายมีจำนวนเท่ากันหรือใกล้เคียง
*******************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น