วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สำหรับการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ยังคงดำเนินการตามประกาศเดิม (หลักสูตรเดิม)

เตรียมสอบท้องถิ่น (เตรียมต้วให้พร้อม ลงประกาศ 9 ก.พ.2564)

https://youtu.be/N0CyQXdfK38
https://www.youtube.com/watch?v=N0CyQXdfK38



สวัสดี ครับ วันนี้ขอสรุปมติ ก.ท. และ ก.อบต. ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 63 โดยมีเรื่องที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1.แก้ไขประกาศ เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบแข่งขัน โดยกำหนดให้ผู้สอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. สามารถนำมาใช้ในการสมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชดานส่วนท้องถิ่นได้ กรณีที่กน่วยงานจัดสิบประสงค์จะสอบ ถาค ก. เอง ต้องกำหนดหลักสูตรการสอบอยู่สอบ ก. ตามแนวทางที่ ก.พ. กำหนด โดยต้องทำความตกลงกับ กถ. ก่อน จึงจะดำเนินการได้
สำหรับการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นที่จะดำเนินการในครั้งต่อไปยังอยู่ภายใต้คำสั่ง คสช. ที่ 8/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการบริหารงานส่วนบุคคลท้องถิ่น จึงยังคงดำเนินการตามประกาศเดิม
2. ให้แจ้งแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการทางวินัยข้าราชการส่วนท้องถิ่น กรณี ป.ป.ช. ชี้มูลดังนี้
2.1 กรณี ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดที่เป็นการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ มีผลผูกพันผู้บังคับบัญชาในการพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่ ป.ป.ช. มีมติได้ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีกและให้ถือว่าสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัย
2.2 กรณีที่ ป.ป.ช. ชี้มูลว่ากระทำความผิดทางวินัยซึ่งไม่ใช่ความผิดฐานทุจริต ในการพิจารณาโทษทางวินัย ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องดำเนินการทางวินัย (มีการสอบสวน) ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่บังคับใช้แก่ผู้ถูกกล่าวหาจึงจะลงโทษได้
3. แจ้งแนวทางปฏิบัติกรณีการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ออกจากราชการไปแล้วในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างข้อ ๒๘ ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. ๒๕๕๘ (เดิม) กับ ข้อ ๒๘ วรรคหนึ่ง ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ (แก้ไขใหม่) โดยผู้ที่ออกจากราชการไปก่อนวันที่ 6 เม.ย. 62 การดำเนินการทางวินัยต้องมีการกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนนออกจากราชการ และต้องดำเนินการสอบสวนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ถูกกล่าวหาออกจากราชการ มิเช่นนั้นผู้ดำเนินการทางวินัยจะไม่สามารถดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วได้
หากมีการออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 62 เป็นต้นมา สามารถดำเนินการทางวินัยกับผู้ออกจากราชการไปแล้วได้ แต่ต้องสอบสวนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้องลงโทษภายใน 3 ปี
4. แนวทางปฏิบัติการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น กรณีผู้ประเมินกับผู้รับการประเมินมีปัญหาความขัดแย้งหรือเป็นคู่กรณีกัน นั้น
4.1 ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีหน้าที่ประเมินตามประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑฺและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นผู้ประเมิน หากผู้ถูกประเมินเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้ร้องทุกข์ต่อนายก อปท. เพื่อสั่งการให้คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานพิจารณาความเป็นธรรม
4.2 หากผู้ถูกประเมินยังเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถร้องทุกข์ต่อ ก.จังหวัด เมื่อ ก.จังหวัด มีมติเป็นประการใด ให้นายก อปท. สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
5. มติ ก.อบต. ให้แจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ "งบลงทุน 20% ของงบประมาณรายจ่าย" ที่จะนำไปใช้ในการกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น ระดับต้น ระดับกลาง และตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่น รวมถคงการกำหนดส่วนราชการตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 โดยใหั งบลงทุนดังกล่าว หมายความรวมถึง "งบประมาณเพื่อการพัฒนาด้านบุคลากร ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ อาหารเสริมนม อาหารกลางวัน งบอุดหนุนเกี่ยวกับกิจการไฟฟ้า ประปา หรือด้านการศึกษา หรืองบเพื่อการลงทุนอื่นที่ ก.อบต. เห็นชอบ โดยสำนักงาน ก.อบต. แจ้งเป็นหนังสือด้วย
ขอแจ้งมติที่ประชุม ก.ท. และ ก.อบต. เพื่อทุกท่านได้ทราบ และขอให้ศึกษารายละเอียดในเรื่องดังกล่าวในประกาศ และหนังสือแจ้งแนวทางปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวต่อไป เพื่อเตรียมพร้อมและปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป ครับ

ที่มา เฟซบุ๊ก ท่าน ชนินทร์ ราชมณี


สวัสดีนะครับ วันนี้สรุปมติ ก.ท. และ ก.อบต. ในการประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 มีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. การแก้ไขประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบแข่งขัน
มติ ครม. 29 ตุลาคม 2562 กำหนดให้ ก.พ. หารือร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่างๆ ให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) แล้วพิจารณานำหลักสูตรการสอบและเกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. ไปปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการสอบและการตัดสินการสอบผ่านของหน่วยงานตนเอง เพื่อให้แนวทางเป็นมาตรฐานเดียวกัน
กถ. จึงกำหนดมาตรฐานกลางให้ผู้สอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. มาสมัครสอบเข้ารับราชการใน อปท. สำหรับผู้ที่ไม่มีภาค ก. หากหน่วยงานจะดำเนินการเอง ต้องกำหนดหลักสูตรการสอบอยู่ภายใต้แนวทางที่ ก.พ. กำหนด โดยต้องทำความตกลงกับ กถ. ก่อน จึงจะดำเนินการได้
ก.ท. และ ก.อบต. มีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการให้มีการแก้ไขประกาศ ก.กลาง เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศ ก.ถ. แต่กรณีกระบวนการสอบแข่งขันบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นยังอยู่ภายใต้คำสั่ง คสช. ที่ 8/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการบริหารงานส่วนบุคคลท้องถิ่นให้คงดำเนินการตามประกาศเดิมต่อไป
2. ตั้งข้อสังเกตให้ ก.ถ. พิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้
2.1 กรณีหน่วยงาน (อปท.) ดำเนินการสอบภาค ก. เอง โดยใช้หลักสูตรการสอบของ ก.พ. ไม่ควรต้องทำความตกลงกับ กถ. ทุกครั้ง เนื่องจากจะขาดความคล่องตัว เพราะจำนวน อปท. มีเป็นจำนวนมาก
2.2 กรณี กสถ. เป็นหน่วยดำเนินการสอบภาค ก. ควรให้สามารถนำผลการสอบภาค ก. ดังกล่าวไปใช้ในการสมัครสอบของ อปท. ได้ เนื่องจากการดำเนินการสอบใช้มาตรฐานเดียวกันกับ ก.พ. แล้ว
2. การดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดที่มิใช่การกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลความผิดที่เกี่ยวข้อง
2.1 กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและวินิจฉัยว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดทางวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและฐานความผิดอื่นร่วมด้วย ผู้บังคับบัญชาสามารถพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติได้ในทุกฐานโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีกและถือเอารายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัย ได้หรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) เห็นว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจในการไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลความผิดที่เกี่ยวข้องกันทั้งในทางวินัยและทางอาญาเฉพาะการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม และความผิดที่เกี่ยวข้องกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒8 (๒) และมาตรา ๙๑ แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖1 เท่านั้น สำหรับความผิดที่เกี่ยวข้องกันต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลทางอาญา ทางวินัย แล้วแต่กรณี ตามความผิดหลักทั้งสามฐานดังกล่าวแล้ว หากมีความผิดอื่นทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับความผิดหลักทางอาญาฐานใดฐานหนึ่งในสามฐานหรือหากมีความผิดอื่นทางวินัยที่เกี่ยวข้องกับความผิดหลักทางวินัยในลักษณะเดียวกับฐานใดฐานหนึ่งในสามฐาน คณะกรรมการ ป.ป.ช. ย่อมมีอำนาจที่จะชี้มูลความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องนั้นหรือทางวินัยที่เกี่ยวข้องนั้นไปในคราวเดียวกันได้ ทั้งนี้ ตามนัยเรื่องเสร็จที่ ๓๔/๒๕6๓ และเรื่องเสร็จที่ ๗8๔/๒๕๖๒ และมีผลผูกพันผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนในการพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติได้ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีกและให้ถือว่าสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัย
๒.2 กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและวินิจฉัยว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดทางอาญาในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม และกระทำความผิดทางวินัย
ซึ่งมิใช่ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ผู้บังคับบัญชาสามารถพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติได้โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก และถือเอารายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยได้หรือไม่
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) เห็นว่า เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดทางอาญาในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมซึ่งเป็นความผิดฐานหลักแล้วในการชี้มูลความผิดทางวินัยก็จะต้องชี้มูลความผิดในความผิดฐานหลัก อันได้แก่ ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมด้วย หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดทางวินัยซึ่งมิใช่ความผิดฐานหลักดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. ย่อมไม่อาจชี้มูลความผิดทางวินัยอื่นที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกันได้ และไม่มีผลผูกพันผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนในการพิจารณาโทษทางวินัยแต่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนมีหน้าที่ต้องดำเนินการทางวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่บังคับใช้แก่ผู้ถูกกล่าวหาต่อไป
3. การดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานส่วนท้องถิ่นที่ออกจากราชการไปแล้วในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างข้อ ๒๘ ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. ๒๕๕๘ เดิม กับ ข้อ ๒๘ วรรคหนึ่ง ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่แก้ไขใหม่
ก.ท. และ ก.อบต.มาตรฐานวินัย พิจารณาแล้ว เห็นควรนำผลการตอบข้อหารือของ ก.พ. เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานส่วนท้องถิ่นที่ออกจากราชการไปแล้วในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างข้อ ๒๘ ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. ๒๕๕๘ เดิม กับ ข้อ ๒๘ วรรคหนึ่งของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่แก้ไขใหม่ โดยหลักการสำคัญคือ ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วก่อนวันที่ 6 เมษายน 2562 การดำเนินการทางวินัยต้องมีการกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนนออกจากราชการ และต้องดำเนินการสอบสวนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ถูกกล่าวหาออกจากราชการ มิเช่นนั้นผู้ดำเนินการทางวินัยจะไม่สามารถดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วได้ แต่หากมีการออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2562 เป็นต้นมา สามารถดำเนินการทางวินัยกับผู้ออกจากราชการไปแล้วได้ แต่ต้องสอบสวนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้องลงโทษภายใน 3 ปี
4. หารือแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น กรณีผู้ประเมินกับผู้รับการประเมินมีปัญหาความขัดแย้งหรือเป็นคู่กรณีกัน
สรุปแนวทางปฏิบัติ ผู้บังคับบัญชาที่กำหนดตามประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑฺและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ต้องเป็นผู้ประเมิน หากผู้ถูกประเมินเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือการพิจารณาอาจไม่เป็นกลาง ให้อุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อนายก อปท. เพื่อสั่งการให้คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานพิจารณาความเป็นธรรม และหากยังเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถร้องทุกข์ต่อ ก.จังหวัด โดยให้นำหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามประกาศ ก.กลาง เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ พ.ศ. 2558 หมวด 3 การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยเมื่อ ก.จังหวัด มีมติเป็นประการใด ให้นายก อปท. สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นโดยพลัน มติของ ก.อบต.จังหวัด ให้ถือเป็นที่สุด
5. ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมตามประกาศ ก.อบต. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2558 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2562 กำหนดแนวทางปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวว่า การกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น ระดับต้น ระดับกลาง และตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลต้องตราข้อบัญญัติเพื่อการลงทุนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในปีงบประมาณที่ผ่านมามีสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีและฉบับเพิ่มเติม (ถ้ามี) โดยงบเพื่อการลงทุน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 หมายถึง หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับงบประมาณเพื่อการลงทุน หมายความรวมถึง งบประมาณเพื่อการพัฒนาด้านบุคลากร ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ อาหารเสริมนม อาหารกลางวัน งบอุดหนุนเกี่ยวกับกิจการไฟฟ้า ประปา หรือด้านการศึกษา หรืองบเพื่อการลงทุนอื่นที่ ก.อบต. เห็นชอบ โดยสำนักงาน ก.อบต. แจ้งเป็นหนังสือด้วย

สำหรับรายละเอียดรอติดตามในประกาศฯ ต่างๆ และหนังสือแจ้งแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวต่อไปนะครับ แจ้งเป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับเดือนนี้กันครับ

cr.ผชช.ชนินทร์
สำหรับการสอบคัดเลือกบริหาร/อำนวยการท้องถิ่น ของเทศบาลและ อบจ. ในวันที่ 3 ธันวาคม ให้สถาบันการศึกษา ยื่นซองเสนอราคา วันที่ 4 ธันวาคม ประกาศสถาบันการศึกษา ที่จะมาดำเนินการคัดเลือกต่อไป คาดว่าจะประกาศรับสมัครเดือนธันวาคม 2563

ป.ศักดิพงศ์
27 พย 2563


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

📕 ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞

  #หนังสือดีบอกครูต่อ E-Book ❝ ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ❞ โดย รศ.ดร.วันทนา เนาว์วัน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ...