ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง The Sufficiency Economy
รวบรวมโดยประพันธ์
เวารัมย์ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป
*********************
เศรษฐกิจพอเพียง
แนวพระราชดำริ
“เศรษฐกิจพอเพียง” จุดเริ่มต้นของการพัฒนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 ความว่า “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน
พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อนโดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด
แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว
จึงค่อยสร้างความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขึ้นสูงโดยลำดับต่อไป...”
นับจากพระบรมราโชวาทในวันนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ
“เศรษฐกิจพอเพียง” จนกระทั่งวันนี้เป็นเวลากว่า 31 ปี
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสและพระราชดำริ
ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกร
ให้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์อันเป็นผลพวงจากการพัฒนาที่เน้นความเติบโตทางเศรษฐกิจ
(Economic
growth) ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี
ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4
ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งอัญเชิญมาบางตอนต่อไปนี้ “การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ
สำคัญอยู่ที่เรามี เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า
อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เคยบอกว่า
ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตนเอง
จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ
จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ
ก็ขายได้แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก
อย่างนี้นักเศรษฐกิจต่างๆก็มาบอกว่าล้าสมัย
จริงอาจจะล้าสมัยคนอื่นเขาต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียกว่า
เป็นเศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา
แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้”
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตอนหนึ่งว่า “....การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน
โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร
และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป |
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม
“3 ห่วง 2 เงื่อนไข” ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงช่องทางสื่อต่างๆ
อยู่ในปัจจุบันซึ่งประกอบด้วยความ “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” บนเงื่อนไข
“ความรู้” และ “คุณธรรม” ปรัชญาของเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย 5 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 กรอบแนวคิด ส่วนที่ 2 คุณลักษณะ ส่วนที่ 3 คำนิยาม ส่วนที่ 4 เงื่อนไข ส่วนที่ 5 แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยสรุปรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่
และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
และมุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต
เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา ส่วนที่ 2 คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง
สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ส่วนที่ 3 คำนิยาม
ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป
และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิต
และการบรโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล
หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกระทำนั้นๆ
อย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ส่วนที่ 4 เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็น 2 เงื่อนไข
ดังนี้ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผน และระมัดระวังในขั้นปฎิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย
มีความตระหนักกในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความขยันอดทน
มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รวมถึงรู้จักการแบ่งปัน |
การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ต้องคำนึงถึง 4 มิติดังนี้ (1) ด้านเศรษฐกิจ ลดรายจ่าย
/ เพิ่มรายได้ / ใช้ชีวิตอย่างพอสมควร /
คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ / มีภูมิคุ้มกัน/ ไม่เสี่ยงเกินไป /
การเผื่อทางเลือกสำรอง (2) ด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูล
/ รู้รักสามัคคี / สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน (3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ
/ เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้ค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด/ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด (4) ด้านวัฒนธรรม รักและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย
เอกลักษณ์ไทย / เห็นประโยชน์และคุ้มค่าขอภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
/รู้จักแยกแยะและเลือกรับวัฒนธรรมอื่นๆ |
“เศรษฐกิจพอเพียง”
เป็นปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิถีไทย
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานเพื่อชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ
ทุกสาขาอาชีพมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา ให้ดำเนินไปบน
ทางสายกลาง
มุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นฐาน ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน
แล้วจึงพัฒนา ในลำดับขั้นที่สูงต่อไป
เศรษฐกิจพอเพียง
หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตนเอง
อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน โดยต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน
ตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ไม่ใช่จะมุ่งหวังแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ
ยกฐานะทางเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียวเพราะผู้ที่มาอาชีพและฐานะเพียงที่จะพึ่งตนเองย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า
และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับแต่ไปได้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จำแนกได้เป็นองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ
(1) กรอบแนวคิด >>>>> เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยพื้นฐานวิถีชีวิตของสังคมไทย
(2) คุณลักษณะ >>>>> นำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
เน้นทางสายกลาง
(3) ค่านิยม >>>>> ความพอเพียง มี 3
องค์ประกอบพร้อมกัน คือ
1) ความพอประมาณ = ความพอดี ที่ไม่น้อยไป
ไม่มากไป
2) ความมีเหตุผล = ตัดสินใจ มีเหตุผล
อธิบายได้
3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว = เตรียมตัวให้พร้อมกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
(4) เงื่อนไข >>>>> 1) เงื่อนไขความรู้ 2) เงื่อนไขคุณธรรม
(5) แนวทางปฏิบัติ >>>>>
ประยุกต์ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
แนวทางการวิเคราะห์ความพอเพียง
สัปปุริสธรรม 7
1) รู้เหตุ |
ความมีเหตุผล |
2) รู้ผล |
|
3) รู้ตน |
ความพอประมาณ |
4) รู้ประมาณ |
|
5) รู้กาล |
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี |
6) รู้บุคคล |
|
7) รู้ชุมชน |
หลักการพึ่งตนเอง ยึดหลัก เส้นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)
ในการดำรงชีวิตให้สามารถพึ่งตนเองได้ 5 ประการ คือ
T |
ด้านเทคโนโลยี |
รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม
(ภูมิสังคม)/ พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านเองก่อน/
ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก |
>การพึ่งตนเอง |
E |
ด้านเศรษฐกิจ |
เดิมมุ่งเพิ่มรายได้
แต่ ไม่ลดรายจ่าย กลับทิศทางใหม่ มุ่ง ลด รายจ่าย โดยยึดหลัก พออยู่
พอกิน พอใช้ และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง |
|
R |
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ/เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด/ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด |
|
M |
ด้านจิตใจ |
มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ /มีจิตสำนึกที่ดี/เอื้ออาทรประนีประนอม
/ นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก |
|
S |
ด้านสังคม |
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน / รู้รักสามัคคี
/สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน |
หลักการพึ่งตนเอง |
||||
ด้านจิตใจ |
ด้านสังคม |
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
ด้านเทคโนโลยี |
ด้านเศรษฐกิจ |
ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเอง มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดีสร้างสรรค์ให้ตนเงอและชาติโดยรวม
มีจิตใจเอื้ออาทร ประนีประนอม ซื่อสัตย์ สุจริต เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ด้านสังคม
แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรงเป็นอิสระ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาดพร้อมทั้งการเพิ่มมูลค่า โดยยึดหลักการของความยั่งยืน
และเกิดประโยชน์สูงสุด
ด้านเทคโนโลยี
จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่มีทั้งดีและไม่ดี
จึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน
และเลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการของสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ สังคมไทย
และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของเราเอง
ด้านเศรษฐกิจ
แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่ง ที่การลดรายจ่าย
ในเวลาเช่นนี้จะต้องปรับทิศทางใหม่ คือจะต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญ
และยึดหลักพออยู่พอกินพอใช้และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ในระดับเบื้องต้น
เป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายร่วมที่สำคัญ
คือ มุ่งสร้างความสมดุลของกระบวนการพัฒนาทุกมิติที่มี “คน”เป็นศูนย์กลาง
โดยมุ่งสู่ “ความสุข”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทย
ณ ศาลาดุสิตดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 สรุปความว่า
“ความสุข ที่มี คือ ความพอเพียง
ถ้าคนมีความพอเพียง คนก็มีความสุข เราก็มีความสุข
ถ้าคนที่อยากได้โน่นอยากได้นี่มาก เราเห็นแล้วมันไม่เพียงพอ เราไม่มีความสุข
ความสุขของคนแสดงออกมาด้วยความพอเพียง”
คุณลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ
1. ลักษณะของผู้ปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 ความรู้
-ความรอบรู้
-ความรอบคอบ
-ความระมัดระวัง
ความรอบรู้ คือ ความรู้ในสิ่งที่จะทำอย่างถ่องแท้รอบด้าน นำความรู้ตามหลักวิชามาใช้ในการวางแผนและดำเนินงานทุกขั้นตอน
ความรอบรู้ ในข้อเท็จจริงในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ
เป็นการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ความรอบคอบ เป็นการนำความรู้มาพิจารณาเพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน เพื่อพิจารณาเชื่อมโยงกันด้วยความรอบคอบไม่หุนหันพลันแล่น
ความระมัดระวัง
เป็นการใช้ความรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยความระมัดระวังในการปฏิบัติ
และพร้อมรับค่าการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
1.2 เป็นคนดีมีคุณธรรม
คือการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนที่ดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นคนดีมีจิตสำนึก
และตระหนัก ในคุณธรรม โดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โลภ ไม่คดโกง
มีความอดทนและมีความเพียร การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต มีความเมตตา ช่วยเหลือ
เกื้อกูล และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักแบ่งปัน มีความกตัญญูกตเวที ต่อแผ่นดิน บิดา
มารดา และผู้มีพระคุณ ตลอดจนไม่หลงตนเอง รู้จักถ่อมตน
มุ่งมั่นทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดในขอบเขตของศีลธรรม
2. คุณลักษณะของความพอเพียง
- ความพอประมาณ
- ความมีเหตุผล
- การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ความพอประมาณ หมายถึง
ความพอดีที่ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ความเรียบง่าย คือ มีสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตอย่างพอเพียง
มีความสะดวกสบายพอสมควร แต่ไม่ถึงขั้นฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
ความมีเหตุผล
หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ประเมินสถานการณ์และคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ ใช้สติปัญญาในการทำงาน การทำอะไรควรใช้ข้อมูลความรู้
ทางวิชาการ ทำงานอย่างมีแบบแผน
ทำเป็นขั้นตอนจากน้อยไปหามาก คิดได้คิดเป็น ฉะนั้นความมีเหตุผล จะหมายถึง
การเรียนรู้ด้วย
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
หมายถึงการเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น
โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้และไกล เช่น
ด้านร่างกาย ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อความแข็งแรงไม่เจ็บป่วย
ด้านสติปัญญาพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถ ใฝ่รู้ตลอดชีวิต ด้านสังคม
ต้องมีเพื่อน มีคนรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สำหรับองค์กรต่างๆ ควรเลือกเฟ้นคนดีคนเก่งเข้าทำงาน
ด้านเศรษฐกิจ ต้องมีงานทำ มีรายได้ มีเงินเก็บออมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
หรือออมไว้เพื่อลงทุนเพิ่มเติม มีการจัดทำบัญชีค่าใช่จ่าย
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
ความหมาย
การเรียนรู้ = การศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ
เพื่อให้ทราบ
ตามรอย = การเลียนแบบ หรือเอาอย่าง
ไม่ขัด ไม่ฝ่าฝืน
พระยุคลบาท = เท้าทั้งคู่ของพระเจ้าอยู่หัว
(พ่อหลวง) ในหลวง
ตามรอยพระยุคลบาท = การประพฤติ
ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.2 ความอดทน มุ่งมั่น
ยึดธรรมะ และความถูกต้อง
ทุกชีวิต.... ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ถูกกดดัน
เกลียดชัง อิจฉา ทำลาย
ต้องอดทน
พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปริญญาบัตร
ตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา รวมน้ำหนักทั้งสิ้น 220 ตัน
ทรงงานหนักประทับอยู่ในป่าในดง มืดค่ำ
แมลงบินเข้าหน้าเข้าตา
ก็อดทนมุ่งมั่น
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1) ยึดทางสายกลาง
เป็นแนวทางดำเนินชีวิตไม่ทำอะไรสุดโต่ง ไม่มากไม่น้อย เกินไป
ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
2) ไม่ยึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ไม่หลงตามกระแสนิยม
พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
3)
ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง พอมีพอกิน ไม่โลภ
4) ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล
ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ ใช้ของเกินฐานะ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
5)
ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
6) สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง มีสุขภาพดี ครอบครัวอบอุ่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
มีการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย
7) ไม่ทำอะไรเสี่ยงเกินไป
หรือลงทุนเชิงการพนันที่ตั้งอยู่บนความเสี่ยง
8) ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
9) ขยัน อดทน มีความเพียร ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ละเลิกแก่งแย่งผลประโยชน์ รู้จักกตัญญู
10) ยึดหลัก รู้รัก สามัคคี ไม่เบียดเบียน รู้จักการให้และแบ่งปัน
เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร
ทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม คือ
จะต้องช่วยให้ประชาชนที่อยู่ในภาคเกษตรและที่กลับคืนสู่ภาคเกษตรมีงานทำ มีรายได้
ในขณะเดียวกันก็จะต้องสร้างรากฐานของชนบทให้แข็งแรงพอที่จะสามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว
แนวคิดระบบเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภาคเกษตรกรตามแนวพระราชดำริ
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้นคือ
ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดขจัดการใช้จ่าย
ขั้นที่สอง
รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการรวมทั้งด้านสวัสดิการ
การศึกษา การพัฒนาสังคม
ขั้นที่สาม
สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย
โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคราชการในด้านเงินทุนการตลาด
การผลิต การจัดการ และข่าวสารข้อมูล โดยมีนัยสำคัญ คือ
1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพตามหลักปรัชญาของ
“เศรษฐกิจพอเพียง”
2. ในหน้าที่มีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกผักต่างๆที่ใช้น้ำน้อยได้โดยไม่ต้องเบียดเบียนของชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี
ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง
เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้ที่อยู่นอกภาคการเกษตร
สำหรับคนอยู่นอกภาคเกษตรกรนั้นเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้
เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา เป็นแนวปฏิบัติตนไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรมหรืออาชีพใด
ก็ต้องยึดวิถีชีวิตไทยอยู่แต่พอดี ยึดเส้นทางสายกลางอยู่กินตามฐานะอย่าใช้หลักการลงทุนเชิงการพนันซึ่งตั้งอยู่บนความเสี่ยง
ใช้สติปัญญาในการปกป้องตนเองไม่ให้หลงกระแสโลกาภิวัตน์
แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ไขวิกฤติทางเศรษฐกิจและปัญหาทางสังคมไทย
ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดหลักการที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
โดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรกเมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้วจึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้า
ผลผลิตส่วนเกินที่ออกสู่ตลาดก็จะเป็นกำไรของเกษตรกร
ประการที่สอง เศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน
ทั้งนี้กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชาวบ้านจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆให้หลากหลายครอบคลุมทั้งการเกษตรแบบผสมผสาน
หัตถกรรม การแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจค้าขาย และการท่องเที่ยวระดับชุมชน ฯลฯ
ประการที่สาม เศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา ความ เอื้ออาทร และความสามัคคี ของสมาชิกในชุมชน
ในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบอาชีพต่างๆ
ให้บรรลุผลสำเร็จประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้หมายถึงรายได้แต่เพียงมิติเดียว
หากแต่ยังรวมถึงประโยชน์ด้านอื่นๆด้วย ได้แก่
การสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน ความสามารถในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ต่อไป
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน
ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต
แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม
3.
ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงเช่นอดีต
4.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก
โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
5.ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป
ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงเพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากความละอาย
“เศรษฐกิจพอเพียง”จึงไม่ใช่แนวคิดลอยๆ ตามกระแสสังคมเท่านั้น
หากแต่สามารถนำมาปรับใช้ และปลงแนวคิดไปสู่การปฏิบัติได้เป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากทั้งประชาชนชาวไทย
และชาวต่างประเทศ
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง
(1) ยึดความประหยัด
(2) ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต
(3) ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันทางการค้าขาย
(4) ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก
(5) ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป
เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นเหมือนรากฐานของชีวิตรากฐานความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบ
เสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม
และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ
และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ
มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต
และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีมติ ปัญญา
และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ
สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสายกลางและความไม่ประมาทโดยคำนึงถึง ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ
และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วนดังนี้
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย
และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
การพัฒนาประเทศสอดคล้องกับบันได 3 ขั้น
ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ
การพึ่งพาตนเอง การพี่งพากันเอง และการรวมกลุ่มอย่างมีพลัง
โดยใช้หลักการพัฒนาที่สมดุล ตั้งอยู่บนพื้นฐานคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่า
เมื่อพร่องต้องรู้เติม (Fulfilled) เมื่อพอต้องรู้จักหยุด (Enough) และเมื่อกินต้องรู้จักปัน (Sharing)
ประชาชนจะมีหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีสังคมที่เกื้อกูล แบ่งปัน
เกิดการสร้างพลังทางสังคมและสร้างความเป็นปึกแผ่นในสังคม
สามารถรับมือกับการแข่งขันที่ท้าทายของโลก จากการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนผ่านกลไก “ประชารัฐ”
ไปสู่ยุทธศาสตร์ของประเทศ คือ
การพัฒนาประเทศให้มี “ความมั่นคง มั่นคง และยั่งยืนอย่างแท้จริง”
3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อมๆ
กันดังนี้
3.1
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี
ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น
การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกระทำนั้นๆ
อย่างรอบคอบ
3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กลางคือ
4.1
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
4.2
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม
มีความซื่อสัตย์และมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ/ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ความรู้และเทคโนโลยี
เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวปฏิบัติของทฤษฎีใหม่
เป็นแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่างๆ
อย่างเป็นขั้นตอน ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ
อาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร
และความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่
โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ
และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่
ในขณะที่แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรใหม่
เป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอน เป็นอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
เศรษฐกิจพอเพียง
มี 2 รูปแบบ คือ
เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
คือ ความพอมี พอกิน สามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่โลภมากและไม่เบียดเบียนคนอื่น
และเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ การแลกเปลี่ยนร่วมมือช่วยเหลือกัน
เพื่อให้ส่วนร่วมได้รับประโยชน์
และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและสังคมให้เจริญอย่างยั่งยืน
เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปแบบของการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจด้านการเกษตร
แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่
1 เป็นการทำการเกษตรที่มีระบบการผลิตที่สามารถเลี้ยงตนเองในระดับที่ประหยัด
และสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยเริ่มจากการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1
เป็นพื้นที่สระน้ำเพื่อกักเก็บนำฝนไว้ใช้ในไร่นาเพื่อปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น
พืชไร่ และอื่นๆ เพื่อเป็นอาหารและยาสำหรับบริโภคในครัวเรือน
เหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้ ส่วนที่ 4 เป็นพื้นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง
และโรงเรียน
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่
2 เป็นการรวมพลังของเกษตรกรในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ร่วมกันดำเนินการในการผลิต
การตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม และศาสนา
โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 เป็นการประสานเพื่อจัดหาทุน
และแหล่งเงินมาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยได้รับประโยชน์ร่วมกัน
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(Application of sufficiency Economy for Government Officers) เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องเริ่มตันสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้น
ในการดำเนินชีวิตของแต่บุคคลก่อน โดยตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนในการเป็นผู้บริการแก่สังคม
และร่วมเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศวิทยา ได้อย่างสมดุล มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
มีสติยั้งคิด ใช้ปัญหาพิจารณาอย่างรอบคอบ ในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติหน้าที่
บนพื้นฐานของความมีเหตุผล พอประมาณกับศักยภาพและสถานภาพ ของแต่ละบุคคล
ในแต่ละสถานการณ์ และหมั่นเสริมสร้างความรู้ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
เพื่อจะได้มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
การเตรียมนโยบาย
แผนงาน หรือโครงการต่างๆ ต้องสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยเน้นการพัฒนาที่สร้างความสมดุลในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
ให้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยมุ่งให้ประชาชน/ชุมชน
สามารถพึ่งตนเอง และสามารถเป็นที่พึ่งของสังคม/ประเทศชาติได้ในที่สุด
แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ
1)
การบริหารจัดการในภาพรวม
Ø
ผู้บริหารใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์กรหรือหน่วยงานของตนเอง
โดยสื่อสารให้คนในองค์กรมีความเข้าใจและพัฒนาร่วมกัน
Ø
เน้นในคนในองค์กรหรือหน่วยงานนำหลักปรัชญามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
ในการดำเนินงานและการประเมินผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญา
ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่ในการกำกับ การดำเนินงาน
และการประเมินผล
Ø
การบริหารจัดทรัพยากรบุคคลโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เช่น การจัดสรรกำลังคนให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ
การสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมให้สอดคล้องกับหลักปรัชญา
การวางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีขีดความสามารถตามเป้าประสงค์ขององค์กร
การปลูกฝังอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
2) การประยุกต์ใช้ในแต่ละหลัก ดังนี้
Ø มีความพอประมาณ อาทิ
การตั้งเป้าหมายในการบริหารงานต่างๆ
ให้มีความเหมาะสม ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ไม่สุดโต่ง /
การใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรหรือหน่วยงานต้องเป็นไปในแนวทางที่เกิดประโยชน์สูงสุดแลคุ้มค่า
โดยใช้หลักความพอประมาณในการลงทุนภาครัฐ / การใช้ทรัพยากรทุกภาคส่วนที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นต้น
Ø ความมีเหตุผล อาทิ
การจัดทำแผนงานและโครงการที่มีความเป็นไปได้
ตามงบประมาณที่มีอยู่หรือคาดว่าจะได้รับ /ใช้งบประมาณตามแผนโดยประหยัด
ไม่ฟุ่มเฟือย และมีความคุ้มค่า / มีการศึกษาและวางแผนอย่างรอบคอบและมีความยั่งยืน
โดยอาศัยหลักวิชาการต่างๆ เป็นต้น
Ø การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี อาทิ
มีระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการที่ดำเนินการ
/ มีแผนบริหารหรือลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน / มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ทั้งระยะสั้น
ระยะปานกลาง และระยะยาว ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าประสงค์เกิดความมั่นคง
สมดุลและยั่งยืน เป็นต้น
Ø การมีความรู้ อาทิ
เข้ารับการฝึกอบรมและสัมมนา
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายในองค์กร/ หน่วยงาน /
มีการบูรณาการภารกิจ หรือแผนงาน/ โครงการ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน / องค์กร /
การมีวิจัยและพัฒนาองค์กรตามความจำเป็น เป็นต้น
Ø การมีคุณธรรม อาทิ
การบริหารงานและการจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความซื่อสัตย์สุจริต
การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชน การมีและการใช้กฎระเบียบที่มีความเป็นธรรม
ฯลฯ /การบริหารงานและปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
/การเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ยึดผลสัมฤทธิ์เป็นหลัก เป็นต้น
**********************************************************
การพัฒนาประเทศกับบันได 3 ขั้นของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ
การพึ่งพาตนเอง การพึ่งพากันเอง และการรวมกลุ่มอย่างมีพลัง โดยใช้หลักการพัฒนาที่สมดุล
ตั้งอยู่บนฐานคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่า เมื่อพร่องต้องรู้จัก (Fulfilled) เมื่อพอต้องรู้จักหยุด (Enough)
และเมื่อเกิดนต้องจักปัน (Sharing)
ประชาชนจะมีหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีสังคมที่เกื้อกูล แบ่งปัน
เกิดการเสริมสร้างพลังทางสังคมและสร้างความเป็นปึกแผ่นในสังคม
สามารถรับมือกับการแข่งขันที่ท้ายของโลก จากการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนผ่านกลไก
“ประชารัฐ” ไปสู่ยุทธศาสตร์ของประเทศ คือการพัฒนาประเทศให้มี “ความมั่นคง
และยั่งยืนอย่างแท้จริง”
สรุปหลักการสำคัญ |
||||
ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน |
การลงไปศึกษาเรียนรู้จากชุมชน
ให้ชุมชนบอกว่าปัญหาคืออะไร ความต้องการของประชาชนคืออะไร โดยต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องและยั่งยืน |
|||
พระบรมราชโองการในระหว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 |
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม” |
|||
หลัก 23
ข้อในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 |
1.
ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ 2.
ระเบิดจากข้างใน (สร้างความเข้มแข็งให้คนภายในชุมชน) 3.
แก้ปัญหาที่จุดเล็ก 4.
ทำตามลำดับขั้นตอน “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นต้องสร้างพื้นฐาน คือ
ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน
ใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาเมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควร
และปฏิบัติได้แล้วค่อยสร้างเสริมความเจริญ
และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป” 5.
ภูมิสังคม “การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา คือ
นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ
เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ
แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง” 6.
ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic)ทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1,2 และ 3 7.
ไม่ติดตำรา 8.
ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด 9.
ทำให้ง่าย (Simplicity) 10.
การมีส่วนร่วม “สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวาง หนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น
แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาดนั้นแท้จริง คือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์
อันหลากหลายมาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จที่สมบูรณ์นั้นเอง” 11.
มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก 12.
บริการรวมที่จุดเดียว (One stop Services) 13.
ทรงใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 14.
ใช้อธรรมปราบอธรรม 15. ปลูกป่าในใจคน 16.
ขาดทุน คือ กำไร (Our loss is gain) 17. การพึ่งพาตนเอง 18.
พออยู่พอกิน 19.
เศรษฐกิจพอเพียง 20.
ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน 21.
ทำงานอย่างมีความสุข 22.
ความเพียร : พระมหาชนก 23.
รู้จักสามัคคี |
|||
ขั้นตอนการทรงงานตามศาสตร์พระราชา |
1.
การศึกษาข้อมูล 2.
การหาข้อมูลในพื้นที่ 3. การศึกษาข้อมูลและการจัดทำโครงการ 4.
การดำเนินงานตามโครงการ 5.การติดตามผลงาน
|
|||
การนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน |
1.เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ให้สามารถอยู่ร่วมกับคนในหน่วยงานได้อย่างมีความสุข 2.
ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลดความฟุ่มเฟือย รู้จักคำว่า “พอ”
โดยไม่เบียดเบียดทั้งตนเองและผู้อื่น 3.
มีความสุขและความพอใจกับงานที่ปฏิบัติ กับชีวิตที่พอเพียง
ยึดทางสายกลางในการดำเนินชีวิต 4.พยายามใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
และชีวิตประจำวันอย่างประหยัด เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 5.ควรมีการวางแผนการทำงานประจำวันให้ดี
โดยพิจารณาถึงงานที่ค้างวันก่อน งานที่ยังไม่เสร็จในวันนี้
และงานที่ต้องทำในวันต่อไป 6.
ควรมีการบริหารเวลาโดยจัดลำดับความสำคัญของงาน ซึ่งในแต่ละวันมีงานหลายอย่าง
ดังนั้น ควรจัดลำดับความสำคัญของงานว่าจะทำอะไร ก่อน - หลัง
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับเวลา |
|||
คุณสมบัติพื้นฐาน |
ความรู้
และคุณธรรม |
|||
หลักแห่งการตัดสินใจ |
พอประมาณ
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน |
|||
ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม |
||||
ศาสตร์ของพระราชา
เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” |
เป็นแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานให้กับปวงชนชาวไทยตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน |
|||
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ประมวลจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพรปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เกี่ยวกับการพัฒนาที่ได้รับพระราชทานในหลายโอกาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517
และหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน หมายถึง การดำรงชีวิต
และการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ทางสายกลาง” และความไม่ประมาท
มุ่งประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน และคำนึงผลตอบแทนในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น” |
|||
แนวคิดของความพอเพียง |
เกิดความสมดุลครอบคลุมทั้ง
4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น “เศรษฐกิจ” “สังคม” “สิ่งแวดล้อม” และ “วัฒนธรรม” |
|||
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 2.
ความมีเหตุผล หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นอย่างรอบคอบ 3.
ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต |
|||
ความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อน
SDGs
ขององค์การสหประชาชาติได้เป็นอย่างดี #เป้าหมายที่
1 ขจัดความยากจน #เป้าหมายที่
2 ขจัดความหิวโหย #เป้าหมายที่
3 การมีสุขภาพที่ดี #เป้าหมายที่
4 การศึกษาที่เท่าเทียม #เป้าหมายที่
5 ความเท่าเทียมทางเพศ #เป้าหมายที่
6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล #เป้าหมายที่
7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ #เป้าหมายที่
8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ #เป้าหมายที่
9 อุตสาหกรรมนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน #เป้าหมายที่
10 ลดความเหลื่อมล้ำ #เป้าหมายที่
11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน #เป้าหมายที่
12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน #เป้าหมายที่
13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ #เป้าหมายที่
14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล #เป้าหมายที่
15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก #เป้าหมายที่
16 สังคมสงบสุขยุติธรรมไม่แบ่งแยก #เป้าหมายที่
17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
|||
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558
ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติได้รับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573
ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายภายในระยะเวลา 15 ปีประกอบด้วย 17
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมี 169 เป้าหมายเฉพาะเจาะจง และ 230 ตัวชี้วัด1
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3
มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ประเทศไทยมีกรอบการพัฒนาของตนเองที่กำลังใช้อยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยอาศัยหลักภูมิปัญญาและความซื่อสัตย์สุจริตตลอดจนหลักการเดินทางสายกลาง
ความสมเหตุสมผลและความรอบคอบตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
จุดเน้นของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือความยั่งยืนและได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2545 การเปลี่ยนผ่านจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลกสร้างขึ้นจากความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษก่อนหน้าที่ประสานงานโดยสหประชาชาติและประเทศสมาชิก
การรณรงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษเริ่มขึ้นในพ.ศ. 2543
และสิ้นสุดในพ.ศ. 2558 เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมโดยมุ่งเน้นเรื่องขจัดปัญหาความหิวโหย
ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ การไม่รู้หนังสือ
ความเจ็บป่วยและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษโดยส่วนใหญ่
โดยประเทศไทยได้ใช้แนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นแนวทางให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
การเพิ่มศักยภาพของประชาชนและชุมชน
ประเทศไทยยังคงมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของโลกด้วยการช่วยเสริมสร้างความสามารถของเพื่อนบ้านในการบรรลุพันธกิจของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษและความพยายามในการพัฒนาในอนาคต
ประเทศไทยได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญที่ได้รับจากการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษกับประเทศอื่น
ๆโดยตรง ตลอดจนผ่านเวทีระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน
ความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพเหล่านี้ได้ดำเนินการผ่านช่องทางที่หลากหลายรวมทั้งความร่วมมือทวิภาคี/ความร่วมมือสามฝ่าย
ความร่วมมือใต้-ใต้ และกรอบพหุภาคี ตัวอย่าง เช่น
ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการแบ่งปันปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็นรูปแบบการพัฒนาสู่ประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นประธานกลุ่ม
G-77 เมื่อปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยได้มีส่วนช่วยในการจัดตั้งโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลายประเทศ
เช่นกัมพูชา อินดนีเซีย ลาว เลโซโท เมียนมาร์ ติมอร์ตะวันออกและตองกา 5
ตั้งแต่เริ่มแรก การพัฒนาอย่างยั่งยืนถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการต่างๆที่สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามในการจัดการกับความยั่งยืนในประเทศไทยเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
การปกป้องสิ่งแวดล้อมและความต้องการของมนุษย์
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังเป็นไปตามหลักการสำคัญของวาระ 2573
และสามารถใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนการนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทของโลกได้
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ การนำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่ท้องถิ่น ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงถูกใช้เป็นหลักการสำคัญในความพยายามเพื่อการพัฒนาความยั่งยืนของประเทศไทย
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นความสมดุลในการใช้ทุนทางเศรษฐกิจ สังคม
สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีพื้นฐานอยู่บนหลักการ 3
ประการที่เน้นการเดินทางสายกลางสำหรับคนไทยทุกระดับตั้งแต่จากทุกครอบครัว
สู่ระดับชุมชนและสู่ระดับประเทศ หลักการเหล่านี้คือ ความพอประมาณ ในปีพ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชได้อธิบายถึงความหมายของการรู้จักความพอประมาณ: “ความพอเพียงคือความพอประมาณ …
ความพอประมาณไม่ได้หมายความว่าประหยัดเกินไป อนุญาตให้ใช้สินค้าที่หรูหราได้ …
แต่ควรจะพอประมาณตามความหมายของตนเอง” พระราชดำรัส ณ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 4
ธันวาคม พ.ศ.2541 ในประเทศไทย
การพอประมาณเป็นหลักการที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น
การบริโภคที่น้อยลงและรูปแบบการผลิตที่หลากหลาย
(เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 12)
การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7)
และการจัดการทางทะเลอย่างยั่งยืน (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 14) และบนบก
(เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 15) ระบบนิเวศต่างๆ ความสมเหตุสมผล ความสมเหตุสมผลหมายถึงการพิจารณาอย่างรอบคอบของผลกระทบที่การกระทำและการตัดสินใจของเราอาจมีต่อทั้งผู้อื่นและโลกรอบตัวเรา
การพิจารณาเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ความสมเหตุสมผลมีการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้มากมายในประเด็นระดับโลกเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
(เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 13) ความเท่าเทียม
(เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 10) ความยุติธรรม
(เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 16) การพัฒนาแหล่งพลังงานที่สะอาด
(เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7) และการลดมลพิษ
(เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 12) ความรอบคอบ ความรอบคอบเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงต่างๆ
การทำงานอย่างเป็นระบบและการบรรลุระดับของความสามารถและการพึ่งพาตนเองก่อนดำเนินการต่อ
นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนที่ดูแลไม่ให้เกินขีดความสามารถของพวกเขา
หลักการนี้อาจประยุกต์ใช้กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกือบทั้งหมดรวมทั้งด้านสุขภาพ
(เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 3) อาหาร (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 2)
น้ำ (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6) และความมั่นคงด้านพลังงาน
(เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7) โดยเฉพาะ
นี่เป็นการนำเสนอว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีการพัฒนามาอย่างไร
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นคุณค่าของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความท้าทายในการพัฒนาท้องถิ่นและปลูกฝังแนวความคิดที่ยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ
ด้านของชีวิตอย่างมีนัยสำคัญก่อนที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้มีการบูรณาการไว้ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ
20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
รวมทั้งนโยบายประเทศไทย 4.0 ดังนั้นแผนงานและแผนงบประมาณของหน่วยงานรัฐบาลทั้งหมดจึงถูกกำหนดให้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรอบยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี (พ.ศ.2561-2580) กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะเวลา 20
ปีที่ประกาศโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เป็นสิ่งสำคัญในการให้ประเทศไทยมีทิศทางที่ชัดเจนในระยะยาวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เรียกกันว่าเป็นแผน 6-6-4 ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน 6 ยุทธศาสตร์หลัก และ 4
ยุทธศาสตร์สนับสนุน ยุทธศาสตร์ทั้ง 6
ด้านประกอบด้วยความมั่นคง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความเสมอภาคทางสังคม
การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการปรับสมดุลของสภาพแวดล้อม
และการพัฒนาภาครัฐ ยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อ - เพิ่มและพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์ - ให้ความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม - เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน - ส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน - เสริมสร้างเสถียรภาพของชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและความยั่งยืน - เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐและส่งเสริมธรรมาภิบาล 4
ยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาเมือง
ภูมิภาคและเขตเศรษฐกิจ และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
12 (พ.ศ.2560-2564) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่
12 ได้รับการจัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
แผนนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะและการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี นวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนา
นอกจากนี้ยังเน้นความสมดุลกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
แผนนี้ยังคงมุ่งเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประกอบด้วย 3 หลักการคือ
ความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล และความรอบคอบ นโยบายประเทศไทย
4.0 ประเทศไทย
4.0
สะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการออกแบบระบบเศรษฐกิจฐานคุณค่าโดยการเทคโนโลยีใหม่ๆ
ควบคู่ไปกับการปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการนำพาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางและผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ประเทศที่มีช่วงรายได้สูง นโยบายประเทศไทย 4.0
จะบรรลุผลได้โดยการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันของไทย 5
อุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม “5 S-Curve แรก”
ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การแพทย์มูลค่าสูงและการท่องเที่ยวด้านสุขภาพ
การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริม 5
อุตสาหกรรมใหม่ หรือ “S-Curve ใหม่” ซึ่งรวมถึงหุ่นยนต์
การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
อุตสาหกรรมดิจิทัลและศูนย์การแพทย์ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จ ประเทศไทยจำเป็นต้องจัดการกับความเหลื่อมล้ำและความไม่สมดุลระหว่างสภาพแวดล้อมและสังคม
เป้าหมายรวมของประเทศไทยก็เช่นเดียวกันกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการผลิตของประเทศให้กลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง
ไปสู่เศรษฐกิจแบบที่ภาคส่วนต่างๆได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึงและมุ่งเน้นการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นโยบายประเทศไทย 4.0
เป็นรูปแบบทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนการทำฟาร์มแบบดั้งเดิมสู่การทำฟาร์มแบบชาญฉลาด
เปลี่ยนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแบบดั้งเดิมให้เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ชาญฉลาด
เปลี่ยนการบริการต่างๆแบบดั้งเดิมไปสู่การบริการที่มีมูลค่าสูง
และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
การวิจัยและพัฒนา และอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินงานระดับชาติสำหรับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รั ฐบาลไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีกรรมการจำนวน 37 คน ซึ่งมาจากภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม โดยมี
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
เป็นเลขานุการ14
คณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกรอบนโยบายอื่น
ๆ ได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคมโดยยึดหลักความร่วมมือในการพัฒนา อย่างไรก็ตามโครงสร้างการดำเนินงานยังคงมีผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคมน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
โดยมีจำนวนตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมเพียงจำนวน 4 คนจากสมาชิกทั้งหมด 38 คน
ดังนั้นภาครัฐจึงกำหนดกระบวนการของการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมและเนื้อหาของผลลัพธ์ทางวิชาการที่สำคัญ
เช่น แผนการดำนเนินงานของแต่ละเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทำให้นำไปสู่การร้องเรียนว่าองค์กรภาคประชาสังคม/องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีความสำคัญน้อยของรัฐบาลได้รับการเชิญให้เข้าร่วมในการวางแผนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในขณะที่กลุ่มผู้ที่มีความสำคัญมากหรือกำลังทำงานอยู่ในระดับรากหญ้าหรือในพื้นที่ห่างไกลกลับไม่ได้รับเชิญให้เข้ามีส่วนร่วม ภาครัฐส่วนใหญ่ใช้งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้กับหน่วยงานต่างๆเพื่อทำงานสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กองทุนเหล่านี้เป็นรากฐานสำหรับแผนการดำเนินงานแบบบูรณาการของรัฐบาลตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 รัฐบาลได้สร้างโครงสร้างสำหรับการประสานงานระหว่างหน่วยงานในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เมื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป้าหมายและตัวชี้วัดต้องมีการประสานกันระหว่างหน่วยงานอย่างน้อย 2 หน่วยงาน
และงานนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญตามนโยบายการพัฒนาที่สำคัญ
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายสำคัญอื่น ๆ ของรัฐบาลและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยงานต่างๆสามารถของบประมาณแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์จากงบประมาณกลางซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการการดำเนินการในการเชื่อมโยงกัน
ประสานกันและสนับสนุนในลักษณะที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและไม่ซ้ำซ้อน
อย่างไรก็ตามหลักฐานที่แสดงว่ากระบวนการนี้กำลังเกิดขึ้นจริงเป็นประจำมีน้อย ในปี
พ.ศ. 2560- 2561 คณะรัฐมนตรีได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นใหม่อีก 3 คณะ: คณะกรรมการดำเนินการของนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งวาระการปฏิรูปประเทศและการดำเนินการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่น
โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในท้องถิ่นโดยมีนายสุวพันธุ์
ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการโครงการยั่งยืนไทยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจระดับรากหญ้า
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการ
คณะกรรมการนี้จัดตั้งขั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรภาคประชาสังคมจะมีช่องทางมากขึ้นในการทำงานร่วมกับภาครัฐและจะสามารถจัดการกับวาระของท้องถิ่นได้ เมื่อเดือนมกราคม 2561
กระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่
17
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาได้ริเริ่มแผนงานแบบเปิดซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการจำกัดจำนวนของผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคมในคณะกรรมการอย่างเป็นทางการและเพื่อสร้างการเจรจาให้มากขึ้นระหว่างหน่วยงานภาครัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้
ตั้งแต่ปี พ ศ. 2560
รัฐบาลได้ใช้แนวทางความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
โดยได้ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดจิ๋วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทโดยได้ร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่ใน
76 จังหวัดทั่วประเทศ บริษัทเอกชนมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดความเชี่ยวชาญทางธุรกิจไปยังกลุ่มวิสาหกิจในท้องถิ่นจำนวน
1,200 แห่ง ความเชี่ยวชาญที่แบ่งปันกันครอบคลุมจำนวน 5
ด้านคือประสิทธิภาพทางธุรกิจ การสร้างความหลากหลาย การสร้างตราสินค้า
การขายและการจัดจำหน่าย และความเป็นมืออาชีพทางธุรกิจ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561
ได้มีการเปิดตัวนโยบายหนึ่งเพื่อปรับปรุงวิถีชีวิตของคนยากจน
ความพอเพียงและประชาธิปไตย โดยเรียกโครงการนี้เรียกว่าโครงการไทยนิยมยั่งยืน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ 83,151 หมู่บ้าน/ชุมชน20
นโยบายเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชนท้องถิ่นและองค์กรภาคประชาสังคมและสร้างผลประโยชน์ให้กับพวกเขา
หากนโยบายเหล่านี้บรรลุเป้าหมาย
ขั้นตอนต่อไปคือจะบูรณาการนโยบายและโครงการเฉพาะเหล่านี้ไว้ในแผนงานและยุทธศาสตร์การพัฒนาประจำปีอย่างไร บริษัทของไทยหลายแห่งยังได้ริเริ่มโครงการของตนเองในการร่วมทำงานสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
บริษัทส่วนใหญ่ต้องทบทวนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของตนเองและหยุดกิจกรรมที่ดูเหมือนจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
พวกเขาต้องค้นหาวิธีการเพื่อให้บรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของ 17
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ภาคเอกชนสามารถช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้
รวมถึงเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม
บางบริษัทหันมาปรับกระบวนการผลิตหรือเน้นธุรกิจหลักของตนเองเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งเพื่อประโยชน์ของตนเองและความมั่งคั่งและความยั่งยืนของประเทศไทย การติดตามและประเมินผล แผนงานของรัฐบาลไทยเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย
3 ส่วนคือ ส่วนยุทธศาสตร์จะดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระดับชาติ ส่วนโครงการจะครอบคลุมแผนปฏิบัติการการดำเนินงานที่มีกรอบเวลา ส่วนการติดตามสามารถประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดการดำเนินงานหลักของสหประชาชาติและตัวชี้วัดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่องค์กรต่างๆได้พัฒนาหรือกำลังพัฒนาในการประเมินผลของประเทศไทย
และแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการอะไรต่อหรือไม่เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการบรรลุ
17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รัฐบาลกล่าวว่าเชื่อว่าการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พ.ศ. 2573
ไม่ได้เป็นเพียงขั้นตอนการรายงานหรือโอกาสในการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีและความท้าทายระหว่างประเทศ
แต่เป็นโอกาสสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์และแผนงาน
ตลอดจนสร้างความตระหนักและสร้างความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาและชุมชน ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี
พ.ศ. 2573 การทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับประเทศไทยในการติดตามความก้าวหน้าในความพยายามเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และช่วยประเทศด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในความพยายามในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างความตระหนักรู้ของสาธารณชนและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากหลายภาคส่วนของสังคมไทยเพื่อการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะทำงาน การทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติ
ประกอบด้วยหน่วยงานหลักต่างๆที่ทำงานเพื่อให้บรรลุ 17
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติกำลังเร่งดำเนินการโดยใช้สถิติอย่างเป็นทางการของประเทศให้เป็นฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์
การรวบรวมและการพัฒนาข้อมูลทางสถิติและตัวชี้วัดเพิ่มเติม
นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางสถิติของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ฐานข้อมูลและตัวชี้วัดสำหรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
การทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติ
ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในทางปฏิบัติและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนส่วนร่วมที่ควรได้รับการสนับสนุน กระบวนการทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติได้เสร็จสิ้นแล้ว
จากรายงานการทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติล่าสุดของปี พ.ศ. 2560
เวทีและคณะกรรมการต่างๆเหล่านี้ได้ให้พื้นที่สำหรับนักธุรกิจ
นักวิชาการและองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อให้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเปิดโอกาสให้มีการประสานงานกันระหว่างกลุ่มเหล่านี้
(รายงานการทบทวนโดยสมัครใจของประเทศไทย, 1-2)
รัฐบาลได้ดำเนินการให้มีการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายรอบ
การปรึกษาหรือกับหลายกลุ่ม เช่น เยาวชนและสมาชิกรัฐสภา ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของเวทีต่างๆเหล่านี้ในการให้คำปรึกษาอย่างเพียงพอกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆได้รับการผสมผสานกัน
รัฐบาลไทยรายงานว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถมีส่วนร่วมตามบทบาทและความเชี่ยวชาญของตนได้
ในขณะที่รายงานของภาคประชาสังคมได้กล่าวว่าความพยายามเหล่านี้ไม่เพียงพอและไม่ได้ผล
ภาคประชาสังคมบางกลุ่มแห่งได้วิจารณ์ว่าการหารือของรัฐบาลเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแผนการดำเนินการของรัฐบาลถูกจำกัดอยู่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำและการมองอย่างแคบๆซึ่งส่งผลให้
“กลุ่มชนกลุ่มน้อยจำนวนมากและคนธรรมดา” ถูกมองข้าม รายงานเงาที่มีต่อการทบทวนโดยสมัครใจของประเทศไทยรายงานว่าภาคประชาสังคมนอกจากไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในกระบวนการทบทวนโดยสมัครใจแห่งชาติแล้ว
“การเป็นหุ้นส่วนกับภาคประชาสังคมในฐานะที่เป็นพันธมิตรที่เท่าเทียมกัน”
ก็ยังไม่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามรายงานฉบับนี้ยังระบุด้วยว่าภาครัฐมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน
และรัฐบาลมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคมในความพยายามที่จะบรรลุบางเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปีพ. ศ. 2560
ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ลำดับที่ 55 จาก 157 ประเทศในดัชนีที่จัดตั้งขึ้น
“เพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆสามารถตรวจสอบได้ว่าพวกเขายืนอยู่ที่จุดใดในเรื่องที่ปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ประเทศไทยได้ลงทุนอย่างมากในการลดความยากจน (เป้าหมายที่ 1)
และทำให้มั่นใจได้ว่ามีการการเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาล (เป้าหมายที่ 6)
อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นสำหรับประเทศไทยที่จะบรรลุความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในทุกเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
||||
พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ในฐานะกษัตริย์นักพัฒนา |
#รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
(UNDP) ในปี 2549 #กำหนดให้วันที่
5 ธันวาคมของทุกปีซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพเป็นดินโลก (World Soil Day) |
|||
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
สามมิติได้แก่
การพัฒนาทางสังคม การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาทางสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลกัน |
|||
พื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
ยึดแนวทางการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง
(people
-centered) โดยวางอยู่ปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการ อันได้แก่ (1) คน (people) เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี มีการศึกษา
ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสสำหรับสตรีและเด็ก (2) โลก
(Planet) เพื่อปกปกป้องและรักษาระบบนิเวศสำหรับประชาคมโลกและเด็กในอนาคต (3)
ความมั่นคง (prosperity) เพื่อยุติความยากจน
สร้างการเติบโตที่เข้มแข็งเศรษฐกิจที่มั่นคงเป็นประโยชน์ต่อคนทุกกลุ่ม (4)
ความยุติธรรม (peace)
เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้มั่นคงปลอดภัยและมีสันติภาพ (5)
ความเป็นหุ้นส่วน (partnership) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของโลกเพื่อร่วมกันพัฒนาอย่างยั่งยืน |
|||
ความสอดคล้องกับแนวคิดของประชาคมโลก |
ให้ความสำคัญต่อแนวทางการพัฒนาอย่างยืน องค์การสหประชาชาติได้จัดทำ SDGs ขึ้นเพื่อเป็นการผลักดันแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการกำหนดเป้าหมายหลัก
17 ประการ โดยให้ประเทศต่างๆเลือกทางเดินสู่เป้าหมายนั้นเอง เพื่อให้บรรลุผลภายใน
15 ปีซึ่งประเทศไทยเลือกใช้แนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นทางเดินสู่ความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs) |
|||
การเชิดชูหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ
(UN) โดยนายโคฟี อันนัน ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
ได้ทูลเกล้าถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 |
|||
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นครั้งแรก |
วันที่
18 กรกฎาคม 2517 พระราชทานแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แบบพื้นฐาน คือ”ความพอมี
พอกิน พอใช้” |
|||
รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ |
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ : UNDP Human Development Lifetime Achievement
Award) เป็นรางวัลเกียรติยศด้านการพัฒนาของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
โดยจะมอบแก่ Nation Human Development Report ที่มีผลงานดีเด่นทุก
2 ปี ซึ่งแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท โดยรางวัลเกียรติยศที่ได้ทูลเกล้าฯ
ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นความคิดริเริ่มของสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ
ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่มอบแก่บุคคลอันเป็นรางวัลประเภท Life -long achievement
ที่ริเริ่มขึ้นใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เป็นพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว |
|||
กรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว
ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศได้ดำเนินไปในทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้
ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้การวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน
ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ
เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและก้าวขวางทั้งด้านวัตถุ
สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจพอเพียง
แปลว่า Sufficiency Economy คำว่า Sufficiency
Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ Sufficiency
Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ
ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุงหรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542 กรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อยู่ภายใต้กรอบแนวคิด “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” กล่าวคือ 3 ห่วง ประกอบไปด้วย
ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
โดยที่ทั้งหมดนั้นอยู่ภายใต้ 2 เงื่อนไข คือ การมีความรู้และคุณธรรม
สามารถดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ อย่างสมดุล สามารถอธิบายได้ดังนี้ (1) ความพอประมาณ (Moderation) หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น
การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ (2)
ความมีเหตุผล (Reasonableness) หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ (3)
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว (Self -immunity) หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลนด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น
โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล |
||||
“อันนี้เคยบอกว่า
ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความหมายว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
จะต้องทอผ้าใส่เองอย่างนั้นมันเกินไป แต่วาในหมู่บ้านหรือในอำเภอ
จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ
ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
4 ธันวาคม 2540 |
||||
(4)
เงื่อนไข
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในรับพอเพียงนั้น
ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ (1)
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ
ที่เกี่ยวกับข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ (2) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย
มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร
ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 5.
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ความรู้และเทคโนโลยี #กล่าวโดยสรุป
คำถามที่ว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ คือ
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency
Economy) เศรษฐกิจพอเพียง
คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ 3 ห่วง - ความพอประมาณ - มีเหตุผล - มีภูมิคุ้มกัน 2. เงื่อนไข มีคุณธรรม นำความรู้ เงื่อนไขความรู้ 3 ร (รอบรู้
รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร มีสติ |
||||
สมดุล 4
มิติ |
เศรษกิจ
สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม |
|||
หลักความพอดี
5 ประการ หลักเหตุผล 5 ประการ หลักภูมิคุ้มกัน 2 หลัก จิตใจ ประหยัด
ลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน ภูมิปัญญา รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง สังคม ประกอบอาชีพสุจริต ทรัพยากร
เลิกเก่งแย่งผลประโยชน์ เทคโนโลยี
ไม่หยุดนิ่งในการแก้ปัญหาความทุกข์ยากในชีวิต ภูมิธรรม ซื่อสัตย์สุจริต
ขยัน อดทนและแบ่งปัน เศรษฐกิจ
ปฏิบัติตนลดละเลิก อบายมุข |
||||
เป้าหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
1.
พึ่งตนเองให้ระดับหนึ่ง 2.
อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุข 3.
อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยืน |
|||
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากระดับ ตัวเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม
ประเทศชาติ |
||||
3 ห่วง 2
เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ |
-
มิติด้านวัตถุ - มิติสังคม - มิติสิ่งแวดล้อม -มิติวัฒนธรรม |
|||
ลำดับขั้นตอนการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง
คือ *(ออกข้อสอบบ่อยเรียงลำดับ) |
1. ตัวเอง
2. ครอบครัว
3. องค์กร
4. ชุมชน
5. สังคม
6. ประเทศชาติ |
|||
ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะ
เงื่อนไข และจุดหมายในแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจเพียง มีความเชื่อมโยงระหว่างคุณลักษณะและเงือนไขต่างๆ
คือ ความรอบรู้
มีความซื่อสัตย์สุจริตกำกับจะเป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความพอประมาณ
การมีสติไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ ด้วยความอดทน
มีความพากเพียรจะเป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
และการใช้ปัญญาด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง จะเป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความมีเหตุมีผล
พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ |
||||
จุดหมาย |
สมดุล |
พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง |
ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ |
|
คุณลักษณะ |
พอประมาณ |
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี |
มีเหตุผล |
|
คุณธรรม |
ซื่อสัตย์
สุจริต |
อดทน
มีความเพียร |
รอบคอบ ระมัดระวัง |
|
ความรู้ |
รอบรู้ |
มีสติ |
มีปัญญา |
|
เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่
เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่างๆ
อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ
หรือเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา
การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี “ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ
จะพังหมด จะทำอย่างไร ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป
หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ
ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆ แต่ก็จะบอกว่า
เศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้
คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
23 ธันวาคม 2542 เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่
โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่
ในขณะที่แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น
เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ
ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม |
||||
Ø ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ Ø ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ
ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค
และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ
จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้และใช้ที่ดินส่วนอื่นๆ
สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว
รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าช้าจ่ายอื่นๆ
ที่ไม่สามารถผลิตเองได้
ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรแม้กระทั่งในทฤษฎีใหม่ขั้นที่
1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ
และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์รกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรมรวมพลังกัน
ในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่างๆรวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่างๆ มีความพอเพียง
ขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้ว
ก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน
การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทำให้ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้นๆ
เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง Ø ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่
3
ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ
ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคารสถาบันวิจัย เป็นต้น
|
||||
Ø การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยน
ความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร
และธุรกิจต่างๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง กลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียดแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน Ø หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ คือ
เป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม (สมบัติ กุสุมาวลี (พ.ศ. 2561 : 88 – 90) ได้กล่าวถึงหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสรุปได้ดังนี้ (1) เน้นให้คนเข้าใจหลักพื้นฐานทางสังคม ว่า “ความเปลี่ยนแปลง” คือ ความจริงแท้ทางสังคม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถือว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจะลักษณะของสังคม
ดังนั้น คนในสังคมจึงต้องรู้จักมองโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้อย่างเป็นระบบ
ต้องไม่มองโลกอย่างหยุดนิ่งตายตัว ต้องเข้าใจว่าทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้พลังพลวัตการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีตรรกะของเหตุและผลที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน (2)
เน้นการสร้างความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เมื่อมองโลกในเชิงพลวัตแล้ว
คนที่จะต้องหันกลับมาถามทบทวนตนเองว่าเตรียมพร้อมตนเอง ครอบครัว ชุมชน
องค์กร และประเทศชาติ ให้สามารถรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
หากพิจารณาจากความหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ไม่ได้ปฏิเสธกระแสโลกาภิวัตน์
แต่ประเด็นสำคัญคือ สามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสเหล่านั้นได้อย่างไร (3) เน้นการสร้างความสมดุล มั่นคง
และความยั่งยืนระยะยาว กล่าวคือ ในการนี้จะปรับตัวให้พร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงได้
หลักสำคัญในการเตรียมความพร้อมนี้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะไม่มองเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
หรือการเอาตัวรอดในระยะสั้นๆ หรือการแก้ปัญหาให้แต่ตัวเองเอาตัวรอดในระยะสั้นๆ หรือการแก้ปัญหาให้แต่ตัวเองเอาตัวรอดได้
แต่ไปสร้างความเสียหายให้กับภาคส่วนอื่น
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะเน้นเรื่องของการมองการณ์โลก การเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
และการมีชีวิตที่ดีร่วมกันในระยะยาว (4) เน้นความพอดี พอประมาณ รู้จักตัวเอง
รู้จักบริบท ในการที่จะทำให้สังคมชุมชน
องค์กรมีความสมดุลยั่งยืนระยะยาว คนในสังคมจะต้อง “รู้เรา รู้เขา” คือ
รู้จักตนเอง รู้จักรากเหง้าประวัติศาสตร์ รู้ศักยภาพ ความสามารถจุดแข็ง
จุดอ่อนของตนเอง และรู้จักวิเคราะห์บริบท/สภาพแวดล้อมแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน
รวมทั้งรู้จักทำความเข้าใจสังคม / ชุมชน/องค์กรในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
และเมื่อพิจารณาตัวเราและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านแล้ว
หลักปรัชญาเศรษฐกิจจะเน้นให้เราได้รู้จัก “ความพอประมาณ” และความพอดี” กล่าวคือ
รู้จักประมาณและประเมินตนเองว่าความพอดี พอเหมาะพอสมควร สำหรับสังคม/ชุมชน/องค์รกรของเราควรจะอยู่
ณ จุดใด สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือ การทำอะไรที่สุดโต่งทั้งในทางบวกและทางลบ เช่น
กการทำอะไรที่เกินความสามารถ เกินศักยภาพ และขัดรากเหง้าทางสังคมเป็นต้น (5) เน้นการมีความรู้
และความมีคุณธรรม คนที่จะรู้จักตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อมและรู้จักการประมาณตนเองนั้น
จะต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้และมีธรรมะอยู่ในจิตใจ
เงื่อนไขสำคัญที่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ คือ
การที่คนในสังคม / ชุมชน / องค์กรจะต้องใช้ชีวิตและทำงานอยู่บนพื้นฐานของความรู้
การมีสติปัญญาและการหมั่นเรียนรู้แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มากกว่าการใช้อารมณ์
ความรู้สึกและอคติเดิมๆ ในการตัดสินใจรวมทั้งคนในสังคม/ชุมชน/องค์กรจะต้องมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานของจิตใจ
เช่น มีความพากเพียร อุตสาหะ มีระเบียบวินัย
ซื่อสัตย์สุจริต มีสัมมาอาชีวะ มีธรรมะในจิตใจ มีความสามัคคี เป็นต้น (6)
เน้นการพึ่งตนเอง การพึ่งพิงกันและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
เป้าประสงค์สำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือทำให้คน ครอบครัว ชุมชน
องค์กร สังคม สามารถที่จะยืนหยัดบนขาของตนเอง แม้การพึ่งตนเองได้ คือหัวใจสำคัญ
แต่การพึ่งตนเองได้ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ชีวิตแบบปัจเจกชนนิยม ตัวใครตัวมัน
ตัดขาดความสัมพันธ์จากโลกภายนอก
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการพึ่งตนเองแบบยั่งยืน กล่าวคือ
การสร้างความสัมพันธ์ ร่วมมือ ช่วยเหลือ แบ่งปัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ส่งเสริมให้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (Self- interest) เป็นที่ตั้ง แต่ให้คุณค่าอย่างยิ่งกับการสร้างวิสัยทัศน์และค่านิยมของคนให้รู้จักรับผิดชอบและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
(Collective -interest) เพราะประโยชน์ส่วนร่วม คือ
สิ่งที่จะสร้างความสงบสันติ และความผาสุกของทุกคนในสังคมระยะยาว |
||||
ความรู้และการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล คือ
ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือนร้อนมีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะ
ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ
ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใดกล่าวโดยสรุป คือ
หันกลับมายึดเส้นทางสายกลางในการดำรงชีวิตและยึดหลักการพึ่งตนเอง
ซึ่งหลักการพึ่งตนเอง ต้องยึดหลักสำคัญของความพอดีเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงมี
5 ประการ คือ (1)
ความพอดีด้านจิตใจ ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้
มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทรประนีประนอมนึกถึงผลประโยชน์ส่วนร่วม (2) ความพอดีด้านสังคม ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนรู้จักผนึกกำลัง
และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง (3)
ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด
และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศเพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป (4)
ความพอดีด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการและควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง
และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง (5)
ความพอดีด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายดำรงชีวิตอย่างพอควร
พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน |
||||
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรกรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงคิดค้น
วิธีการที่จะช่วยเหลือราษฎรด้านการเกษตร จึงได้ทรงคิด “ทฤษฎีใหม่” ขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. 2535 ณ
โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดสระบุรี เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการทำเกษตรให้แก่ราษฎรในการจัดการด้านที่ดินและแหล่งน้ำในลักษณะ
30 : 30 : 30 : 10 คือ ขุดสระ 30
และเลี้ยงปลา 30 ปลูกพืชไร่พืชสวน 30 และสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยปลูกพืชสวนและเลี้ยงสัตว์ใน
10 สุดท้าย ความสำคัญของทฤษฎีใหม่ คือ มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน
เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
และมีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง 3 ขั้นตอน Ø ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน
ตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง
ประมาณ 30 % ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน
และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงและพืชน้ำต่างๆ พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี
เพื่อค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สาม
ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร
ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน
หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย พื้นที่ส่วนที่สี่
ประมาณ 10 % เป็นที่อยู่อาศัย
เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ Ø ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว
ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือให้เกษตรกรรมกรรวมพลังกันในรูป กลุ่มหรือ สหกรณ์
ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน (1) การผลิต
(พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ) เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิต โดยเริ่ม
ตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดหาน้ำ และอื่นๆเพื่อการเพาะปลูก (2) การตลาด
(ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต) เมื่อมีผลผลิตแล้ว
จะต้องเตรียมการต่าง เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมดิน
การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วย (3) การเป็นอยู่ (กะปิ
น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ) ในขณะเดียวกันเกษตรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร
โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า
ที่พอเพียง (4) สวัสดิการ (สาธารณสุข
เงินกู้) แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยข้า
หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน (5) การศึกษา (โรงเรียน
ทุนการศึกษา) ชุนชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง (6) สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ
โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวโดยกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น
จะต้องได้รับความร่วมมือจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชนตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นสำคัญ Ø ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว
เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป
คือติดต่อประสาน เพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท
ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้
ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งนี้ ฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร หรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน
กล่าวคือ เกษตรกรขายข้าวได้ราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ
(ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) เกษตรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)
และธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ
ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น |
||||
ระดับของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์
(2550 : 83 -91) เศรษฐกิจพอเพียงในระดับเลี้ยงตนเองบนพื้นษนของความประหยัดและการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเรียกว่า
เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับที่มีการรวมตัวกันเพื่อร่วมกันดำเนินงานมีการสร้างเครือข่ายโดยประสานความร่วมมือกับภายนอกเรียกว่า
เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ดังนั้นแบ่งเป็น 3 ระดับดังต่อไปนี้ |
||||
|
Inter-dependent |
ร่วมมือกัน (3) |
|
|
Independent |
รวมกลุ่ม (2) |
เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า |
|
|||
Dependent |
พึ่งตนเอง (1) |
เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน |
(1) เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่หนึ่ง
(Dependent) เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
ที่เน้นความพอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว
มีลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเอง สามารถสนองความต้องการขั้นพื้นฐานได้ เช่น
ความต้องการในปัจจัยสี่ของตนเองและครอบครัว มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
มีความสามัคคี
และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิตจนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ (2)
เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่สอง (Independent) เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นความพอเพียงในระดับกลุ่มหรือองค์กร
คือ เมื่อบุคคลหรือครอบครัวมีความพอเพียงในระดับที่หนึ่งแล้ว จะรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์เพื่อร่วมกันดำเนินงานในด้านต่างๆ
ทั้งด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษาสังคมและศาสนาโดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยราชการมูลนิธิและเอกชน (3)
เศรษฐกิจระดับที่สาม (Inter - dependent) เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นความพอเพียงในระดับเครือข่าย
คือ เมื่อกลุ่มหรือองค์กรมีความพอเพียงในระดับที่สองแล้วจะร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างเครือข่าย
มีการติดต่อร่วมมือกับธนาคารและบริษัทต่างๆ ทั้งในด้านการลงทุน ด้านการผลิต
ด้านการตลาด ด้านการจำหน่าย
ด้านการบริหารจัดการเพื่อการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย
ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านสวัสดิการการศึกษา
ด้านสังคมและศาสนาให้ได้รับประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย การจำแนกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้างต้น
แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่เริ่มต้นจากหลักของการพึ่งตนเอง โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาตนเองไม่ได้หรือต้องคอยอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาเป็นการพัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็ง
เป็นอิสระแล้วจึงค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยน
การรวมกลุ่มช่วยเหลือกันจนนำไปสู่การพึ่งพิงช่วยเหลือกัน
และสงเคราะห์เกื้อกูลร่วมมือกัน |
หลักทฤษฎีใหม่
ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” สู่ความยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิต ในยุค New Normal
โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต New Normal มหาดไทย
เปิดตัวโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ
ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบ
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน
ได้เสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
อีกทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก
หนอง นา โมเดล” เป็นการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน เป็นการสร้างงาน
สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
ฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
โคก หนอง นา โมเดล คืออะไร
โคก หนอง นา โมเดล คือ
การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่
เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้น ๆ
โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น
อย่างเป็นระบบ ซึ่งโคก-หนอง-นา โมเดล
ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. โคก: พื้นที่สูง
ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ
/ ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้
พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ
ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย /
ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
2. หนอง:
หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น
และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก) / ขุด “คลองไส้ไก่”
หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน
โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น
ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้ / ทำ ฝายทดน้ำ
เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด
โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ
และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง / พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก
หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
3. นา:
พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน
ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็ก ๆ
หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า
ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน / ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง
เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา
ในการบรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาสู่เป้าหมายความยั่งยืนของโลก” ในวันที่ 20 กันยายน 2562 ณ
หอประชุมเกษม จาติกวณิช สำนักงานใหญ่ กฟผ. นอกจากจะได้รับเกียรติจากอาจารย์ยักษ์
หรือ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ให้การบรรยายแล้ว ยังได้รับเกียรติจากอาจารย์โก้
หรือ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาบรรยายให้ความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาด้วยเช่นกัน
โดยอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า การบูรณาการร่วมกันระหว่างนักวิชาการและนักการปกครองมีความจำเป็นอย่างมาก
เพราะบุคคลเหล่านี้จะเป็นต้นแบบและเป็นผู้นำให้ใครหลาย ๆ คนได้ปฏิบัติตาม
โดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างความสมบูรณ์ให้กับชุมชน
สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้บริการแก่สังคม ทั้งด้านวิชาการ
การฝึกปฏิบัติ การบูรณาการความรู้และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน
เพื่อให้คนในชุมชนได้ฝึกการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางแก้ปัญหา
โดยทำเป็นตัวอย่างให้เห็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตาม
เกิดการขยายผลจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งจะร่วมแก้ปัญหาในทุกมิติไปด้วยกัน
ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
การเริ่มต้นที่ดีจึงต้องเริ่มต้นที่
‘การเปลี่ยนคน’ เราต้องสร้างวินัยให้กับคนไทยให้ช่วยกันดูแลรักษาโลก
พร้อมเดินตามรอยที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงวางไว้
ซึ่งพระองค์เคยมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ว่า ‘ให้ทำแบบคนจน’ กล่าวคือ
การทำแบบที่ชาวบ้านทำตามได้ แม้จะดูไม่หรูหรา หรือไม่เข้าหลักวิชาการมากนัก
แต่ก็ได้ผลและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้จริง ๆ โดยสร้างรูปแบบการใช้ชีวิตที่มีวินัย
ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด
ไม่ใช่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างจนไม่เหลืออะไรไว้ให้กับแผ่นดิน
รู้จัก “โคก หนอง นา โมเดล”
การออกแบบพื้นที่ชีวิตของคนไทย
“โคก หนอง นา โมเดล” เป็นโมเดลต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติได้น้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่
9 ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร
โดยมุ่งหวังที่จะสร้างจุดเปลี่ยนให้กับชุมชน ซึ่งแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30
: 30 : 30 : 10 กล่าวคือ 30% แรกสำหรับแหล่งน้ำ
ทั้งการขุดบ่อทำหนองและการขุดคลองไส้ไก่ที่ช่วยระบายน้ำรอบพื้นที่ อีก 30 %
สำหรับปลูกข้าว และอีก 30% สำหรับไว้ทำโคกหรือป่า
โดยปลูกผักไว้เป็นอาหาร ปลูกไม้ใช้สอย ปลูกยาสมุนไพร ส่วน 10% ที่เหลือ สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์
ซึ่งหากลงมือทำลักษณะเช่นนี้ในหลาย ๆ จุดของประเทศ โคก หนอง นา โมเดล
ก็จะช่วยได้มากกว่าการบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร
เพราะจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้
บริหารจัดการน้ำด้วย
โคก หนอง นา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านทรงเคยรับสั่งไว้ว่า ‘น้ำคือชีวิต’ ดังนั้น
สิ่งหนึ่งที่เป็นความพิเศษของโคก หนอง นา โมเดล
ก็คือการวางแผนเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี
เพราะหากมีน้ำใช้แล้วก็จะอยู่ได้และประกอบอาชีพได้ ช่วยลดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากร
อีกทั้งยังช่วยลดความแออัด ลดการแย่งพื้นที่ทำกินในเมืองใหญ่ ลดปัญหาสังคม
ปัญหายาเสพติด ปัญหาความสกปรก และปัญหาชนบทล่มสลาย
โครงการในพระราชดำริของพระองค์ท่านส่วนใหญ่จึงเป็นโครงการเรื่องน้ำ ดังนั้น โคก
หนอง นา โมเดล ก็เช่นกัน ได้มีการนำหลักคิดในเรื่องนี้มาปรับใช้
ซึ่งไม่เพียงจะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปีและไม่ต้องประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว
ยังช่วยลดปริมาณน้ำหลากที่จะเข้าท่วมพื้นที่ต่าง ๆ และลดการเกิดตะกอนดินทับถม
เพราะมีพื้นที่กักเก็บน้ำเพียงพอและมีต้นไม้คอยดูดซับน้ำลงสู่ใต้ดิน
ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวง
นอกจากนี้สิ่งสำคัญของหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ก็คือ
ต้องสร้างกิจกรรมที่ดีและเหมาะสม
เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นว่าอาชีพเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ที่สร้างอาหารให้ทุกคนได้บริโภค
เป็นอาชีพที่สำคัญของโลกที่มีศักดิ์ศรี ควรมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ
อย่างหลากหลายที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาพื้นที่นั้น ๆ
นอกจากนี้การทำตามหลักดังกล่าวจะต้องตอบโจทย์ในเรื่องของความสวยงาม
โดยทำให้เหมือนเป็นศิลปะของแผ่นดิน ให้ผู้ที่อยู่อาศัยรู้สึกเสมือนได้พักผ่อนในสถานที่ที่งดงาม
ซึ่งนอกจากจะทำให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีเช่นนี้แล้ว
สิ่งที่ได้รับตามมาก็คือการพัฒนาคน เพราะทุกคนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สังคมจะเกิดความมั่นคงทั้งในด้านอาหารและการเงิน
ที่มา : การบรรยาย
“การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาสู่เป้าหมายความยั่งยืนของโลก” โดย ผศ.พิเชฐ
โสวิทยสกุล คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วันที่ 20 กันยายน
2562 ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช สำนักงานใหญ่ กฟผ.
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง
ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น
การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกระทำนั้นๆ
อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น