วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2567

⏳พาย้อนเบิ่ง เส้นทางเกวียนในอดีต🐂


⏳พาย้อนเบิ่ง เส้นทางเกวียนในอดีต🐂
.
.
“เกวียนของคนอีสานอีสาน” คือพาหนะคู่ชีวิต
.
วิถีสังคมเก่า “ชาวอีสาน” เป็นสังคมที่นิยมใช้เส้นทางการค้าการขนส่งหรือสัญจรโดยทางบกมากกว่าทางน้ำ ด้วยเพราะวิถีการผลิตของชาวอีสาน ต้องทำไร่นาตลอดช่วงฤดูฝนจนสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยว แล้วจึงเริ่มออกเดินทางในช่วงหน้าแล้ง ไม่เกินเดือน 6 การขนส่งหรือเดินทางทางน้ำจึงไม่สะดวก เนื่องด้วยช่วงเวลาดังกล่าวเป็นหน้าแล้งที่น้ำลดมากไม่เหมาะแก่การเดินเรือ เพราะจะติดแนวหินตามแก้งหรือแก่ง
.
จึงเป็นสาเหตุให้ ชาวอีสาน นิยมเดินทางในเส้นทางบก ซึ่งการเดินทางลักษณะดังกล่าว ต้องอาศัยพาหนะที่เรียกกันทั่วไปว่า เกวียน ซึ่งมีอยู่ทุกวัฒนธรรม เหมือนเป็นพาหนะคู่ชีวิตของผู้คนในทุกสังคมเพื่อใช้บรรทุกพืชผลทางการเกษตร และการเดินทางขนส่งทางบก รวมถึงประโยชน์ด้านอื่น ๆ อีกมากมายในโอกาสพิเศษ
.
.
แผนที่แสดงตำแหน่งหมู่บ้านที่มีคำความหมายว่า “ทางเกวียน” อยู่ในชื่อ เช่น
• ภาคกลาง เรียก ทางเกวียน เกวียน (วงกลมเหลือง)
• ภาคอีสาน เรียก โสก โสกทางไปนา โสกทางเกวียน (วงกลมแดง)
• ภาคเหนือ เรียก ฮ่อม (วงกลมเขียว)
• ภาคใต้ เรียก ทางพลี หลวน (วงกลมฟ้า)
.
จากตำแหน่งหมู่บ้าน เป็นการวิเคราะห์เส้นทางเชื่อมจากทุกหมู่บ้าน ด้วยวิธีภูมิสารสนเทศ (GIS) + ข้อมูลภูมิประเทศ (DEM) ที่เอื้อต่อการสัญจร ผลที่ได้ คือ เส้นสีขาว ซึ่งแปลความแบบพอเป็นไปได้ว่า น่าจะเป็นเส้นทางที่ใช้สัญจรจาก “เกวียน” สู่ “เกวียน” ในอดีต
.
.
ตัวอย่างเส้นทางเกวียนจากจากโคราช ไปยังจังหวัดอื่นๆในอีสาน
.
เส้นทางที่ 1 ไปอีสานใต้ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี (1-2-3-4-5 / แนวเส้นทางใกล้เคียงกับถนนหมายเลข 226 ในปัจจุบัน)
.
เส้นทางที่ 2 ไปชัยภูมิ ภูเขียว ชุมแพ เลย (1-6-10 / แนวเส้นทางใกล้เคียงกับถนนหมายเลข 205, 201 ในปัจจุบัน)
.
เส้นทางที่ 3 ไปบัวใหญ่ ชนบท บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย (จากอุดรธานีมีทางแยกไปสกลนคร นครพนม) / (1-7-8-9 / แนวเส้นทางใกล้เคียงกับถนนหมายเลข 2, 2199, 229, 2 ในปัจจุบัน)
.
เส้นทางที่ 4 ไปประทาย พยัคฆภูมิพิสัย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร (1-15-16-17 แนวเส้นทางใกล้เคียงกับถนนหมายเลข 2, 207, 202, 219, 214 ในปัจจุบัน)
.
หมายเหตุ: แนวถนนในปัจจุบัน บางช่วงใกล้เคียงหรือทับเส้นทางในอดีต บางช่วงเป็นทางตัดใหม่
.
.
อ้างอิงจาก
- มิตรเอิร์ธ – mitrearth
silpa-mag.com
- หนังสือ ย้อนรอย 100 ปี โคราชวาณิช
- โคราชในอดีต

ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่
https://linktr.ee/isan.insight

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #เส้นทางเกวียนของอีสาน #เส้นทางเกวียน #เกวียน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)

 คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566) โหลดตรงนี้ https://l...