วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2567

วันที่ 14 เมษายน เป็น #วันครอบครัว เป็นวันที่สมาขิกในครอบครัวได้รวมญาติ พบปะกัน ทำบุญ รดน้ำดำหัว และขอพรจากผู้ใหญ่ตามประเพณีไทย

 


วันที่ 14 เมษายน เป็น #วันครอบครัว เป็นวันที่สมาขิกในครอบครัวได้รวมญาติ พบปะกัน ทำบุญ รดน้ำดำหัว และขอพรจากผู้ใหญ่ตามประเพณีไทย

เมื่อมีการพบปะญาติพี่น้องกัน ครอบครัวมีลูก หลาน ขยายใหญ่ขึ้น ก็มักจะลำดับเครือญาติ วันนี้แอดจึงนำเรื่องของ "ลำดับเครือญาติของไทย” มาแบ่งปันกันค่ะ
"ญาติ” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง คนในวงศ์วานที่นับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่ ข้อมูลของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา กล่าวถึง พงศาวลี แผนลำดับเครือญาติ หรือ สาแหรกเครือญาติ จะแบ่งออกเป็น 10 รุ่นได้ ดังนี้
1. เชียด หรือ เทียด คือ พ่อหรือแม่ของชวดหรือทวด
2. ชวด หรือ ทวด เป็นพ่อหรือแม่ของปู่ย่าตายาย
3. ปู่ และ ย่า เป็นพ่อกับแม่ของพ่อ ส่วน ตา และ ยาย เป็นพ่อกับแม่ของแม่
4. พ่อ กับ แม่ เป็นพ่อกับแม่ผู้ให้กำเนิดลูก
5. ลูก เป็นลูก หรือผู้มีกำเนิดมาจากพ่อกับแม่
6. หลาน เป็นลูกของลูก
7. เหลน เป็นลูกของหลาน ที่เป็นลูกของลูก
8. ลื่อ เป็นลูกของเหลน
9. ลืบ เป็นลูกของลื่อ
10. ลืด เป็นลูกของลืบ
พงศาวลีของครอบครัว สามารถนับย้อนจากตัวเราขึ้นไป 5 รุ่น ก็จะเป็น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และชั้นผู้ใหญ่ไปอีกคือ ปู่ทวด ย่าทวด ตาทวด ยายทวด จนไปถึงเชียดหรือเทียด และนับลงจากเราไป ก็จะเป็น ลูก หลาน เหลน ถัดลงไปอีกก็เป็นชั้น ลื่อ ลืบ และลืด
นอกจากนี้ การนับเครือญาติของไทยยังนับญาติของผู้ที่เป็นพี่หรือน้องด้วย เช่น พี่ชาย พี่สาวของพ่อกับแม่ เรียก "ลุง-ป้า" น้องชาย-หญิงของพ่อ เรียกว่า "อา" น้องชาย-หญิงของแม่เรียก "น้า" ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นเดียวกับพ่อแม่เรา
ที่มา : เว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา บทความ : พงศาวลี และเว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม บทความเล่าสู่กันฟัง เรื่อง 10 ชั่วโคตรของไทยไม่มี…โหลน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)

 คู่มือแบบการร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566) โหลดตรงนี้ https://l...